“สถาบันศิลปหัตถกรรมไทย”ยกย่องผู้สร้างงานศิลปไทย25รางวัล

“สถาบันศิลปหัตถกรรมไทย”ยกย่องผู้สร้างงานศิลปไทย25รางวัล

“สถาบันศิลปหัตถกรรมไทย”ยกย่องผู้สร้างงานศิลปะไทย25รางวัล ชูเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน-ครูช่างศิลปหัตถกรรม- ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” เพื่อสร้างขวัญกําลังใจ อนุรักษ์รักษาคุณค่าภูมิปัญญา ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์มีภารกิจในด้านการยกระดับงานศิลปหัตถกรรมไทยโดยเฉพาะ มีแนวทางในการสืบสานงานศิลปหัตถกรรมไทย ควบคู่ไปกับการพัฒนาให้งานหัตถศิลป์ ไทยสามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล มีขอบเขตการทํางานและภารกิจโดยดูแลผู้ประกอบการด้านศิลปหัตถกรรมไทยทั้งระบบตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้า และได้วางแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ทั้งในกลุ่มช่าง-ทายาท ตลอดจนสมาชิก ครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่1.ด้านการสืบสาน 2. ด้านการสร้างสรรค์และ3. ด้านการส่งเสริม 

สําหรับทางด้านการสืบสาน SACIT ได้กําหนดแนวทางในการส่งเสริมบุคคลที่มีความรู้และความสามารถเชิงช่างหัตถศิลป์ เป็นประจําทุกปีเพื่อคัดสรรและเชิดชูบุคคลที่มีทักษะเชิงช่าง เพื่อเป็นการสร้างขวัญกําลังใจ การอนุรักษ์รักษาคุณค่าภูมิปัญญา ทักษะฝีมือ และองค์ความรู้เชิงช่างศิลปหัตถกรรม ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ขณะเดียวกันจะผลักดันให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทยจากรุ่นสู่รุ่น รวมถึงนํามายกย่องเชิดชูให้เป็นที่รู้จัก สร้างพื้นที่ทางการตลาดต่าง ๆ ให้มีโอกาสถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาและทักษะเชิงช่างให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น

โดยในปี2565 นี้ SACIT ได้คัดสรรและเชิดชูกลุ่มผู้สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ ไทยในระดับที่เป็นที่ยอมรับ และได้รับการเชิดชูแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามทักษะฝีมือและองค์ความรู้ได้แก่1. ครูศิลป์ ของแผ่นดิน จำนวน 2 ท่าน ซึ่งเป็นบุคคลชั้นบรมครูด้วยทักษะฝีมือเชิงช่างชั้นสูง มีความชํานาญในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยความประณีตงดงาม มีเอกลักษณ์ ตลอดจนเป็นครูผู้ถ่ายทอด ส่งต่อองค์ความรู้และภูมิปัญญาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ช่างฝีมือ 

“สถาบันศิลปหัตถกรรมไทย”ยกย่องผู้สร้างงานศิลปไทย25รางวัล

2. ครูช่างศิลปหัตถกรรม จํานวน 13 ท่าน เป็นบุคคลผู้มีทักษะฝีมือในงานศิลปหัตถกรรม และรักษาคุณค่าองค์ความรู้นําภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนา สร้างสรรค์ต่อยอดสร้างงานศิลปหัตถกรรมไทย และ3.ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมไทย จํานวน 10 ท่าน ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีความมุ่งมั่นและใฝ่เรียนรู้สร้างสรรค์หรือมีการนํานวัตกรรมใหม่ๆ มาต่อยอด เสริมสร้างคุณค่าผลงานศิลปหัตถกรรมให้ดํารงอยู่และผลิตสู่ตลาดได้

สําหรับบุคคลที่ SACIT เชิดชูเป็น "ครูศิลป์ ของแผ่นดิน" "ครูช่างศิลปหัตถกรรม" และ "ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม" มีบุคคลที่ได้รับการพิจารณาคัดสรรเชิดชู "ครูศิลป์ ของแผ่นดิน" จํานวน 2 ท่าน ได้แก่ นายสมคิด ด้วงเงิน อายุ81 ปีประเภท หัตถกรรมทองลงหิน ช้อน ส้อม ลายดอกพิกุล 2.นายสุเทพ พรมเพ็ชรอายุ 73 ปีประเภท เครื่องดิน(สังคโลก) 

"ครูช่างศิลปหัตถกรรม"จํานวน 13 ท่าน ได้แก่1.นายสุรัตน์บัวหิรัญ อายุ64 ปี ประเภท เครื่องดิน 2.นายเนติพงศ์ ไล่สาม ประเภท เครื่องอื่นๆ (งานหัตถกรรมลูกปัดโนราห์) 3.นางกาญจนา สุวรรณมาลี อายุ58 ปี ประเภทเครื่องดิน (เครื่องปั้นดินเผาศิลาดล) 4. นางสาวจุฑาทิพ ไชยสุระ อายุ52 ปีประเภท เครื่องทอ(ผ้าฝ้ายทอย้อมสีธรรมชาติ) 5.นายธวัชชัย ชูจิต อายุ40 ปีประเภทเครื่องหนัง (แกะหนังตะลุง) 6. นางบัวหอม มูลคํา อายุ68 ปีประเภท ผ้าและสิ่งทอ ประเภท เครื่องนอนไทลื้อโบราณ 7.นางปิโยรส บัวเหลือง อายุ 57 ปีประเภทเครื่องทอ (ปักผ้าไทยโบราณ) 8.นายพงศ์พันธุ์ ไชยนิล อายุ47 ปีประเภทเครื่องดิน (เครื่องปั้นดินเผามอญ) 

“สถาบันศิลปหัตถกรรมไทย”ยกย่องผู้สร้างงานศิลปไทย25รางวัล

9.นางพนิดา สมบูรณ์อายุ65 ปีประเภท เครื่องประดับลงยาราชาวดี10.นายรัชพล เต๋จ๊ะยา อายุ37 ปีประเภท เครื่องอื่นๆ (งานช่างกระจกเกรียบอย่างโบราณ) 11. นางสุมิตรา ทองเภ้า (คุณยายดํา) อายุ 79 ปีประเภทเครื่องทอ (การทอผ้ายกดอก) 12.นางอินศรี กรรณิกา อายุ70 ปีประเภทเครื่องทอ (ผ้าซิ่นตีนจก) และ13.รองศาสตราจารย์วาสนา สายมา อายุ61 ปีประเภทเครื่องจักสาน

"ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม" จํานวน 10 ท่าน ได้แก่1.นางภัศน์พร บัวคลี่ตระกูล อายุ 48 ปีประเภท เครื่องหนัง (กลอง) 2.นางสาวรุจิรา แท่นมาก อายุ40 ปีประเภทผ้าทอนาหมื่นศรี 3.นางสาวจงกลณี สุวรรณพรรค อายุ59 ปีประเภทเครื่องทอ(ผ้าทอเกาะยอ) 4. นางสาวนฤมล ธิจิตตัง อายุ35 ปีประเภท เครื่องเคลือบเวียงกาหลง 5.นายเกียรติยุธ คมขํา อายุ44 ปีประเภท กริชโบราณ 

“สถาบันศิลปหัตถกรรมไทย”ยกย่องผู้สร้างงานศิลปไทย25รางวัล

6. นายเอกฉันท์ จันอุไรรัตน์ อายุ 56 ปี ประเภทเครื่องลงยาสีร้อน 7.นายกุณฑฬ โสวาปีอายุ55 ปีประเภทแกะสลักหิน 8.นายจิรเมธ จันทโชติ อายุ 27 ปีประเภทเครื่องจักสาน (ตาลปัตรพัดสาน และชุดครอบผ้าไตร ) 9.นายนพดล ไทรวิมาน อายุ 33 ปีประเภทเครื่องดนตรีไทย (ซออู้ซอด้วง ซอสามสาย)และ10.นายสุวัฒน์ วรรนขันต์ อายุ46 ปีประเภทจ้องแดง

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจ สามารถเข้ามาชมผลงานของ ทั้ง 25 ท่านได้ที่ งานอัตลักษณ์แห่งสยามครั้งที่ 13 และCrafts Bangkok2022 ระหว่างวันที่ 8-11 กันยายน 2565 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ฮอลล์101-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: @sacitofficial

โดยภายในงานจะมีการมีการจําหน่ายผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โครงการเซรามิค สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์โครงการกําลังใจ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์และการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยร่วมสมัยที่สร้างสรรค์โดยครูศิลป์ ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม และสมาชิกผู้ผลิตงานหัตถกรรมที่สร้างสรรค์อย่างร่วมสมัยตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ นับหมื่นรายการ กว่า 600 ร้านค้า

“สถาบันศิลปหัตถกรรมไทย”ยกย่องผู้สร้างงานศิลปไทย25รางวัล “สถาบันศิลปหัตถกรรมไทย”ยกย่องผู้สร้างงานศิลปไทย25รางวัล