"ไทยโฮยา" เปิดตัวเลนส์ชะลอสายตาสั้น - มอบฟรีให้เด็กไทย
สายตาสั้น กำลังเป็นปัญหาด้านสุขภาพระดับโลก โดยคาดการณ์ว่าเกือบ 50% ของประชากรโลกจะมีภาวะสายตาสั้นภายในปี 2050
นายกฤษณะ เขียวชอุ่ม ผู้อํานวยการฝ่ายการขาย ไทยโฮยาเลนซ์ กล่าวว่า โฮยา วิชชั่น แคร์ เป็นอันดับสองในตลาดแว่นตาทั่วโลก อุตสาหกรรมแว่นตาของไทยคาดว่าจะเติบโต 5% เป็น 7.35 พันล้านบาทในปีนี้ หลังจากลดลงอย่างมากในช่วงปี 2020 และ 2021 การเปิดตัวเลนส์ MiYOSMART คาดว่าจะเพิ่มรายได้อย่างน้อย 10% จากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กนักเรียน อายุระหว่าง 6 - 18 ปี ที่มีภาวะสายตาสั้น เราประเมินว่ามีเด็ก 1.6 ล้านคนกำลังมีปัญหาสายตาสั้นและต้องการเลนส์แว่นสายตาอีกจำนวนมาก เรามั่นใจว่า MiYOSMARTจะสามารถขยายตลาดเลนส์ชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็ก ในประเทศไทยได้
ขณะที่ นายวรรณ์ชาติ สุชาโต ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ไทยโฮยาเลนซ์ ระบุว่า ไทยโฮยาเลนซ์ ต้องการสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาสายตาสั้นในเด็ก และ สร้างการรับรู้วิธีช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น โดยมุ่งเป้าไปที่ผู้ปกครอง ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ในเรื่องความเสี่ยงของสายตาสั้นต่อสุขภาพตาในระยะยาวและผลกระทบต่อผลการเรียน10 ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับการตรวจสายตาของบุตรหลานเป็นประจําเพื่อป้องกันปัญหาสายตาในเด็ก
"ไทยโฮยาเลนซ์ ร่วมมือกับมูลนิธิในประเทศไทย บริจาคเลนส์สายตาให้กับเด็กด้อยโอกาส ผ่านการจำหน่ายเลนส์ MiYOSMART โดยเราจะบริจาคเลนส์สายตาหนึ่งคู่ ต่อทุกๆ คู่ของเลนส์ MiYOSMART ที่ขายได้ เพราะการมองเห็นของเด็กเป็นสิ่งมีค่า เด็ก ๆ ควรได้รับการดูแลรักษาสายตาให้ถูกวิธีตั้งแต่วันนี้เพื่อสร้างโอกาสเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่” นายวรรณ์ชาติ กล่าว
ขณะที่ นพ. วรากร เทียมทัด นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ หน่วยจักษุวิทยาเด็ก และ ตาเข โรงพยาบาลราชวิถี และ โรงพยาบาลพญาไท2 กล่าวว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา สายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กในเอเชีย และสายตาสั้นเป็นหนึ่งในห้าอันดับแรกขององค์การอนามัยโลก ให้ความสนใจ ซึ่งการใช้เลนส์ชะลอสายตาสั้นจะลดสัญญาณกระตุ้นการยืดตัวของกระบอกตาและในขณะเดียวกันก็ช่วยให้แสงที่จุดรับภาพโฟกัสได้อย่างชัดเจน
"จากเด็กที่ใช้เลนส์ MiYOSMART จริงเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าด้านขวาสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเพียง 0.12D และด้านซ้ายสั้นเพิ่มขึ้น 0.5D ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าสายตาสั้นของเด็กที่ได้รับการรักษาด้วยเลนส์สายตาสั้นทั่วไป มักมีระดับของสายตาสั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าดังกล่าว" นพ. วรากร กล่าว
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชมที่เว็ปไซต์โฮยา