'มทภ.1' ขันน็อต กองกำลังบูรพา รับนโยบายรัฐบาล ยกระดับการค้าชายแดน จ.สระแก้ว
"มทภ.1" ขันน็อตการปฏิบัติงาน กกล.บูรพา รองรับนโยบายรัฐบาล ยกระดับการค้าชายแดน ด้าน ผู้ว่าฯสระแก้ว เผย คุย ผบ.ทสส.กำหนดพื้นที่เก็บทุ่นระเบิด รับยังมีปัญหาเขตทับซ้อน
9 ก.พ.2567ที่กองกำลังบูรพา จ.สระแก้ว พล.ท.ชิษณุพงศ์ รอดศิริ มทภ.1 เดินทางมาตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ ตรวจความพร้อมการดูแลชาบแดนและสกัดสิ่งผิดกฎหมาย พร้อมระบุว่า ปัจจุบันการป้องกันประเทศ ได้นำเทคโนโลยีมา เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่น โดรน กล้องวงจรปิด ทำให้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองลดลงและทางรัฐบาลทำเอ็มโอยู ในเรื่องของแรงงานทำให้ทุกอย่างกลับเข้ามาสู่กระบวนการที่ถูกต้อง
ส่วนปัญหายาเสพติดพื้นที่พื้นที่ชายแดนตะวันออกไม่ใช่พื้นที่นำเข้ายาเสพติด ส่วนใหญ่เป็นผู้เสพรายเล็กรายน้อยที่พกติดตัวมาซึ่งไม่ใช่ปัญหาสำคัญ ส่วนใหญ่มีปัญหาในพื้นที่ฝั่งตะวันตก และได้วางแผนร่วมกับกองกำลังบูรพา และผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี หลังจากที่รัฐบาลได้เข้มงวดในพื้นที่ภาคเหนือภาคอีสาน ทำให้ยาเสพติดไหลลงมาตามฝั่งตะวันตก จึงมีการบูรณาการด้านการข่าว ตามกลไกของกอ.รมน และกองกำลังบูรพา รวมถึงหน่วยข่าวกรองทหารทำให้เราติดตาม ด้านยาเสพติดมาอย่างต่อเนื่อง และจับกลุ่มได้อย่างต่อเนื่อง สามารถวิเคราะห์เส้นทางลำเลียงและเฝ้าระวังได้
ด้านนายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรองรับการยกระดับการค้าชายแดนตามนโยบายของรัฐบาลว่า ปัญหาที่กองกำลังบูรพาเผชิญอยู่ตามแนวชายแดน ดูแลพื้นที่ 165 กิโลเมตรตลอดจังหวัดสระแก้ว ใน 4 อำเภอ ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องทุ่นระเบิดที่ยังมีปนเปื้อนตามแนวชายแดน และการเจรจาเพื่อที่จะเก็บกู้ภัยกับกัมพูชา ทำร่วมกันมา และกำหนดพื้นที่การเก็บกู้แต่ในภาพใหญ่ทางกระทรวงต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ และหน่วยปฏิบัติ กองบัญชาการทหารสูงสุดในระดับประเทศ ในระดับพื้นที่มอบให้กองกำลังบูรพา รวมกับศูนย์เก็บกู้วัตถุระเบิดพื้นที่
ในส่วนของจังหวัดสระแก้วได้มีการหารือกับพล.อ. ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผบ.ทหารสูงสุดขอให้กำหนดแผนเป็นพื้นที่เศรษฐกิจและโดยธรรมชาติ การฝังทุ่นละเบิดจะมีตามแนวชายแดนทั่วไป ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานีจนสระแก้ว รวม7 จังหวัด แต่ทุนระเบิดที่อยู่ในพื้นที่ป่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ ไม่มีความจำเป็นต้องไปเก็บกู้ จึงหารือกับผบ.ทหารสูงสุดว่า ขอให้กำหนดแผน พื้นที่ที่ต้องการเปิดเป็นจุดผ่านแดน จุดผ่านปรนของประชาชน 2 ประเทศใช้ร่วมกัน ก็ได้รับข้อตกลงและนายกฯเดินทางมาสระแก้วก็นำเรียนและท่านได้เห็นชอบด้วย
ตลอดในชายแดนจังหวัดสระแก้วยังมีพื้นที่อ้างสิทธิ์ ซึ่งนายกฯกัมพูชาเดินทางมา หารือพื้นที่อ้างสิทธิ์ในทะเล แต่ตามแนวชายแดนทางบกก็ยังมีพื้นที่อ้างสิทธิ์อยู่ซึ่งผลกระทบจะเกิดกับประชาชน ถึงเอกสารสิทธิ์ที่เรียกว่า นส.3 หรือ พื้นที่ ส.ป.ก.ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ ซึ่งทางจังหวัดไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ให้ได้หรือเปลี่ยนแปลงเอกสารสิทธิ์เนื่องจากต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นดินแดนของตัวเอง เป็นเรื่องที่ยังตกลงไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นหลักเขตไหนก็ตามในฝั่งไทยก็พยายามพูดคุยกับประชาชนที่ครอบครองเอกสารสิทธิ์ว่ายังเป็นพื้นที่อ้างวิทธิ์ เพราะฉะนั้นมี 2 ส่วนที่ซ้อนทับกันก็คือมีทุ่นระเบิดและพื้นที่อ้างสิทธิ์อยู่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือที่ไม่อ้างสิทธิ์ หรือไม่มีทุ่นระเบิดก็เป็นแนวชายแดนปกติ สามารถวางกำลัง และแบ่งเขตแดนได้ชัดเจนประชาชนสามารถทำมาหากินได้
สำหรับข้อมูลทหารกองกำลังบูรพา พบว่า
ในปัจจุบันจากการสำรวจระหว่างไทยกับกัมพูชา มีหลักเขตบางหมุดชำรุด บางหมุดสูญหาย และถูกทำลาย ซึ่งบางหมุดได้มีการซ่อมแซม ในส่วนของชุดสำรวจมีอยู่ 5 ขั้นตอนคือพิสูจน์ทราบ ซ่อมแซม และทำหลักเขตแดน โดยคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาร่วมกับกรมแผนที่ทหารซึ่งเรียบร้อยแล้ว
แต่ยังมีในบางพื้นที่ ยังเห็นไม่ตรงกันเป็นพื้นที่ทับซ้อน ในขั้นตอนต่อไปจะประชุมหาหรือเพื่อหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดความชัดเจน และจะมีการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายจนไปถึงขั้นตอนสุดท้ายจัดทำหลักเขตแดนโดยเฉพาะโดยคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทยกัมพูชา ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอน ที่ยังเหลือการประชุมเพื่อให้มีความเห็นตรงกัน