สรุปสถานการณ์น้ำท่วม 6 จว. กระทบ 2.1 หมื่นครัวเรือน ย้ำรอบใหม่ ฝนตกหนัก 7 วัน
สรุปสถานการณ์น้ำท่วม 6 จังหวัด กระทบ 2.1 หมื่นครัวเรือน เตือนให้ระวัง ฝนตกหนัก รอบใหม่ 7 วันต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 24-30 สิงหาคม 2567 พร้อมเฝ้าติดตามระดับน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม 43 จังหวัดทั่วไทย วางแผนรับมือให้ทัน เช็กพื้นที่เสี่ยงภัย
ปภ. "สรุปสถานการณ์น้ำท่วม 6 จังหวัด" กระทบ 2.1 หมื่นครัวเรือน เตือนให้ระวัง ฝนตกหนัก รอบใหม่ 7 วันต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 24-30 สิงหาคม 2567
พร้อมเฝ้าติดตามระดับน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม 43 จังหวัดทั่วไทย วางแผนรับมือให้ทัน เช็กพื้นที่เสี่ยงภัย
วันนี้ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 10.30 น. ปภ. รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ เพชรบูรณ์ และอุดรธานี
รวม 41 อำเภอ 177 ตำบล 1,023 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21,628 ครัวเรือน ประสานพื้นที่ดูแลและให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วน
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย
ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้ระหว่างวันที่ 16 - 23 ส.ค. 67 มีสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่
- เชียงราย
- เชียงใหม่
- พะเยา
- น่าน
- ลำปาง
- แพร่
- เพชรบูรณ์
- อุดรธานี
- ระยอง
- ภูเก็ต
รวมทั้งหมด 59 อำเภอ 245 ตำบล 1,413 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 30,459 ครัวเรือน
โดยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2567) ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด รวม 41 อำเภอ 177 ตำบล 1,023 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21,628 ครัวเรือน ดังนี้
น้ำท่วมเชียงราย
- เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อ.เวียงชัย อ.เชียงแสน อ.ป่าแดด อ.พญาเม็งราย อ.แม่สาย อ.แม่จัน อ.เทิง อ.เชียงของ อ.ขุนตาล อ.เวียงแก่น และ อ.เวียงป่าเป้า รวม 33 ตำบล 231 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,381 ครัวเรือนระดับน้ำลดลง
น้ำท่วมพะเยา
- เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.ปง อ.เชียงม่วน อ.ดอกคำใต้ อ.ภูซาง อ.เมืองฯ และ อ.เชียงคำ
- รวม 40 ตำบล 313 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,500 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
น้ำท่วมน่าน
- เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เวียงสา อ.นาน้อย อ.เชียงกลาง อ.ทุ่งช้าง อ.บ้านหลวง อ.ท่าวังผา อ.ปัว อ.ภูเพียง อ.เมืองฯ และ อ.บ่อเกลือ รวม 56 ตำบล 283 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,517 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
น้ำท่วมแพร่
- เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ร้องกวาง อ.สอง อ.เมืองฯ อ.สูงเม่น และ อ.หนองม่วงไข่ รวม 23 ตำบล 102 หมู่บ้าน
- ประชาชนได้รับผลกระทบ 383 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
น้ำท่วมเพชรบูรณ์
- เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.วังโป่ง อ.ชนแดน และ อ.เมืองฯ รวม 6 ตำบล 22 หมู่บ้าน
- ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,726 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
น้ำท่วมอุดรธานี
- เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ไชยวาน อ.กู่แก้ว อ.เพ็ญ และ อ.หนองหาญ
- รวม 19 ตำบล 72 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 121 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
43 จังหวัด ภาคเหนือ อีสานตอนบน ภาคกลาง ภาคใต้ เสี่ยงฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน ช่วง 24-30 ส.ค. 67
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 43 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เฝ้าระวังสถานการณ์ท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ดินถล่ม รวมถึงน้ำล้นอ่างเก็บน้ำและน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 24-30 ส.ค. 2567
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง
ประกอบกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศพบว่าร่องมรสุมได้พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น
ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคใต้ โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ระหว่างวันที่ 24 - 30 สิงหาคม 2567 ดังนี้
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ได้แก่
ภาคเหนือ 12 จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ ปางมะผ้า ปาย ขุนยวม แม่ลาน้อย แม่สะเรียง สบเมย)
- เชียงใหม่ (อ.แม่อาย เชียงดาว)
- เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สาย เชียงแสน เวียงแก่น ขุนตาล พญาเม็งราย เวียงชัย เทิง แม่ลาว)
- ลำปาง (อ.วังเหนือ งาว)
- พะเยา (อ.เมืองฯ แม่ใจ ภูซาง ปง เชียงคำ จุน เชียงม่วน)
- แพร่ (อ.เมืองฯ เด่นชัย สอง ลอง วังชิ้น)
- น่าน (อ.เมืองฯ เฉลิมพระเกียรติ ปัว ท่าวังผา เวียงสา ทุ่งช้าง เชียงกลาง บ่อเกลือ สองแคว ภูเพียง)
- อุตรดิตถ์ (อ.เมืองฯ ลับแล พิชัย ทองแสนขัน ท่าปลา)
- ตาก (อ.เมืองฯ ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ อุ้มผาง) สุ
- โขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม ศรีสำโรง กงไกรลาศ)
- พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ นครไทย วังทอง เนินมะปราง)
- เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ หล่มเก่า หล่มสัก)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดเลย (อ.นาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย ปากชม)
- หนองคาย (อ.เมืองฯ สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก)
- บึงกาฬ (อ.เมืองฯ ปากคาด บุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา บึงโขงหลง)
- หนองบัวลำภู (อ.เมืองฯ ศรีบุญเรือง โนนสัง)
- อุดรธานี (อ.เพ็ญ บ้านดุง หนองหาน) สกลนคร (อ.เมืองฯ บ้านม่วง คำตากล้า วานรนิวาส สว่างแดนดิน พรรณานิคม)
- นครพนม (อ.เมืองฯ บ้านแพง ศรีสงคราม ท่าอุเทน นาหว้า โพนสวรรค์ ปลาปาก ธาตุพนม)
ภาคกลาง 8 จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดกาญจนบุรี (อ.เมืองฯ สังขละบุรี ทองผาภูมิ ศรีสวัสดิ์ ไทรโยค ด่านมะขามเตี้ย)
- ราชบุรี (อ.สวนผึ้ง บ้านคา)
- นครนายก (อ.เมืองฯ ปากพลี บ้านนา)
- ปราจีนบุรี (อ.เมืองฯ ประจันตคาม นาดี กบินทร์บุรี)
- จันทบุรี (อ.เมืองฯ มะขาม ขลุง แหลมสิงห์)
- ตราด (อ.เมืองฯ บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะกูด)
- เพชรบุรี (อ.แก่งกระจาน หนองหญ้าปล้อง)
- ประจวบคีรีขันธ์ (อ.หัวหิน ปราณบุรี บางสะพาน)
ภาคใต้ 8 จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ คีรีรัฐนิคม พุนพิน พระแสง เวียงสระ)
- นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ลานสกา ถ้ำพรรณรา ทุ่งใหญ่)
- พัทลุง (อ.เมืองฯ ปากพะยูน กงหรา ศรีนครินทร์ ควนขนุน)
- ระนอง (อ.เมืองฯ กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ สุขสำราญ)
- พังงา (อ.เมืองฯ คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง)
- ภูเก็ต (ทุกอำเภอ)
- ตรัง (อ.เมืองฯ ปะเหลียน นาโยง กันตัง ห้วยยอด รัษฎา วังวิเศษ)
- สตูล (อ.เมืองฯ ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า มะนัง)
พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80
จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี เลย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี
และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกักที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ
พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ
- แม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของลำน้ำงาว (จ.เชียงราย อ.เวียงแก่น)
- แม่น้ำสาย (จ.เชียงราย อ.แม่สาย)
- แม่น้ำอิง (จ.เชียงราย อ.เทิง)
- แม่น้ำน่าน (จ.น่าน อ.เมืองฯ เวียงสา เชียงกลาง ภูเพียง ท่าวังผา)
- แม่น้ำยม (จ.พะเยา อ.ปง เชียงม่วน จ.แพร่ อ.เมืองฯ สอง หนองม่วงไข่ จ.สุโขทัย อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย กงโกรลาศ จ.พิษณุโลก อ.เมืองฯ พรหมพิราม บางระกำ)
- แม่น้ำแควน้อย (จ.พิษณุโลก อ.นครไทย วัดโบสถ์)
- แม่น้ำป่าสัก (จ.เพชรบูรณ์ อ.หล่มสัก หนองไผ่)
- ลำน้ำก่ำ (จ.นครพนม อ.เรณูนคร)
- แม่น้ำตราด (จ.ตราด อ.เมืองฯ เขาสมิง บ่อไร่)
อ้างอิง-ภาพ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM