'ด่านซ้าย' โมเดล ลด-ละ-เลิก สารเคมี บนเขาหัวโล้น
“ด่านซ้าย” โมเดล ลด-ละ-เลิก สารเคมี บนเขาหัวโล้น
การพัฒนาเศรษฐกิจแบบเดิมเดินมาถึงจุดที่ไม่สามารถพาประเทศไทย “ก้าวพ้น” ปัญหาที่เข้ามาอย่างรอบด้านได้ ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศชาติ และสังคม หลายภาคส่วนได้มีการระดมความเห็นที่จะไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ล่าสุด (13-14 มิ.ย.60) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ หน่วยงานราชการ ภาคประชาชนอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ร่วมเวทีนำเสนอการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำหมันโดยเครือข่ายทางสังคม ภายใต้โครงการวิจัยการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์สังคม และกฎหมาย ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายจังหวัดเลย โดยมีนายประยูร อรัญรุท นายอำเภอด่านซ้าย นพ.ภักดี สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯด่านซ้าย รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รองผู้อำนวยการด้านการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ สกว. รศ.ดร.ประภาพร ขอไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร สกว. ศ.ดร.อรรถชัย จินตะเวช และ ผศ.ดร.พงษ์เทพ วิไลพันธ์ ผู้ประสารงานวิจัยและพัฒนา ฝ่ายเกษตร สกว. รวมถึง ผศ.เอกรินทร์ พึ่งประชา ทีมวิจัย สกว.และคณะ ผู้ทรงคุณร่วมแลกเปลี่ยนและให้ความเห็น
รศ.ดร.ปัทมาวดี กล่าวถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)ว่า เนื่องด้วยในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558ประเทศไทย ได้ลงนามและมีคำมั่นร่วมกับนานาประเทศ ในการร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนSDGs และรัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยอาศัย กระบวนการการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573)ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในส่วนนี้ สกว.ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่สนับสนุนการวิจัย ตระหนักถึงความรับผิดชอบของภาควิชาการ ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยข้อมูลและความรู้จากเอกสารผลงานวิจัย และที่ผ่านมา สกว.ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยในทุกระดับ โดยพื้นที่จังหวัดเลย และอำเภอด่านซ้าย เป็นจังหวัดหนึ่งที่ สกว.ให้การสนับสนุนการวิจัย เช่น โครงการการพัฒนาระบบองค์ความรู้ด้านฐานข้อมูลทรัพยากรอาหารของชุมชนในภาวะเปราะบางเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงอาหาร โครงการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการระบบและความมั่นคงอาหารของชุมชน: กรณีศึกษาอำเภอด่านซ้าย และโครงการการจัดการลุ่มน้ำหมันโดยเครือข่ายทางสังคมเพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
โดยทั้งสามโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในประเด็นความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยของอาหาร และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ น้ำ ที่ดิน และการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน สกว.พร้อมจะเชื่อมโยงและสนับสนุน ภาคีเครือข่ายคนด่านซ้าย จัดทำยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำหมัน สายน้ำที่หล่อเลี้ยงคนด่านซ้าย ทั้งการอุปโภค และบริโภค โดยเครือข่ายทางสังคมต่อไป
ด้าน ผศ.เอกรินทร์ กล่าวถึงลักษณะของพื้นที่อำเภอด่านซ้ายว่า มีความคล้ายคลึงกับจังหวัดน่าน นั่นคือ มีเนินมีเขามาก และปัญหาที่พบเจอคือป่าที่อยู่บนเขาบนเนินกำลังหายไป เนื่องจากมีการปลูกข้าวโพดแทนข้าวมากขึ้น ขณะเดียวกันด่านซ้ายมีลุ่มน้ำสำคัญ คือ ลุ่มน้ำหมัน แต่ปัญหาคือ ข้างบนเขาหรือเนินเปลี่ยนวิถีการปลูกมาเป็นข้าวโพดมากขึ้น ก่อให้เกิดการทำลายป่า และร่องน้ำที่เป็นน้ำซับหายไป ต้นน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบกับคนข้างล่าง เพราะน้ำลงมาน้อยลง สถานการณ์ทางอาหารจึงเริ่มไม่ปลอดภัย กลายเป็นปัญหาร่วมกันทั้งชุมชน
จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเกิดความร่วมมือของ “คนไทซ้าย” โดยใช้วัฒนธรรมดั้งเดิมหลายอย่างที่เอื้อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและการปกป้องทรัพยากรในการผลิต เช่น การใช้วัฒนธรรมมาช่วยในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล ชุมชน และโรงเรียนในพื้นที่ รวมตัวเป็นเครือข่ายทางสังคม (social network) ช่วยกันรื้อฟื้นวัฒนธรรมเก่าๆ และนำมาช่วยจัดการทรัพยากรธรรมชาติและอาหาร อย่างเช่น การนำผีตาโขนมาแสดงและอบรมให้คนในพื้นที่ช่วยกันรักษาป่าผ่านความเชื่อดั้งเดิมที่เน้นสร้างสมดุลระหว่างป่าและคน หรือการส่งเสริมภูมิปัญญาการกินอาหารของคนด่านซ้าย เพราะส่วนใหญ่เขาจะเก็บผักจากป่า
“ตอนนี้ เราได้เอาทั้งวัฒนธรรมการกินอาหารของคนด่านซ้ายกับผีตาโขนมาจัดเป็นประเพณี จัดเป็นกิจกรรมทุกปี ซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้น ชุมชนเกิดการเรียนรู้และเห็นว่าจริงๆ ชีวิตเขาต้องพึ่งกับทรัพยากรธรรมชาติพวกนี้ ถ้าไปทำลายป่า ความมั่นคงทางอาหารก็ไม่มี ขณะเดียวกันก็เพื่อลดความขัดแย้งของคนไทด่านในประเด็นคนที่สูง หรือ คนปลูกข้าว ถูกตรีตราบนสังคมออนไลน์ว่าเป็นต้นเหตุให้อำเภอด่านซ้ายถูกน้ำท่วมเมื่อปี 58 ซึ่งงานวิจัยไม่พึ่งประสงค์ที่จะสร้างความขัดแย้ง แต่สร้างความเข้าใจให้กับพื้นที่ ที่จะร่วมการแก้ไขปัญหา” ผศ.เอกรินทร์ กล่าวและว่า
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการพัฒนา ตน และ สกว. จึงขอเชิญชวนให้ภาคประชาชน และเครือข่ายร่วมแสดงความคิดเห็นในการยกร่างยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำมันโดยเครือข่ายทางสังคม 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1.การวิจัยพื้นฐานและป่าต้นน้ำ 2.การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ 3.การแก้ปัญหาอุทกภัย 4.การแก้ปัญหาจากน้ำ (มลพิษ) 5.การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยทั้งหมดทั้งมวลต้องอาศัยความร่วมมือของคนในพื้นที่ ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่ง
ในส่วนนี้ นายอำเภอด่านซ้าย ให้ความเห็นว่า การขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องของฐานความคิด และจิตสำนึกของคนด่านซ้าย โดยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมของด่านซ้าย และการท่องเที่ยวเข้ามากระตุ่น ควบคู่กับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ ในบริเวณลุ่มน้ำหมัน ทั้งการจัดการ การกักเก็บ และการบำรุงลำน้ำให้มีความแข็งแรง ลดปันหาน้ำกัดเซาะ รวมถึงบูรณาการแผนการพัฒนาลุ่มน้ำเลย ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับลุ่มน้ำหมัน ในประเด็นการพัฒนาแหล่งน้ำ ตามยุทธศาสตร์จังหวัดหวัด และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาล แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาต้องนำเสนอจากแผนพัฒนาของพื้นที่
สำหรับการแก้ปัญหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรอาหารลุ่มน้ำหมัน นาย สมิง สิงคร ผู้ใหม่บ้านบ้านหนามแท่ง เสนอให้มีการแก้ปัญหาอาชีพทางเลือกให้กับประชาชน โดยประชาชนส่วนใหญ่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงแต่ยังขาดอาชีพทางเลือก เช่น การสร้างความยั่งยืนให้กับวิถีการเกษตร ขจัดลัทธิการปลูกพื้นบนที่สูงเดิม ส่งเสริมให้คนกิน คน ปลูก ไก้กินผัก ผลไม้ปลอดภัย ลดการปลูกพื้นเชิงเดี่ยว และการใช้สารเคมี ซึ่งไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดหนี้สินติดพันต่อเนื่อง แต่ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อฐานทรัพยากรอาหารสำคัญ ทั้ง ดิน น้ำ และป่า ของชุมชน สืบเนื่องไปจนถึงปัญหาสุขภาพ ซึ่งปัญหาในส่วนท้ายนี้เอง ทำให้โรงพยาบาลฯด่านซ้ายหันมาทำงานเชิงรุกมากขึ้น
อนึ่งงานวิจัย สกว. ระบุว่า หมู่บ้านก้างปลา ที่มีการขยายพื้นที่ทำกินเข้าไปในเขตป่า เมื่อ 10 ปีก่อน พร้อมกับใช้สารเคมีทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากร กระทั้งทีมวิจัย ผศ.เอกรินทร์ เข้าไปสนับสนุนเกษตรทางเลือก “พริกปลอดภัย” ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนลด “เขาหัวโล้น” ด่านซ้าย พบว่า เกษตรกรสามารถจัดสรรที่ดิน 0.5-2 ไร่ ในการทำเกษตรอย่างมีคุณภาพ ลดละการทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว รวมถึงการปลูกพริกปลอดภัย ที่คณะวิจัยใช้ขับเคลื่อนเพื่อก่อให้เกิดเกษตรทางเลือกและลด “เขาหัวโลน”โดยอาศัยความรู้และเทคโนโลยีการเกษตร
เมื่อปลูกพริกแล้วได้รายได้ดี ชาวบ้านเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาปลูกพริกกันมากขึ้น โดยงานวิจัยพบว่า ตอนนี้ก็มีความเป็นไปได้ที่ชาวบ้านจะคืนพื้นที่ป่ามากขึ้น แต่ที่ยังไม่เห็นผลเต็มร้อยเนื่องจากเป็นที่ดินของชาวบ้าน การตัดสินใจเลยขึ้นอยู่กับชาวบ้าน ทั้งนี้จึงหวังว่าร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านวนเกษตรลงไปสำรวจและช่วยออกแบบให้ชาวบ้านมีรายเพิ่มอีก โดยอาจเป็นการส่งเสริมให้ปลูกต้นไม้ใหญ่ เพราะส่วนหนึ่งจะได้ป่าคืนมา.... นี่คือสิ่งที่งานวิจัยของ ผศ.เอกรินทร์และทีม ทำในพื้นที่ด่านซ้าย
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอย่างยั่งยืน และการสร้างความมั่นคงทางอาหารไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่เพียงพอเพียงเท่านั้น แต่ยังมีมิติอื่นๆ ที่หลากหลายและเฉพาะตัว ซึ่งสะท้อนได้จากวัฒนธรรมการกินอาหารพื้นบ้านที่เต็มไปด้วยผักอาจดูธรรมดา แต่บงชี้ถึงความมั่นคงทางอาหารของชุมชนยังสามารถสะท้อนจากด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรมการผลิต การจัดการทรัพยากร การดูแลป่าต้นไม้....โดยความร่วมมือของคนไทด่าน