เข้มมาตรการควบคุมการระบาด 'หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด'

เข้มมาตรการควบคุมการระบาด 'หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด'

กระทรวงเกษตรฯ เข้มมาตรการควบคุมการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงมาตรการควบคุมการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ว่า หนอนกระทู้ เป็นศัตรูพืชชนิดใหม่ของประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา พบการระบาดในแอฟริกา ปี 2559 ในเอเชีย ปี 2561 และในประเทศไทย พบการระบาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 ที่แปลงข้าวโพดในจังหวัดตากใกล้ชายแดนประเทศเมียนมาและได้แพร่ระบาดทั่วทุกภาคของประเทศไทยกว่า 40 จังหวัด โดยอยู่ระหว่างฤดูกาลผลิตข้าวโพดหลังนา (ระหว่างตุลาคม 2561 - เมษายน 2562) ซึ่งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้าไปติดตามดำเนินการให้คำแนะนำในพื้นที่จากสถานการณ์การระบาดขณะนั้น ทำให้พื้นที่ระบาดลดลง 150,463 ไร่ จากพื้นที่ระบาดทั้งหมด 165,028 ไร่ หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 91.2

เข้มมาตรการควบคุมการระบาด \'หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด\'


สำหรับฤดูกาลผลิตปัจจุบัน ข้อมูล ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2562 พบการระบาด จำนวน 291,356 ไร่ ในพื้นที่ 42 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ อุดรธานี พิษณุโลก น่าน นครพนม นครปฐม ลำปาง สระบุรี อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ลำพูน จันทบุรี สตูล ชียงใหม่ เชียงราย ลพบุรี ชลบุรี ตาก ราชบุรี ปราจีนบุรี เลย หนองบัวลำภูนครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี แพร่ มหาสารคาม สิงห์บุรี ตรัง กระบี่ สระแก้ว สงขลา ยะลา นราธิวาส สุโขทัย กาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช พะเยา และจังหวัดปัตตานี ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการ 6 แนวทาง ดังนี้


1) กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด


2) ได้แจ้งจังหวัดทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกข้าวโพด ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจ ติดตามสถานการณ์การระบาด และรายงานผลการสำรวจทุกสัปดาห์ แจ้งผ่านทางหนังสือราชการ การประชุม VDO Conference


3) ผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (โปสเตอร์ 10,000 แผ่น / แผ่นพับ 100,000 แผ่น)


4) ดำเนินโครงการควบคุมหนอนกระทู้ fall armyworm โดยชีววิธี โดยการผลิตพ่อแม่พันธุ์แมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงศัตรูธรรมชาติพร้อมปล่อย ได้แก่ แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา จำนวน 240,000 แผ่น และแมลงตัวห้ำ (แมลงหางหนีบ มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต) จำนวน 6,096,600 ตัว


5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ดำเนินการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมลงหางหนีบ เพื่อควบคุมหนอนกระทู้ในแปลงตนเองและสมาชิก ให้ลดความรุนแรงของการระบาด กรณีระบาดรุนแรงส่งเสริมให้ใช้สารเคมีตามคำแนะนำเกษตรกร


6) ได้ประเมินสถานการณ์และผลกระทบจากการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด และจัดตั้งทีมติดตามสถานการณ์ลงพื้นที่ให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัด และติดตามผลการดำเนินงานในจังหวัดต่างๆ ที่พบการระบาด


ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์และผลกระทบภายหลังจากที่ใช้มาตรการข้างต้น พบว่า


1) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเข้าใจสถานการณ์ การระบาดและป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด พื้นที่ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการตามคำแนะนำและสามารถป้องกันกำจัดได้
2) เกษตรกรที่ขาดการดูแลอย่างต่อเนื่อง จะดำเนินการไถพื้นที่ข้าวโพดและปลูกใหม่ บางรายตัดต้นข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
3) เกษตรกรเห็นความสำคัญในการป้องกันและกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด โดยนำศัตรูธรรมชาติไปเลี้ยงในศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) เพื่อขยายพันธุ์และปล่อยในพื้นที่ระบาด
4) เกษตรกรได้รับรู้การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์จากทุกช่องทาง
5) อำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการออกสำรวจพื้นที่คาดว่าจะเสียหาย และรายงานตามลำดับต่อไป


“เพื่อให้มีการติดตามสถานการณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2562 ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และอธิบดี/ผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ให้เฝ้าระวัง ควบคุม จำกัด ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคระบาดในพืชและสัตว์อย่างรอบด้าน โดยในระดับพื้นที่ให้ใช้กลไกคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด (อ.พ.ก.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดประธาน กำหนดแนวทางการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาร่วมกันทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรให้เกษตรจังหวัดประสาน ปภ.จังหวัดให้ความช่วยเหลือต่อไป ขณะเดียวกันได้กำชับให้หน่วยงานในส่วนกลางติดตามสถานการณ์อย่างใกล้