การรถไฟฯจ่อหารือ 'ซีพี' เร่งโอนแอร์พอร์ตเรลลิงค์
"ร.ฟ.ท." ลั่นมีความพร้อมโอน "แอร์พอร์ต เรล ลิงค์" ทันที จี้ "ซีพี" เร่งวางแผนชาระสิทธิบริหาร 1 หมื่นล้านบาท กลางปี 2563 เล็งหารือซื้อขบวนเพิ่ม คาดผู้โดยสารโตต่อเนื่องทะลุ 1.2 แสนคนต่อวัน
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หลังจาก ร.ฟ.ท.ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่กลุ่มซีพีและพันธมิตรตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารโครงการ โดย ร.ฟ.ท.จะเริ่มทบทวนดูทรัพย์สินของแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ว่ามีส่วนใดที่จะต้องให้เอกชนรับไปบริหารบ้าง
โดยมีกรอบกำหนดไว้ในเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ (RFP) ไว้อยู่แล้วว่า เอกชนจะต้องจ่ายเงินโอนสิทธิรับบริหารส่วนนี้ 1 หมื่นล้านบาทให้ ร.ฟ.ท.ภายใน 2 ปี จะทยอยจ่ายหรืออะไรก็ได้ แต่เมื่อ จ่ายครบภายใน 2 ปีจึงจะมีสิทธิในการเข้ามาบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงค์
ทั้งนี้ ทรัพย์สินของแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ที่จะต้องส่งมอบให้กับกลุ่มซีพี ประกอบด้วย 1.ขบวนรถที่ปัจจุบันมีอยู่จำนวน 9 ขบวน 2.ระบบและอุปกรณ์ รถไฟฟ้า 3.ตัวสถานีรถไฟฟ้าที่จะมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในอาคารที่จะได้สิทธิในการบริหารจัดการด้วย
ส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณภายนอกสถานี จะไม่ได้รวมอยู่ในการส่งมอบเมื่อชาระค่าใช้จ่ายแล้วเสร็จ เพราะจำเป็นต้องรอเคลียร์พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคใต้ดินให้แล้วเสร็จจึงจะส่งมอบได้ โดยสถานีมักกะสันที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพราะมี พื้นที่ทั้งหมดจำนวน 142.26 ไร่ ตามแผนจะมีการส่งมอบช่วงแรก 132.95 ไร่ ส่วนที่เหลือ 9.31 ไร่ จะทยอยส่งมอบ เนื่องจากเป็นพื้นที่พวงราง ซึ่งจะต้องดำเนินการย้ายพวงรางออกไปก่อน จึงจะเข้าใช้ประโยชน์ได้
นายวรุวฒิ กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะส่งมอบทรัพย์สินแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ทันที ที่ทางเอกชนชำระเงินครบ ขอเพียงแค่เอกชนแจ้งแผนที่จะชำระเงินและเข้ามาบริหารงานให้ชัดเจน เพื่อ ร.ฟ.ท.จะได้จัดวางแผนล่วงหน้าในการเตรียมโอนกรรมสิทธิ์และโอนย้ายบุคลากร โดยต้องหารือร่วมกันกับกลุ่มซีพีอย่างชัดเจนหลังลงนามสัญญา เพราะการหารือก่อนหน้านี้ กลุ่มซีพีจะจ่ายเงินบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ในช่วงปลายปีที่ 2
"เราต้องการทราบแผนการจ่ายเงิน เพื่อที่จะได้ไปวางแผนการทางานโอนย้ายบุคลากรได้ด้วย เพราะตอนนี้เราก็จะโอนย้ายบุคลากรจากแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ มาบริหารรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่จะเปิด ให้บริการในเดือน ม.ค.2564"
นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อานวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จากัด หรือ รฟฟท. กล่าวว่า รฟฟท.เตรียมความพร้อมการโอนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ให้กลุ่มซีพี โดยภายหลังลงนามสัญญา รฟฟท.จะเริ่มสำรวจทรัพย์สินเพื่อหารือกับกลุ่มซีพี หลังการลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูง
ส่วนบุคลากร รฟฟท.จะเตรียมความพร้อมในการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมการเดินรถ และบริหารจัดการรถไฟฟ้าแล้ว และจะเปิดรับสมัครพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 300 อัตรา จากปัจจุบันที่มีอยู่ 534 อัตรา รวมเป็น 834 อัตรา
ทั้งนี้ ปัจจุบันแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ มีทรัพย์สินในส่วนของขบวบรถไฟฟ้ารวม 9 ขบวน และต้องจัดหาขบวนรถเพิ่มเติมเพราะผู้โดยสารเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ได้ชะลอแผนจัดหาขบวนรถไฟฟ้าออกไป เนื่องจากจะโอนทรัพย์สินให้ผู้ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดังนั้นจะมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้จัดหาขบวนรถใหม่ให้เพียงพอกับความต้องการ โดยประเมินว่าความต้องการใช้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ที่แท้จริงอยู่ที่ 1.2 แสนคนต่อวัน จึงต้องหาขบวนรถเพิ่ม 4-5 ขบวน เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 3 หมื่นคนต่อวัน
รวมทั้งจะหารือการรับโอนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ให้เร็วขึ้น จากกำหนดเดิมต้องใช้เวลาถึง 2 ปี โดยจะขอพิจารณาให้รับบริหารเร็วขึ้นในช่วงกลางปี 2563 หรือแล้วแต่ทางเอกชนจะมีความพร้อม เนื่องจาก รฟฟท.จะต้อง ไปบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงในเดือน ม.ค.2564 แต่ รฟฟท.ต้องไปทดลองเดินรถเสมือนจริงก่อนในเดือน ก.ค.-ส.ค.2563