จับตา 3 ปัจจัยส่ง หนุนลงทุน 'อีอีซี' ท้ายปี
ส่อง 3 มาตรการรัฐบาล ปัจจัยหนุนดันให้เกิดการลงทุนในอีอีซี ที่ดึงนักลงทุนทั้งจากไทยและเทศเข้ามาลงทุนได้จำนวนมาก เพียงในช่วง 9 เดือนแรก มีโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนแล้วกว่า 360 โครงการ เพิ่มขึ้นเกือบ 40%
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.ย.62) มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี 360 โครงการ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน 37% แต่มีมูลค่าการลงทุน 167,930 ล้านบาท ลดลง 23% ขณะที่เป้าหมายการลงทุนในอีอีซีอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท จึงจำเป็นต้องมีปัจจัยหนุน
ประเมินว่า 3 ปัจจัยแรงส่งที่จะเข้ามาสนับสนุนการลงทุนในเขตอีอีซี ช่วงปลายปีนี้ ได้แก่
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คาดว่าจะได้รับการต่ออายุรับสิทธิประโยชน์ถึงสิ้นปี 2563 โดยจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เพิ่มเติม 3 ปี ถ้าเป็นกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve), ตั้งอยู่ในพื้นที่อีอีซี, มีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท, มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัย และจะได้รับการลดหย่อนภาษีฯ เพิ่มเติม 5 ปี ถ้าเป็นกิจการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตส่งเสริมกิจการพิเศษ เช่น เขตนวัตกรรมอีอีซี (EECi) เขตนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เป็นต้น
แพ็คเกจเร่งรัดการลงทุนและรองรับการย้ายฐานการผลิต หรือไทยแลนด์ พลัส แพ็คเกจ ซึ่งปรับแบบมาจากมาตรการพิเศษเพื่อกระตุ้นการลงทุนในปีแห่งการลงทุน ประกอบด้วย 1.การให้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 5 ปี สำหรับโครงการที่มีเงินลงทุน 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564 โดยต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในปี 2563
2.การดำเนินงานของหน่วยงานในลักษณะ One Stop Service 3.การสนับสนุนการฝึกอบรมแรงงาน 4.การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ 5.การจัดหาพื้นที่ลงทุนที่เหมาะสม 6.การฟื้นการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียู และการเข้าร่วมกลุ่มซีพีทีพีพี และ 7.การกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการลงทุนด้านระบบอัตโนมัติ
ผังเมืองรวมอีอีซี ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ 6 พ.ย.62 ส่งผลให้ร่างผังเมืองอีอีซีจะถูกใช้เป็นกรอบรองรับการพัฒนาในพื้นที่ 20 ปี (พ.ศ.2560-2580) โดยจะมีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดิน ออกเป็นโซน และใช้สีเป็นสัญลักษณ์กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ สีแดง เป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรม เป็นย่านธุรกิจการค้าบริการ เช่น พัทยา ชลบุรี ศรีราชา อู่ตะเภา ระยอง,
สีส้ม แทนชุมชนเมือง เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหลักและแหล่งงาน, สีเหลือง รองรับการพัฒนาเมือง และสีน�้าตาล เป็นเขตอุตสาหกรรมและ นวัตกรรม เป็นต้น
ในช่วงที่ผ่านมา ภาคเอกชนอาจรอความชัดเจนจากอีอีซีในด้านต่างๆ แต่ในขณะนี้ร่างผังเมืองอีอีซีก็มีความพร้อมแล้วซึ่งจะช่วยเสริม ความแข็งแกร่งให้กับพื้นที่ ทำให้มีความชัดเจนเรื่องการใช้ประโยชน์ ที่ดิน อีกทั้งเป็นเครื่องยืนยันการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่เป็น หัวใจหลักของอีอีซี
ขณะที่มาตรการไทยแลนด์ พลัส แพ็คเกจ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจ นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการย้ายฐานการผลิตให้เข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสการเป็นห่วงโซ่อุปทานของไทยในตลาดโลก ตลอดจนมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีที่ให้สิทธิประโยชน์ ต่างๆ ก็จะเป็นมาตรการดึงดูดการลงทุนโดยตรงและส่งสัญญาณ ให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งคงต้อง ติดตามว่า 3 ปัจจัยแรงส่งนี้ จะช่วยหนุนการลงทุนภาคเอกชนในเขตอีอีซี ให้ไปถึงเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน