‘ญี่ปุ่น-จีน’ แข่งดุเทคโนโลยีจดจำใบหน้า

‘ญี่ปุ่น-จีน’ แข่งดุเทคโนโลยีจดจำใบหน้า

ขณะที่จีนเป็นประเทศที่เริ่มใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าเป็นแห่งแรกของโลก แต่บริษัทญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอย่างเอ็นอีซีก็พยายามพัฒนาเทคโนโลยีนี้ด้วยเช่นกัน เพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคทั้งภายในสนามบิน ร้านค้าและสวนสนุก

เทคโนโลยีจดจำใบหน้ากำลังหยั่งรากลึกในสังคมญี่ปุ่น ไล่ตั้งแต่ การช้อปปิง การทำธุรกรรมทางการเงินและการซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบิน สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้บริโภคในญี่ปุ่นสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินสดและไปไหนมาไหนไม่ต้องพกกระเป๋าเงิน ยกตัวอย่าง เมื่อเดินทางถึงสนามบินนานกิ-ชิราฮามา ทางตะวันตกของจังหวัดวะกะยะมะ จะได้รับการต้อนรับแต่ไม่ใช่จากกลุ่มแพนด้าที่มีแหล่งกำเนินในเมืองนี้จนโด่งดังไปทั่วแต่ได้รับการต้อนรับจากหน้าจอทีวีที่ปรากฏชื่อของบรรดาผู้มาเยือนทั้งชายและหญิง

นอกจากนี้ ผู้มาเยือนยังสามารถซื้อหมากฝรั่งที่ร้านค้าด้วยการสแกนใบหน้า รวมทั้งเข้าพักในโรงแรมโดยไม่ต้องใช้กุญแจ และเมื่อต้องการไปเที่ยวสวนสนุกเเพื่อชมความน่ารักของแพนด้า หรือชมการแสดงของโลมา ก็สามารถลงทะเบียนเที่ยวสวนสนุกล่วงหน้าได้ด้วยการสแกนใบหน้า

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทดลองใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าที่เอ็นอีซีนำมาใช้ที่ชิราฮามาเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชื่อดังของญี่ปุ่นรายนี้กำลังเดิมพัน ด้วยการผสมผสานระหว่างความสะดวกสบายและการสร้างหลักประกันว่าข้อมูลของผู้ใช้จะยังคงปลอดภัยแม้บริษัทจะใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าเข้ามาเป็นจุดขาย

157697405097

อย่างไรก็ตาม จีน ถือเป็นประเทศที่มีจุดแข็งในด้านนี้ โดยมีสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีจดจำใบหน้าที่แม่นยำที่สุดในโลก และจีนยังประกาศแผนก้าวเป็นผู้นำโลกด้านปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)ให้ได้ภายใน 2573 รวมไปถึงจริยธรรมของปัญญาประดิษฐ์ภายในปี 2563 ก็สร้างการตื่นตัวเฝ้าระวังไปทั้งโลก

นอกจากนี้ จีนยังออกกฏใหม่ให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปใบหน้าของตัวเองในการลงทะเบียนเพื่อเปิดบริการใหม่ ซึ่งการใช้ระบบจดจำใบหน้ามีผลบังคับใช้เมื่อต้นเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลจีนกล่าวว่า กฎใหม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ในการยืนยันอัตลักษณ์ของบุคคลเพื่อช่วยป้องกันการทุจริตต่างๆ

กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน ยังไม่ได้ระบุว่าบริษัทใดบ้างที่จะเป็นผู้ดำเนินการระบบจดจำใบหน้าให้แก่บรรดาบริษัทโทรคมนาคม

ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการเปิดบริการโทรศัพท์มือถือใหม่ทุกคนจะต้องถูกถ่ายรูปเก็บไว้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ากฎหมายใหม่นี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือที่มีอยู่แต่เดิมแล้วอย่างไรบ้าง ซึ่งการใช้ระบบจดจำใบหน้าในการเปิดบริการโทรศัพท์มือถือใหม่นี้ ยังเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีนี้ในจีน ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นตามร้านค้า ในระบบรถไฟใต้ดิน และสนามบิน

มอร์ดอร์ อินเทลลิเจนซ์ บริษัทวิจัยของอินเดีย คาดการณ์ว่า ตลาดจดจำใบหน้าทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสองเท่าตั้งแต่ปี2561 ถึง2547 คิดเป็นมูลค่ารวม 9.1 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่มีการใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลายในทุกวงการ รวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมการเงิน อุตสาหกรรมการบริการทางการแพทย์

นครซานฟรานซิสโก เป็นเมืองแรกในสหรัฐที่ออกกฎหมายห้ามไม่ให้ตำรวจและหน่วยงานของรัฐใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า โดยผู้ที่สนับสนุนมาตรการนี้ ให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีนี้เป็นภัยคุกคามเสรีภาพของประชาชน

“เนธาน เชียร์ด” ผู้จัดกิจกรรมรณรงค์ระดับรากหญ้า ของมูลนิธิอิเล็กทรอนิกส์ ฟรอนเทียร์ ฟาวเดชัน กล่าวว่า เทคโนโลยีนี้ทำให้หลายคนกังวลเรื่องผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออก

“ด้วยเหตุที่เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐสามารถติดตามพลเมืองได้ อาจจะมีผลกระทบต่อสิทธิในการแสดงออกของประชาชน ตามบทบัญญัติเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้หลายคนกังวลใจมาก” เชียร์ด กล่าว

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ซานฟรานซิสโก ออกกฎหมายห้ามใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ในจีน กลับมีการเอาไปใช้งานด้านความมั่นคงในประเทศอย่างแพร่หลาย ถึงขนาดมีการเอาไปใช้ในการแจกจ่ายกระดาษชำระในห้องน้ำสาธารณะ

157697403765

เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ไม่ใช่เทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ แต่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี กลับเป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาต่อยอดให้ก้าวหน้าล้ำลึกไปมาก

บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของของสหรัฐอย่าง แอ๊ปเปิ้ล ก็เป็นบริษัทหนึ่งที่นำเอาเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามาใช้เป็นกลไกในการปลดล็อคโทรศัพท์ไอโฟนรุ่นล่าสุด และบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่างอเมซอน็ใช้เทคโนโลยีนี้เช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ถือหุ้นของอเมซอนเคยมีการลงมติเพื่อจำกัดการใช้เทคโนโลยีนี้แต่ก็ทำไม่สำเร็จทั้งสองครั้ง