'พาณิชย์' เปิดแผนส่งออกปี 63 หวังพยุงเศรษฐกิจไทยพ้นปากเหว

'พาณิชย์' เปิดแผนส่งออกปี 63 หวังพยุงเศรษฐกิจไทยพ้นปากเหว

การส่งออกปี 2562 ที่คาดว่าจะติดลบนับเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เกิดปัญหาการตกลง และอื่นๆตามมา จึงกลายเป็นแรงกดดันในปี 2563 ที่ต้องผลักดันให้ส่งออกเติบโตได้เพื่อฉุดเศรษฐกิจรวมของประเทศให้ "พ้นปาก" เพราะจีดีพีของไทยมาจากการส่งออกถึง70%

คำพูดที่่ว่าส่งออกไม่ดี เศรษฐกิจก็จะแย่ตาม สามารถอธิบายความได้ด้วยสัดส่วนจีดีพีประเทศที่มาจากกาารส่งออกสูงถึง 70%  ดังนั้น สถานการณ์ส่งออกเมื่อปี 2562 ที่เป็นตัวฉุดเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจนขยายตัวไม่ได้อย่างที่คาด ทำให้ปี2563 นี้ การส่งออกต้องถูกจับตามมองอย่างใกล้ชิด
จากการติดลบครั้งแรกในรอบ 4 ปี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเมินได้ว่าการส่งออกปี 2563 จะสามารถกลับมาเป็นบวกได้เนื่องจากฐานเปรียบเทียบต่ำ แต่“กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ” ไม่ได้มองแค่ส่งออกโตเป็นบวกแต่ต้องโตอย่างมีเสถียรภาพผ่านการปรับโครงสร้างการส่งออกในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ด้วย
สมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยในฐานะหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ผลักดันการส่งออกของประเทศ ว่า  ปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกปี 2563 ได้แก่ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก รวมถึงสถานการณ์ความเสี่ยงใน 157805207621 ประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น การประท้วงในฮ่องกง สงครามการค้าสหรัฐ-จีน และความไม่แน่นอนสถานการณ์การแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป หรือเบร็กซิท
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเงินบาทแข็งค่า ปัจจัยมาตรการกีดกันทางทางการค้าของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และการที่เวียดนามบรรลุข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ)กับสหภาพยุโรป
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ พื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของภาคเอกชนและการปรับตัวของผู้ประกอบการในการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลมาช่วงในการประกอบธุรกิจ
“ผมเชื่อมั่นใจการตลาด และการหยิบเอาเทคโนโลยีมาใช้ เป็นกลยุทธ์เพื่อทำให้การส่งออกปี2563 มีทิศทางที่สดใส และที่สำคัญที่สุดคือโครงสร้างการส่งออกของไทยต้องแข็งแกร่งมาจากข้างใน”

การส่งออกในภาวะที่มีความผันผวนของสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าเช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องมีคือความเร็วและทักษะทางการค้า เพราะในภาวะความเปลี่ยนแปลงย่อมต้องมีช่องว่างหรือโอกาสสำหรับสินค้าไทย
ขอยกตัวอย่าง กรณีเบร็กซิทที่ช่วงรอยต่อการออกจากยุโรปนั้น อังกฤษจะยกภาษีสินค้าสำคัญๆ จึงควรใช้โอกาสนี้เข้าไปทำตลาดช่วงชิงผู้บริโภคมาเป็นของไทยก่อน และหลังจากกระบวนการเบร็กซิทจบสิ้น แม้การเก็บภาษีจะกลับมาแต่ผู้บริโภคคุ้นชินต่อสินค้าไทยแล้ว
สำหรับกรณีเบร็กซิทถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับไทย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเร่งเดินหน้าส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าระดับทวิภาคีกับทั้งสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือทางการค้าโดยเร็ว รวมถึงกรมฯจะยังเดินทางไปส่งเสริมการส่งออก ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่างๆ
นอกจาก กลยุทธ์ด้านการตลาดแล้ว มีแผนที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นต้นเหตุของการทรานส์ฟอร์มในโลกธุรกิจการค้ามาปรับใช้กับแผนการผลักดันการส่งออก ทั้งในมุมการเป็นผู้ให้ข้อมูลต่างที่จำเป็นต่อผู้ประกอบการ ขณะนี้เตรียมปรับแอพพลิเคชั่นให้สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์มากขึ้น เป็นประโยชน์ให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้
ด้านตัวผู้ประกอบการ ก็จะเสริมทักษะด้านดิจิทัลเทคโนโลยีให้นำไปปรับใช้กับภาคธุรกิจ โดยปี 2562 ที่ผ่านมา กรมได้พัฒนาผู้ประกอบการผ่านการฝึกอบรม รวม 75,706 ราย และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการรวมจำนวน 160 กิจกรรม
“ช่องทางการตลาดเป็นสิ่งสำคัญสินค้าเราดีแต่ไปไม่ถูกช่องก็ไม่ได้อะไร ตอนนี้คนอยู่ในโลกออนไลน์ สินค้เราก็ต้องไปอยู่ที่นั่นด้วย กลยุทธ์ปี 2563 จึงกำหนดแผนการขยายช่องทางการตลาดออนไลน์เข้าไว้ด้วย”
กิจกรรมหนึ่งที่กำหนดวไว้คือการทำออนไลน์ในรายตลาดที่สำคัญ ได้แก่ขยายร้าน TOPTHAI Flagship Store เพิ่มเติม บนแพลตฟอร์มในตลาดเป้าหมาย เช่น Bigbasket สำหรับตลาดอินเดีย Amazon.com สำหรับตลาดสหรัฐ Amazon.jp สำหรับตลาดญี่ปุ่น และ Presto Mall ของมาเลเซีย เป็นต้น
เพื่อประเมินการส่งออกอย่างใกล้ชิดในภาวะสถานการณ์ผันผวนนี้ กรมจะนัดประชุมภาคเอกชนทุกเดือนตลอดช่วงปี 2563 จากการหารือเบื้องต้นพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้ยกปัญหาทรานส์ฟอร์มเทคโนโลยีทำให้สินค้าที่ส่งออกมีราคาถูกลง แม้จะส่งออกในปริมาณเท่าเดิมก็ตาม
ด้านสถานการณ์รายตลาดพบว่า ปี 2563 ตลาดสหรัฐและจีน มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง โดยสหรัฐคาดว่าจะชะลอตัวแรงอันเนื่องมาจากแรงกดดันจากความไม่แน่นอนจากมาตรการกีดกันทางการค้าซึ่งจะยังส่งผลต่อภาคการผลิต การส่งออก และการลงทุน รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในพ.ย. 2563
ขณะที่ตลาดจีน มีแนวโน้มชะลอตัวเช่นกัน จากข้อพิพาททางการค้าและการชะลอของเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างพิจารณาศึกษาการจัดทำเอฟทีเอรายมณฑลกับจีน
ด้านตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัว ได้แก่ อาเซียน ซึ่งได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศอันเป็นผลจากมาตรการกีดกันทางการค้า ตลาดอินเดีย จากนโยบายพึ่งพากำลังซื้อในประเทศมากขึ้น
ตลาดญี่ปุ่น จากปัจจัยการขยายตัวของการลงทุนที่มาจากการปรับตัวของภาคธุรกิจต่อมาตรการกีดกันทางการค้า และผลจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป(EPA)
157805219222

ในส่วนปัจจัยแวดล้อมอื่นที่ยังเป็นห่วงได้แก่ เงินบาทแข็งค่า แม้กรมจะไม่สามารถดำเนินการทางตรงได้ แต่จะเน้นการให้ความรู้และแสวงหาช่องทางลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการให้ได้มากที่สุด  ผ่านการประสานความร่วมมือเพื่อลดผลกระทบตามแผนดังกล่าว 

สำหรับแผนงานที่สำคัญปี 2563  แบ่งเป็น 1. ด้านการพัฒนาผู้ประกอบการ ประกอบด้วย การเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ  เช่น ผู้สูงอายุ กลุ่ม Start up กลุ่มชาติพันธุ์ และ Niche  นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงเนื้อหาและเวลาการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้ความเป้าหมายที่หลากหลาย เน้นลักษณะ Tailoe-Made  ,การพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างหลักสูตรระหว่าง สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA กับสถาบันการศึกษาที่ต่อไปการเข้าอบรมจะสามารถนำไปคำนวนเป็นหน่วยกิจเพื่อจบการศึกษาได้ ,การพัฒนาหลักสูตรสร้างผู้ช่วยขายออนไลน์ ร่วมกับสถาบันปัญญาพิวัฒน์เพื่อสร้างนักค้าออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการ 

2.ด้านพัฒนาสินค้า/ธุรกิจบริการ ประกอบด้วย การสร้างแบรนด์ประเทศไทยผ่านตราสัญลักษณ์รับรองคุณภาพต่างๆ ได้แก่ TMark/Demark/PM-Award/Thai Select/Elma อย่างต่อเนื่อง ,การบ่มเพาะแบนด์ไทย รุกตลาด Luxury-Premiumในตลาดเป้าหมาย ได้แก่ จีน อินเดีย อาเซียน โดยจัดกิจกรรมจัดบู่ธุรกิจ และพัฒนาช่องทางการขายในรูปแบยบออนไลน์ 

157805221963 ประกอบด้วย  คณะผู้แทนการค้าเดินทางไปเจาะขยายตลาด ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ สหภาพยุโรป ตลาดใหม่ ได้แก่ ตุรกี ศรีลังกา บังคลาเทศ แอฟริกาใต้ ตลาดฟื้นฟู ได้แก่  ตะวันออกกลาง เน้นอิรัก/บาห์เรน ตลาดชายแดน ได้แก่ อาเซียน CLMV  

"รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ มีกำหนดเดินทางเยือนต่างประเทศในฐานะเชลส์แมนประเทศ ตัั้งแต่ ม.ค. -พ.ค. 2563 ทั้งอินเดีย กัมพูชา  ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง จีน ฮ่องกง"

จากแผนการทำงานและยุทธศาสตร์การส่งออกปี 2563 ที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กำหนดไว้พอจะเห็นทิศทางการส่งออกปีนี้ น่าจะมีแนวโน้มสดใส ที่ไม่ใช่แค่ความสดใสแบบฉาบฉวยแต่หมายถึงการส่งออกที่ต้องลงลึกสู่เศรษฐกิจไทย ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน และจากนี้ไปก็หวังว่า ภูมิต้านทานส่งออกไทยจะต้องแข็งแกร่งพร้อมรับมือกับกับความผันผวนที่เกิดขึ้นในโลก และต้องไม่ใช่ต้นเหตุพาเศรษฐกิจประเทศสู่ปากเหวอีก