สิทธิ์ที่จะ 'ท้อง' หรือ 'แท้ง' สปีชทรงพลังจาก มิเชล วิลเลียมส์ บนเวทีลูกโลกทองคำ
เปิดเบื้องหลังสปีชทรงพลังจาก "มิเชล วิลเลียมส์" ซึ่งตั้งคำถามถึง "สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์" ที่จะสมบูรณ์แบบได้อย่างไร ในเมื่อแม้กระทั่งมดลูกของตัวเองยังไม่สิทธิตัดสินใจ!
“I've tried my very best to live a life of my own making... I wouldn't have been able to do this without employing a woman's right to choose” Michelle Williams 2020 Golden Globe Awards
ฉันพยายามอย่างดีที่สุดที่จะใช้ชีวิตในแบบตัวเอง แต่ฉันไม่สามารถทำได้โดยที่ไม่อ้างหลักสิทธิสตรี
สุนทรพจน์ของ มิเชล วิลเลียมส์ (Michelle Williams) นักแสดงเจ้าของรางวัลนักแสดงนำหญิงซีรีส์เรื่อง Fosse/Verdon บนเวที 2020 Golden Globe Awards วันที่ 6 มกราคม 2563 กลายเป็นคำพูดที่สำนักข่าว CNN ยกให้เป็นไฮไลท์ประจำงานลูกโลกทองคำในปีนี้
สำหรับคำแปลไทยนั้นบางคนอาจจะเกิดอาการงงๆ ว่า การใช้ชีวิตในแบบของตนเองเกี่ยวอะไรกับการอ้างสิทธิสตรี แต่ถ้าใส่คำว่า การท้อง หรือทำแท้งลงในประโยค ความหมายทั้งหมดก็จะสมบูรณ์ตามนัยที่เธอต้องการจะสื่อ
ฉันพยายามอย่างดีที่สุดที่จะใช้ชีวิตในแบบตัวเองอย่างการ "ท้อง" หรือ "แท้ง" แต่ฉันไม่สามารถทำได้โดยที่ไม่อ้างหลักสิทธิสตรี
- สิทธิการใช้ชีวิตให้เป็นตัวเองอย่างมีความสุข
ปัญหาเรื่องการท้อง และแท้งเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จนเกิดการเรียกร้องให้มี กฎหมายการทำแท้ง (Abortion Rights) ในหลายๆ ประเทศ แต่สำนักข่าวบีบีซีนั้นใช้คำว่า Reproductive rights แทนคำว่า Abortion Rights ในข่าวสุนทรพจน์ของ มิเชล วิลเลียมส์
ความหมายของ Reproductive rights คืออะไร?
บรรณาธิการเว็บไซต์ FindLaw อธิบายว่า Reproductive rights หรือแปลเป็นไทยว่า "สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์" เป็นสิทธิมนุษยชน 12 ด้าน ที่นำไปสู่การมีสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดี ซึ่งสิทธิที่ถูกระบุไว้แล้วในกฎหมายและข้อตกลงต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ
เรียกง่ายๆ ว่า เป็นสิทธิแห่งการใช้ชีวิตรวมถึงสิทธิ์ของบุคคลในการวางแผนครอบครัวยุติการตั้งครรภ์ ใช้ยาคุมกำเนิด เรียนรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาในโรงเรียนและเข้าถึงบริการอนามัยได้อย่างครบถ้วน
คําว่า “สุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์” หรือ “อนามัยการเจริญพันธุ์” ไม่ใช่เป็นคําใหม่ หรือเรื่องใหม่ แต่เป็นคําที่มีใช้ในวงการแพทย์และสาธารณสุขนานแล้ว ในปี 2537 มีการประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่องประชากรและการพัฒนา (International Conference on Population and Development หรือ ICPD) ซึ่งเป็นการประชุมประชากรโลกครั้งล่าสุด ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ได้มีการหยิบยกเอาเรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ขึ้นมาเป็นหัวข้อสําคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกนําไปพิจารณาดําเนินการตามมติของที่ประชุมเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาประชากร
ดังนั้นแล้วสรุปได้ว่า Reproductive rights ถือเป็นสิทธิที่รวมครอบคลุมไปถึงการเกิด การคุมกำเนิด ความสัมพันธ์ในครอบครัว และ การเลี้ยงเด็ก
- ปัญหาการของการเกิด และการยุติการแท้ง
ในเมื่อเรามี Reproductive rights กันแล้ว.. แล้วทำไม "มิเชล วิลเลียมส์" ถึงเรียกร้องและกล่าวนัยสุนทรพจน์ที่เกี่ยวกับสิทธิสตรีและ Reproductive rights อยู่อีก?
ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะกฎหมายทำแท้งที่เป็นหนึ่งในข้อตกลงของ Reproductive rights นั้น ในบางประเทศยังถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกากลับออกกฎหมายต้านการทำแท้ง โดยในปี 2019 เพียงปีเดียวก็มีการผ่านกฎหมายที่มีเนื้อหาต่อต้านการทำแท้งแล้วถึง 7 รัฐ ได้แก่ รัฐมิสซิสซิปปี เคนทักกี มิสซูรี จอร์เจีย โอไฮโอ แอละแบมา และลุยเซียนา แม้ในบางรัฐจะมีการระงับการบังคับใช้โดยศาลรัฐบาลกลางก็ตาม
"ไม่มีใครควรจะถูกบังคับให้ตั้งครรภ์เมื่อไม่ต้องการ และตอนนี้สิทธิขั้นพื้นฐานที่สุดที่จะตัดสินในกำลังถูกคุกคาม” ผู้ประท้วงต่อต้านกฎหมายต่อต้านการทำแท้งรายหนึ่งกล่าวกับสำนักข่าวเอนวายไทม์ (NYTime)
ถ้าหากการทำแท้งยังเป็นเรื่องคลุมเครือดังนั้นแล้ว Reproductive rights จะสมบูรณ์แบบได้อย่างไร เพราะในเมื่อมดลูกของเธอนั้นยังไม่สิทธิตัดสินใจ ดังที่ มิเชล วิลเลียมส์ กล่าว
"I've tried my very best to live a life of my own making, and not just a series of events that happened to me. But one that I could stand back and look at and recognize my handwriting all over. Sometimes messy and scrawling, sometimes careful and precise. But one that I had carved with my own hand. And I wouldn't have been able to do this without employing a woman's right to choose.”
-------------------
อ้างอิง