3 ทริค เปลี่ยนคนเก็บเงินไม่อยู่ สู่ความมั่งคั่ง

3 ทริค เปลี่ยนคนเก็บเงินไม่อยู่ สู่ความมั่งคั่ง

เปิด 3 ทริคเก็บเงิน สำหรับคนเก็บเงินไม่อยู่ ให้เข้าใกล้เส้นทางความมั่งคั่งมากกว่าที่เคย

ข้อมูลสถิติการออมเงินของคนไทย จากสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ เดือนธันวาคม ปี 2562 พบว่า คนไทยกว่า 56.04% มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ แต่มีเงินในบัญชีน้อย โดยครึ่งหนึ่งของผู้ฝากมีเงินในบัญชีไม่ถึง 3,142 บาท เรายังพบว่า 32.8% ของผู้ฝาก หรือ 12.2 ล้านคน มีเงินในบัญชีไม่เกิน 500 บาท ซึ่งในจำนวนนั้นมีผู้ฝากถึง 4.7 ล้านคนที่มีเงินในบัญชีไม่ถึง 50 บาท ขณะเดียวกันมีเพียง 0.2% ของผู้ฝากที่มีเงินในบัญชีมากกว่า 10 ล้านบาท ทั้งยังพบว่ากลุ่มที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุดคือกลุ่มวัยเริ่มทำงาน มีน้อยในกลุ่มวัยเด็ก และมีเกือบครึ่งในกลุ่มวัยหลังเกษียณ

ตัวเลขนี้สะท้อนว่าการออมของคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถไปถึงเป้าหมายทางการเงินที่ควรจะมี ด้วยหลายสาเหตุ  แต่หากมองเฉพาะปัจจัยภายในของประชาชนเองสามารถเริ่มต้นได้จากหลายมิติ   

157959808819

 

  • ทริคที่ 1 : ปรับทัศนคติ

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่เก็บเงินไม่อยู่ เพราะไม่มีแรงผลักดัน หรือไม่มีจุดเปลี่ยนในชีวิต ที่ทำให้เห็นความสำคัญของการออม” และทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น

การเริ่มต้นการออมจึงต้องเริ่มตั้งแต่ความคิดที่ต้องเห็นความสำคัญของการออม จึงจะนำไปสู่ความมุ่งมั่นเพื่อไปถึงเป้าหมายทางการเงินของตัวเองให้ได้ โดยเริ่มต้นปรับที่แนวคิด เช่น 

ใช้ยังไม่พอ จะเอาที่ไหนไปออม คำถามที่ทำให้การออมเป็นไปไม่ได้ตั้งแต่ครั้งแรก แต่ในความเป็นจริง การออมสามารถเกิดขึ้นได้

คำว่าใช้ไม่พอสะท้อน 2 เรื่องที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม คือใช้จ่ายมากเกินรายได้อยู่หรือไม่ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นได้มากน้อยแค่ไหน หรืออีกมุมหนึ่งคือรายได้น้อย ไม่เพียงพอกับการใช้ชีวิต ควรหารายได้จากทางอื่นๆ เพิ่มเติมเพิ่มเติมหรือไม่  

ออมเพื่ออะไร ตายไปก็ไม่ได้ใช้ตัวอย่างทัศนคติข้างต้น ไม่เพียงแต่ทำให้ออมเงินไม่สำเร็จ แต่ยากที่จะนำไปสู่การเริ่มต้นการออมได้เลย การตั้งเป้าหมายการออมไม่ใช่แค่เพื่อมีความมั่งคั่ง แต่เป็นการวางแผนไว้ใช้ปั้นปลายชีวิต เพราะสิ่งที่น่ากังวลกว่าตายแล้ว ใช้เงินไม่หมดคือเงินหมดแล้ว ยังไม่ตาย"

คำว่าใช้ไม่พอสะท้อน 2 เรื่องที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม
คือ ใช้จ่ายมากเกินรายได้อยู่หรือไม่
ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นได้มากน้อยแค่ไหน
หรืออีกมุมหนึ่งคือรายได้น้อย ไม่เพียงพอกับการใช้ชีวิต
ควรหารายได้จากทางอื่นๆ เพิ่มเติมเพิ่มเติมหรือไม่

การปรับมุมมอง ณ ที่นี้ การออม ที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินจำนวนมาก แต่อาศัยวินัยในการเก็บอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นตามรายได้ หรือปรับตามเป้าหมายทางการเงินของตัวเอง โดยควรมีเงินออมสำรองสำหรับใช้จ่ายในยามฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน

157959808731

สำหรับคนที่มีทัศนคตที่ดีกับการออม อยากออม หรือพยายามจะเก็บออมแล้ว แต่ยังทำไม่สำเร็จด้วยประการทั้งปวง ลองใช้ช่องทางเหล่านี้เป็นทางเลือกในการออมเพื่อช่วยให้สามารถเก็บเงินอยู่มากขึ้น 


อ่านข่าว-เงินเย็น 1,000 บาท ลงทุนอะไรได้บ้าง

  • ทริคที่ 2 : เก็บก่อนใช้

เก็บก่อนใช้ประตูบานสำคัญที่จะเป็นจุดเปลี่ยนพฤติกรรมคนที่เก็บเงินไม่อยู่ได้ เพราะที่ผ่านมากหวังจะเก็บเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย แต่ความเป็นจริง สมการที่ควรจะเกิดขึ้นคือรายได้-เงินออม = รายจ่ายธรรมดาของคนส่วนใหญ่คือ มีเท่าไหร่ใช้เท่านั้น การปรับมาเก็บก่อนใช้ คือรูปแบบการเก็บเงินที่ทำให้มีโอกาสเก็บเงินได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม การเก็บก่อนใช้ จะต้องมีกฎว่าห้ามยุ่งกับเงินก้อนนี้เป็นอันขาด เว้นแต่เกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้เท่านั้น (ตั้งใจเก็บเงินก้อนนี้เผื่อสถานการณ์ฉุกเฉิน แล้วมีสถานการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น)

สัดส่วนการเก็บที่ยืดหยุ่นทำได้ทั้งกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำ และกลุ่มอาชีพอิสระ คือการหักเงินสำหรับเก็บทันที 10-20% หลังจากได้รับรายได้ หรือลดหลั่นตามกำลังที่สามารถจัดสรรได้ แต่ทำอย่างสม่ำเสมอ

ส่วนจะเก็บไว้ที่ไหนดี ถึงจะเอาอยู่? มีหลากหลากหลายช่องทาง ที่สามารถเลือกได้ตามความสะดวกของแต่ละคน 

การเก็บก่อนใช้ จะต้องมีกฎว่าห้ามยุ่งกับเงินก้อนนี้เป็นอันขาด
เว้นแต่เกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ที่ตั้งเป้าหมายไว้เท่านั้น

157959808960

  • ทริคที่ 3 : เก็บเงินในที่ที่เอาออกยากๆ

ยกตัวอย่างเช่น

- บัญชีออมทรัพย์ปิดตาย ไม่มีบัตร ไม่มี e-banking ยังคงเป็นการเก็บเงินสุดคลาสสิกที่เป็นทางเลือกสำหรับคนที่เริ่มต้นการออม ที่ช่วยหักห้ามการถอนมาใช้ได้ในระดับหนึ่ง และสามารถสะสมเงินง่ายๆ เพียงโอนเข้าไว้ในบัญชีนั้นๆ ทุกเดือน

- บัญชีฝากประจำ บัญชีฝากประจำของแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขในการฝากเงินเป็นประจำสม่ำเสมอ ที่ช่วยให้ไม่เผลอเอาเงินออกมาใช้ และมีผลตอบแทนที่ขยับขึ้นมาจากการฝากออมทรัพย์ธรรมดาเล็กน้อย โดยดอกเบี้ยเฉลี่ยของบัญชีเงินฝากประจำตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทฝากประจำ 3 เดือน เฉลี่ย 1.2-1.5% ประเภทฝากประจำ 24 เดือน เฉลี่ย 0.7-2.0% ฯลฯ ขณะที่ดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ เฉลี่ยอยู่ที่ 0.1-1.1% อย่างไรก็ดี ต้องดูรายละเอียดการฝากประจำ (บางประเภท) ที่จะมีการเรียกเก็บภาษี และปลอดภาษีเพื่อบริหารให้เหมาะกับเป้าหมายของตัวเองด้วย

157959842243

- ซื้อสลากออมทรัพย์ การซื้อสลากออมทรัพย์เป็นอีกหนึ่งช่องทางเก็บเงินที่ไม่มีความเสี่ยง และเอาเงินออกมาใช้ยากกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป เนื่องจากมีช่วงเวลากำหนดตามลักษณะของสลากออมทรัพย์แต่ละประเภท เช่น 1 ปี 5 ปี ที่หากขอถอนเงินออกก่อนกำหนดจะไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มโอกาสถูกรางวัลพิเศษต่างๆ สำหรับคนชอบลุ้นอีกด้วย

- เก็บสะสมในกองทุนรวม ความเสี่ยงระดับต่ำถึงปานกลาง (ระดับ 1-4) ที่เน้นการลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ พันธบัตร ฯลฯ โดยใช้วิธีตัดจากบัญชีธนาคารแบบอัตโนมัติเพื่อลงทุนกองทุนรวม การเก็บเงินลักษณะนี้ถือเป็นการลงทุนที่ต้องทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะสูญเงินต้น อย่างไรก็ดีผลพลอยได้ที่จะเกิดขึ้นคือจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนตามความเสี่ยงของกองทุนรวมเฉลี่ยราว 2-4% (ขึ้นอยู่กับแต่ละกองทุน และปัจจัยตลาด) มากกว่าการฝากออมทรัพย์แบบปกติ 

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการออมเงินเพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉินแล้ว ยังมีมิติอื่นๆ ที่ช่วยให้เงินทำงานได้ เช่นการลงทุนในมิติต่างๆ ที่ตัวเองสนใจและเข้า ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นในอนาคตได้