6 กฎหมายใหม่ เริ่มใช้ในปี 63

เปิด 6 กฎหมายใหม่ ที่จะเริ่มใช้ในปี 2563 มีอะไรบ้าง? และเกี่ยวข้องกับใคร?

ฉบับก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึง FinTech Trend ในปี 2020 ซึ่งนอกจาก Trend ในเรื่องเทคโนโลยีทางการเงินแล้ว ในส่วนของกฎหมายเอง ก็มีกฎหมายจำนวนไม่น้อยที่จะเริ่มทยอยมีผลใช้บังคับในปีนี้

158081602962

ฉบับแรก กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กฎหมายฉบับนี้แม้จะให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 63 แต่ปัจจุบันได้มีการเลื่อนกำหนดการจัดเก็บภาษีจากประชาชนที่ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยกำหนดให้ประชาชนเสียภาษีดังกล่าวภายในวันที่ 31 ส.ค. 63 แทน

นอกจากนี้ กำหนดการต่างๆ ตามกฎหมายได้ถูกเลื่อนออกไปอีก 4 เดือนด้วยเช่นกัน เช่น การจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกาศและจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ผู้เสียภาษีแต่ละรายทราบ จากกำหนดการเดิมต้องแล้วเสร็จในเดือน พ.ย 62 เป็น มี.ค. 63 และการแจ้งประเมินภาษี (โดยการส่งแบบประเมินภาษี) ให้แก่ผู้เสียภาษี จากกำหนดการเดิมในเดือน ก.พ. 63 เป็น มิ.ย. 63 เป็นต้น

ฉบับที่ มาตรการส่งเสริมการออมระยะยาว ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF) (กองทุน SSF) และการปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) (กองทุน RMF)

โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกองทุน SFF นี้มีความแตกต่างจาก LTF ที่หมดอายุไปในปี 62 ตรงที่บุคคลธรรมดาสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึ่งประเมิน (แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท) และจะต้องถือหน่วยลงทุนไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อนำไปรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุประเภทอื่นๆ (RMF, PVD หรือ กบข.) แล้วจะต้องไม่เกิน 5 แสนบาท

นอกจากนี้ สำหรับกองทุน RMF ได้มีการปรับเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นเป็น 30% (จากเดิม 15%) ในวงเงิน 5 แสนบาท รวมถึงได้มีการยกเลิกการกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อ RMF จากเดิมที่กำหนดให้ซื้อได้ไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ เพื่อช่วยให้ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางสามารถเข้าซื้อ RMF ได้เพิ่มขึ้น

ฉบับที่ ภาษี e-Payment หรือเกณฑ์ในการกำหนดให้สถาบันการเงิน (ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์) รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมเฉพาะ ได้แก่ 1) การฝาก/รับโอนเงิน (รวมกันทุกช่องทาง เช่น เคาท์เตอร์ธนาคาร ตู้ ATM และ Internet Baking) ทุกบัญชีรวมกัน ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร ไม่ว่ายอดเงินจำนวนเท่าใด หรือ 2) กรณีมีการฝาก/รับโอนเงิน ทุกบัญชีรวมกัน ตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร และมียอดเงินรวมกันเกิน ล้านบาท ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่สถาบันการเงินได้เก็บรวบรวมไว้ตั้งแต่ มี.ค. 62 และจะเริ่มส่งให้กรมสรรพากรครั้งแรกในวันที่ 31 มี.ค. 63

ฉบับที่ กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ปรับลดวงเงินคุ้มครองลงเหลือ ล้านบาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 63 เป็นต้นไป ซึ่งการคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายฉบับนี้ อันได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีเหตุให้ต้องปิดกิจการ ผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงินดังกล่าวจะได้ความคุ้มครองเงินฝากในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท

ฉบับที่ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้มีการประกาศใช้ในวันที่ 27 พ.ค. 62 โดยกฎหมาย ได้กำหนดให้บางส่วนของกฎหมายมีผลบังคับใช้ทันที ได้แก่ หมวดที่เกี่ยวกับคณะกรรมการและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงบทเฉพาะกาลในบางส่วน อย่างไรก็ดี ส่วนที่เหลือของกฎหมาย เช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิของเจ้าของข้อมูล การร้องเรียน และหมวดการรับผิดต่างๆ จะให้มีผลเมื่อครบ 1 ปีหลังจากที่กฎหมายประกาศใช้ หรือในวันที่ 28 พ.ค. 63

ซึ่งในหลักการระหว่างที่ในบางหมวดของกฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้นั้น ข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ที่ได้เก็บและรวบรวมไว้ก่อนหน้า กฎหมายให้เก็บไว้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้ โดยเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว (28/5/63) จะต้องมีการเผยแพร่และกำหนดวิธีการให้เจ้าของข้อมูลสามารถยกเลิกความยินยอม หรือแจ้งความประสงค์ในการไม่ให้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไว้ต่อไปได้

ฉบับที่ พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้แม้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ พ.ย. 62 แต่ในปี 63 นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในภารกิจใหม่ของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่มีหน้าที่สำรวจความจำเป็น ประสิทธิภาพ รวมถึงความเป็นปัจจุบันของกฎหมายเดิมที่มีอยู่ เพื่อพิจารณายกเลิกหรือแก้ไขเพื่อช่วยให้กฎหมายมีความทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ หากมีการออกกฎหมายใหม่ ภาครัฐมีหน้าที่รับฟังความคิดเห็น วิเคราะห์ผลกระทบ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในการร่างกฎหมายใหม่ทุกครั้ง โดยกฎหมายทุกฉบับที่ภาครัฐจะออกนับจากนี้ จะต้องมีการประเมินผลการบังคับใช้ทุกๆ รอบระยะเวลา 5 ปีนับจากวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับเพื่อประเมินว่าการบังคับใช้กฎหมาย

ฉบับดังกล่าวตรงตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด และคุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นกับภาครัฐและประชาชนหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการมีกฎหมายเท่าที่จำเป็นและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

นอกจากกฎหมายที่ผู้เขียนได้เล่ามาในข้างต้น ยังมีประเด็นเรื่องเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่างๆ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพึงต้องศึกษาควบคู่กันไป เช่น มาตรฐานการรายงานทางเงิน IFRS 16 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงินเรื่องการเช่า ที่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ใน ม.ค. 63 นี้ด้วย เป็นต้น

ท้ายที่สุด เพียงแค่เดือนแรกของปี 63 ได้มีเรื่องราวเกิดขึ้นในโลกมากมาย และกฎหมายหลายฉบับที่ผู้เขียนได้กล่าวในข้าวต้นก็ยังไม่ได้ใช้บังคับอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น ในอีก 11 เดือนที่เหลือ ขอให้ทุกท่านเข้มแข็ง พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้

[บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน]