‘แรงงาน’ ปรับตัวให้รอดวิกฤติ 'COVID-19'

‘แรงงาน’ ปรับตัวให้รอดวิกฤติ 'COVID-19'

ส่องผลกระทบ “โควิด-19” ที่ไม่เพียงเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คน หรือ กระทบกับระบบเศรษฐกิจของโลกเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงบรรดา "แรงงาน" ตัวเล็กตัวน้อยในระบบ ที่ต้องหาทางเอาตัวรอดจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้

“ไวรัสโคโรน่า” หรือ “โควิด-19” ที่กำลังส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจที่ชะลอตัวซึ่งส่งผลให้ กิจกรรมธุรกิจขนาดใหญ่ต่างพากันหยุดชะงัก และสั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้คน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่มีรายงานประเมินว่า มีคนเอเชียราว 60% กังวลถึงผลกระทบของไวรัสจะคุกคาม “ความมั่นคงทางการเงิน” ของพวกเขาขณะที่ 1 ใน 3 หรือ 34% กลัวว่า โควิด-19อาจฉุดเศรษฐกิจเข้าใกล้ภาวะ “ถดถอย” ยังไม่นับเรื่องความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาจากภาครัฐที่ต่ำลงอย่างมากในประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ หรือเสี่ยงติดเชื้อ

สำหรับประเทศไทยเองที่ การท่องเที่ยว และการส่งออกถือเป็น 2 ฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยค้ำจุนเศรษฐกิจ ต่างก็ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ที่เห็นได้ชัดเจนจากการหายไปของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา รวมทั้ง แรงงานที่หมุนเวียนอยู่ในกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็น พนักงานประจำ ลูกจ้างพาร์ทไทม์ หรืออาชีพอิสระ ล้วนตกอยู่ในสถานการณ์หมิ่นเหม่ด้วยกันทั้งสิ้น 

158329880678

 

นั่นหมายถึง แรงงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวอยู่ในระบบ 3.2 ล้านคน และนอกระบบอีก 7 ล้านคน ยังไม่นับ นักศึกษาจบใหม่ที่จะทยอยเข้ามาในระบบแรงงานเพิ่มเติมช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีอยู่ราว 500,000 คน ก็จะตกอยู่ในข่ายของผลกระทบในวิกฤตการณ์นี้ด้วย

 

สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย หรือ อีคอนไทย ประเมินว่า “โควิด-19” จะเป็นปัจจัยที่เข้ามาซ้ำเติมการจ้างงานของไทยในปี 2563 ให้ชะลอตัวลงไปกว่าเดิม ทำให้ธุรกิจภาพรวมทั้งหมดมีการชะลอรับแรงงานใหม่ และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทันทีที่เป็นคลัสเตอร์ท่องเที่ยว อาทิ โรงแรม ร้านค้า สปา ร้านอาหาร ฯลฯ ที่นักท่องเที่ยวหายไปมากกว่า 60% ที่บางส่วนเริ่มปรับแผนลดคน เช่น ให้สมัครใจลาออก สมัครใจหยุดงานไม่รับเงินเดือน และเลิกจ้าง ซึ่งหากยืดเยื้อสถานการณ์การเลิกจ้างก็จะมีสูงขึ้น

นั่นหมายถึง แรงงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวอยู่ในระบบ 3.2 ล้านคน และนอกระบบอีก 7 ล้านคน ยังไม่นับ นักศึกษาจบใหม่ที่จะทยอยเข้ามาในระบบแรงงานเพิ่มเติมช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีอยู่ราว 500,000 คน ก็จะตกอยู่ในข่ายของผลกระทบในวิกฤตการณ์นี้ด้วย 

เรื่องนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่มีการพูดถึงในการประชุมสามัญประจำปีของสมาพันธ์มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ซึ่งมีการประเมินว่า สถานการณ์ที่การท่องเที่ยวชะลอตัว และทำให้นักท่องเที่ยวหายไปกว่า 80-90 % นั้น ทำให้มัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ ตกงานทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นคน และส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพอื่นรองรับ 

“ผลกระทบที่ได้รับ ถ้านับเป็นเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับรายได้ตลอดทั้งปี ก็เสียหายไปแล้ว 20%” นี่เป็นเสียงยืนยันจาก อาณัติ ลิ้มจิระวัฒนา เจ้าของบริษัท Event 9 marketing ออร์แกไนเซอร์รับจัดงานอีเว้นท์ท่องเที่ยว โรงแรม และอาหาร เมื่อถูกถามถึงภาพรวมของธุรกิจที่เกิดจาก “โควิด-19” 

เขายอมรับว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสทำให้ส่วนงานชะงัก แต่โชคยังดีที่ไม่ได้ถูกยกเลิก เป็นกรณีการถูกเลื่อนการจัดงานออกไปมากกว่า เพราะผู้จัดที่เป็นเอกชน และรัฐบาลนั้นยังมีความไม่แน่ใจว่าสถานการณ์จะยุติช่วงไหน

“รวมๆ งานที่ถูกเลื่อนภายใน 2 เดือนนี้ก็ประมาณ 10 งาน การถูกเลื่อนงานใช่ว่าจะไม่มีผลกระทบเพราะการเลื่อนนั้นหมายถึงว่ารายได้บริษัทลดลงแน่นอน ซึ่งสิ่งที่กลัวที่สุดคือการที่เราไม่รู้ว่าลูกค้าจะเลื่อนไปถึงวันไหน ช่วงไหน ความไม่แน่นอนสูงมาก” 

158329858611

ขณะที่ ธีระศักดิ์ นามโมธา หัวหน้าทัวร์ฟรีแลนซ์ที่รับงานกับนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นหลัก มองว่า สภาพเศรษฐกิจนั้นซบเซามาตั้งแต่ปีที่แล้ว พอมีเรื่อง โควิด-19 ขึ้นมาทุกอย่างก็ยิ่งดูแย่ลงหมด โดยเฉพาะข่าวลือที่สร้างทั้งความสงสัย และไม่แน่ใจ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ งานที่เคยมีในช่วงไฮซีซั่นนั้นหายไปกว่าครึ่ง

“รวมๆ งานที่ถูกเลื่อนภายใน 2 เดือนนี้ก็ประมาณ 10 งาน การถูกเลื่อนงานใช่ว่าจะไม่มีผลกระทบเพราะการเลื่อนนั้นหมายถึงว่ารายได้บริษัทลดลงแน่นอน ซึ่งสิ่งที่กลัวที่สุดคือการที่เราไม่รู้ว่าลูกค้าจะเลื่อนไปถึงวันไหน ช่วงไหน ความไม่แน่นอนสูงมาก” 

ด้าน ชำนาญ ศรีสวัสดิ์ จาก หจก. ศรีสวัสดิ์ travelandtour จำกัด บริษัทเอเจนซี่ทัวร์ในจังหวัดกระบี่ เผยถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ถือว่ารุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตโรคซาร์ส สึนามิ เพราะการท่องเที่ยวหายไปถึง 80% เรือนำเที่ยวจาก 30 ลำตอนนี้เหลือเพียง 5 ลำ รถทัวร์ ไกค์ พนักงานกว่า 200 คนส่วนใหญ่ว่างงานกันหมด

“กระบี่รายได้หลักมากจากการท่องเที่ยว จะเอารถทัวร์ไปทำอย่างอื่นก็ไม่ได้ หรือให้ไกด์ไปทำสวนยางก็คงไม่ได้อีกเหมือนกัน แต่เรามีเกริ่นๆ ไว้เหมือนกันว่าถ้ามันนานไปกว่านี้สัก 6-8 เดือนเราอาจจะต้องปิดตัว พนักงานก็แยกย้ายกันไป” เขาบอก 

ไม่เฉพาะแต่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่แรงงานในส่วนอีเว้นท์ออร์กาไนซ์เองก็ต้องแบกรับความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ต่างกัน ศิวาภรณ์ ได้งาน พริตตี้ เอ็มซีฟรีแลนซ์สายอีเวนท์ ยอมรับว่า แต่นับตั้งแต่มีสถานการณ์ “โควิด-19” แพร่ระบาดในไทย ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2563 ตนเองถูกงานเลื่อนออกไปทั้งหมด แม้จะมีการตกลงเรียบร้อยแล้ว

ทำให้รายได้ลดลงมาเหลือไม่ถึง 10,000 บาทมาร่วม 2 เดือนเต็ม จากรายได้ปกติ เฉลี่ย 30,000-40,000 บาทต่อเดือน โดยนอกเหนือจากโรคระบาดแล้วเศรษฐกิจก็ย่ำแย่ทำให้งานลดลงมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทำให้การใช้ชีวิตหลังจากนี้ทำให้เธอเองต้องคิดหนักพอสมควร 

“การปรับตัวในระยะสั้น พยายามลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด เรื่องรายได้ อาหารการกิน จะซื้ออะไรก็ต้องคิดดูว่ามันมีความจำเป็นแค่ไหน ทุกวันนี้ตุนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หันมาเดินทางด้วยรถสาธารณะแทนการใช้บริการแท็กซี่เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด เรื่องสุขภาพต้องคอยระวังตัวเองให้มากขึ้น" 

158329865056

สำหรับระยะยาวนั้น ศิวาภรณ์วางแผนไว้ว่า จะทำธุรกิจเป็นของตัวเองบางอย่าง แต่เธอก็คิดว่ายังต้องใช้เวลาศึกษา และติดปัญหาเรื่องเงิน เพราะเศรษฐกิจทุกวันนี้ทำธุรกิจยาก การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะนี้คือการมองหางานประจำที่เกี่ยวข้องกับสายงานของตัวเอง เช่น บริษัทออร์กาไนซ์ หรือเกี่ยวข้องกับการจัดการ เพราะมองว่างานประจำน่าจะเป็นทางออกในระยะยาว

“การปรับตัวในระยะสั้น พยายามลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด เรื่องรายได้ อาหารการกิน จะซื้ออะไรก็ต้องคิดดูว่ามันมีความจำเป็นแค่ไหน ทุกวันนี้ตุนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หันมาเดินทางด้วยรถสาธารณะแทนการใช้บริการแท็กซี่เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด เรื่องสุขภาพต้องคอยระวังตัวเองให้มากขึ้น" 

ด้านผู้ประกอบการอย่าง อาณัติ นั้น สิ่งที่เขาทำได้ดีที่สุดในช่วงนี้ก็คือ การพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายบริษัท รวมถึงหาจ็อบที่เกี่ยวกับอีเว้นท์ที่ยังพอเป็นไปได้อยู่ เพื่อเป็นการหารายได้ แทนการชดเชยส่วนที่หายไป 

"อีเว้นท์ที่ยังมีอยู่ของเราน่าจะเป็นงานประชุมสัมมนาในโรงแรม แต่ถ้าสถานการณ์มันยืดเยื้อจนถึงปลายปี บริษัทก็อาจจะต้องไปดูเรื่องของ Digital platform มากขึ้น”

ส่วนแรงงานในตลาดท่องเที่ยว ธีระศักดิ์ อธิบายว่า การปรับตัวที่สามารถทำได้ช่วงนี้คือการจัดสรรเงินที่เก็บไว้ให้เคลียร์ขึ้น รัดกุมขึ้น วางแผนมากขึ้น รุ่นพี่บางคน รุ่นน้องของเขาบางคนเริ่มทำอาชีพเสริม เช่น ขายของนำเข้าจากต่างประเทศเพราะมีข้อมูลเรื่องการจัดการติดต่ออยู่แล้ว หรือบางคนทำขนมปังขาย 

"ทุกคนคุยเรื่องเดียวกันคือ การวางแผนการเงินให้ดีที่สุดจนกว่าจะผ่านช่วงนี้ไป เพราะถ้าจะเอาไปลงทุนทำอย่างอื่นแบบจริงจังเงินก็ไม่พออยู่ดี”

นี่จึงเป็นสถานการณ์ของการประคับประคองที่ทุกคนต่างต้องหาทางผ่ามรสุมครั้งนี้ไปให้ได้