สรุป พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับ1 ข้อห้ามและข้อปฏิบัติมีอะไรบ้าง
สรุปรายละเอียด หลังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศข้อกำหนดและข้อปฏิบัติตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับ 1 มีข้อห้ามและข้อปฏิบัติอะไรบ้าง ?
หลังจากการประกาศการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือ พ.ร.ก ฉุกเฉิน ที่จะเริ่มใช้วันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมานั้น ล่าสุด วันนี้ (25 มี.ค) นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศข้อกำหนดและข้อปฏิบัติตาม พ.ร.ก ฉุกเฉิน ฉบับ 1 สรุปดังนี้
ข้อ 1 การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง
ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่หรือสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยง ต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด-19 ตามที่กําหนดในมติคณะรัฐมนตรีวันที่17 มีนาคม 2563 หรือตามที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ประกาศหรือสั่ง
ข้อ 2 การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดออกคําสั่งโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 (1)
- สนามมวย สนามกีฬา สนามแข่งขัน สนามเด็กเล่น สนามม้า ในทุกจังหวัด ทั่วราชอาณาจักร จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น
- ผับ สถานบริการ สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ สถานประกอบการ อาบ อบ นวด และนวดแผนโบราณ สปา สถานที่ออกกําลังกาย (ฟิตเนส) สถานบันเทิง ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๔ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
- สถานที่อื่นนอกจากนี้ เช่น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พิพิธภัณฑสถาน ห้องสมุด สาธารณะ ศาสนสถาน สถานีขนส่งหรือโดยสาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ให้พิจารณาโดยสั่งปิดเฉพาะส่วน หรือทั้งหมดและอาจกําหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาตามความจําเป็นและเหมาะสม
- ในกรณียังไม่ได้มีคําสั่งให้ปิดสถานที่ให้เจ้าของหรือผู้ดูแล สถานที่นั้นจัดให้มีมาตรการคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค
ข้อ 3 การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ยาน เรือ รถยนต์ หรือพาหนะอื่นใด หรือในการใช้เส้นทางคมนาคมไม่ว่าทางอากาศ ทางน้ํา หรือทางบก ยกเว้น
- เป็นกรณีหรือผู้มีเหตุยกเว้นตามที่นายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกําหนด หรืออนุญาตตามความจําเป็นโดยอาจกําหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาก็ได้
- เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามความจําเป็น แต่เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้กลับออกไปโดยเร็ว
- เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจํายานพาหนะ ซึ่งจําเป็นต้องเดินทาง เข้ามาตามภารกิจและมีกําหนดเวลาเดินทางออกชัดเจน
- เป็นบุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลที่มา ปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือเป็นบุคคลหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศ อนุญาตตามความจําเป็น ตลอดจนบุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าวโดยติดต่อกระทรวงการ ต่างประเทศเพื่อออกหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาได้โดยแสดงเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
- เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีใบอนุญาตทํางานหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ทํางานได้
- เป็นผู้มีสัญชาติไทยแต่ต้องติดต่อสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยใน ประเทศที่พํานักเพื่อออกหนังสือรับรอง หรือมีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่ามีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทางทางอากาศ (Fit to Fly Health Certificate) ซึ่งได้รับการ ตรวจรับรองหรือออกให้มีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
ข้อ 4 การห้ามกักตุนสินค้า
ห้ามผู้ใดกักตุนสินค้าซึ่งเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ําดื่ม หรือสินค้าอื่นที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจําวัน สําหรับกรณีที่เป็นสินค้าควบคุม การผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ปริมาณการผลิต การควบคุมราคาจําหน่ายและการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 5 การห้ามชุมนุม
ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทํากิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทําการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ทั้งนี้ ภายใน เขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกําหนด
ข้อ 6 การเสนอข่าว
ห้ามการเสนอข่าวหรือทําให้แพร่หลายทางสื่อต่างๆ ซึ่งมีข้อความ หรือข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) อันไม่เป็นความจริงและอาจทําให้ ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอันทําให้เกิดความเข้าใจผิด ในกรณีเช่นนี้ให้เจ้าหน้าที่เตือนให้ระงับหรือสั่งให้แก้ไขข่าว หรือหากเป็นกรณีที่มีผลกระทบรุนแรง ให้ดําเนินคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือ พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
รวมถึงให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นศูนย์กลางจัดให้มีการแถลงหรือชี้แจงข่าว ณ ทําเนียบรัฐบาลเพื่อสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ ประชาชนเป็นประจําและต่อเนื่อง ในกรณีจําเป็นจะขอความร่วมมือจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจด้วยก็ได้
ข้อ 7 มาตรการเตรียมรับสถานการณ์
- ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นผู้กํากับการ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติในเขตท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ หากมีปัญหาให้รายงาน กระทรวงมหาดไทย
- ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกําหนดและประชาสัมพันธ์เผยแพร่มาตรการเพื่อ ช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้มาตรการของรัฐต่อประชาชนตามหน้าที่และ อํานาจโดยพิจารณาใช้งบประมาณของตนเองเป็นอันดับแรก ในกรณีไม่อาจดําเนินการได้ให้เสนอหรือ ขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล
- ให้โรงพยาบาล สถานพยาบาลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่และอํานาจในการป้องกัน และดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชน จัดหายา เวชภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจโรค เครื่องช่วยใน การหายใจและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จําเป็นให้เพียงพอตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด หรือ แนะนํา ทั้งนี้ ให้รวมถึงการเตรียมบุคลากรทางการแพทย์จากแหล่งต่าง ๆ และการเตรียมสถานที่กักกัน สถานที่คุมไว้สังเกตหรือเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มจํานวนขึ้นโดยขอความร่วมมือดัดแปลงสถานที่ ต่าง ๆ เช่น โรงแรม โรงเรียน มหาวิทยาลัย หอประชุม สถานที่ปฏิบัติธรรม ศาลาวัด อาคารของเอกชนที่ ยังไม่ได้ใช้งานหรือสถานที่ราชการ สถานที่เอกชนอื่น ๆ เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว
- ในการกักกันตัวเองไว้สังเกตอาการตามคําสั่งหรือคําแนะนําของเจ้าหน้าที่หรือเป็น ผู้เดินทางข้ามเขตมาจากพื้นที่จังหวัดอื่นให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งขึ้น หรืออาสาสมัครที่ปฏิบัติงานให้แก่ทางราชการสามารถเข้าตรวจสอบการเฝ้า ระวังหรือความเข้มงวดจริงจังในการกักกันตนเองและให้คําแนะนําวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องได้ ในกรณีนี้อาจ ขอความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นให้ช่วยตรวจสอบด้วยก็ได้
ข้อ 8 มาตรการพึ่งปฏิบัติสําหรับบุคคลบางประเภท
ให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ง่ายดังต่อไปนี้อยู่ในเคหสถานหรือบริเวณสถานที่พํานักของตน เพื่อป้องกัน ตนเองจากการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมภายนอก
- กลุ่มเสี่ยงได้แก่ผู้สูงอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป
- กลุ่มคนที่มีโรคประจําตัว ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคในระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ซึ่งมี ภูมิคุ้มกันต่ำตามธรรมชาติของโรคและด้วยยาที่ใช้รักษา
- กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่าห้าปีลงมา
- ทั้งนี้ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวมีความจําเป็นเพื่อการพบแพทย์ การรักษาพยาบาล การปฏิบัติหน้าที่แพทย์พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ การปฏิบัติงานหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์และสถาบันการเงิน ตู้เอทีเอ็ม การสื่อสารมวลชน โทรคมนาคมและไปรษณีย์ การให้บริการ ขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าเพื่อการบริโภค อุปโภค การจัดหาและซื้อขายอาหาร การติดต่อด้านคดีกับเจ้าหน้าที่ตํารวจ พนักงานอัยการหรือศาลตามความจําเป็นหรือการเป็นเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกําหนด ประกาศ หรือคําสั่งต่างๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจําเป็นอื่นๆ โดยได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมาย
ข้อ 9 มาตรการเกี่ยวกับการออกนอกราชอาณาจักร
ให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และสํานักงานตํารวจแห่งชาติเข้มงวดในการตรวจลงตราหรือออกวีซ่าหรืออนุญาต ให้ชาวต่างประเทศซึ่งมิได้มีกิจการงานปกติหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรยังคงอยู่ในราชอาณาจักร บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยหรือไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรซึ่งประสงค์จะเดินทางออก นอกราชอาณาจักรจะได้รับการอํานวยความสะดวกในการเดินทางโดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน โรคตามที่ทางราชการกําหนดในข้อ 11
ข้อ 10 มาตรการดูแลความสงบเรียบร้อยในกรุงเทพมหานคร
ให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติจัดเวรยามหรือตั้งจุดตรวจตามถนน เส้นทางคมนาคม สถานีขนส่งหรือโดยสาร เพื่อป้องกัน อุบัติเหตุ การก่ออาชญากรรม และการรวมกลุ่มชุมนุมหรือมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือการกระทําอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนหรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่ เชื้อโรค และหากพบเห็นการกระทําดังกล่าวให้ดําเนินคดีตามกฎหมายทันทีในจังหวัดอื่นนอกกรุงเทพมหานครให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือสํานักงานตํารวจแห่งชาติพิจารณาตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยให้มีมาตรการตั้งด่านตรวจหรือจุดสกัดดูแลการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดเพื่อจัดระเบียบการเดินทาง การจราจร การเฝ้าระวังหรือสังเกตอาการผู้เดินทาง และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค
ข้อ 11 มาตรการป้องกันโรค
ให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนดเพื่อใช้ปฏิบัติเป็นการทั่วไป หรือใช้ในกรณีผ่อนผันหรือยกเว้นการปฏิบัติตามข้อกําหนดนี้ ดังนี้
- ให้ทําความสะอาดโดยการเช็ดทําความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้อง ก่อนการจัดกิจกรรม และให้กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
- ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมกิจกรรม ลูกจ้าง ผู้ใช้บริการสวม หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
- ให้บุคคลตามล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ เจลหรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค
- ให้บุคคลตาม เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อยหนึ่งเมตรเพื่อป้องกันการ ติดต่อสัมผัส หรือแพร่เชื้อโรคทางฝอยละอองน้ําลาย
- ให้ควบคุมจํานวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทํากิจกรรมให้สั้นลง เท่าที่จําเป็นโดยถือหลักการหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน เจ้าหน้าที่อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ นํามาตรการคุมไว้สังเกตหรือมาตรการกักกันตัวอย่างน้อย 14 วันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อมาใช้แก่ บุคคลบางประเภทหรือบางคนได้ตามความจําเป็น
ข้อ 12 นโยบายการยังคงให้เปิดสถานที่ทําการ
- โรงพยาบาล
- สถานพยาบาล
- คลินิกแพทย์รักษาโรค
- ร้านขายยา
- ร้านอาหารในส่วนซึ่งมิใช่สถานบันเทิงหรือสถาน บริการและแผงจําหน่ายอาหารซึ่งผู้บริโภคซื้อไปบริโภคนอกสถานที่
- โรงแรมในส่วนซึ่งเป็นที่พักอาศัย
- ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ร้านค้าทั่วไป
- ห้างสรรพสินค้าในส่วนซึ่งเป็นแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต แผนกขายยา แผนกอาหาร แผนกสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจําเป็นต่อการดํารงชีวิต
- โรงงาน
- ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม
- ตลาดและตลาดนัดในส่วนซึ่งจําหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหาร ปรุงสําเร็จ อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์และสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจําเป็น
- สถานที่จําหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั้มน้ํามัน ปั้มแก๊ส
- การให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online) ยังคงประกอบกิจการต่อไปได้ตามปกติเพื่อความสะดวกและความเป็นอยู่ตามปกติ ของประชาชน มิให้ขาดแคลนหรือเดือดร้อนยากลําบากเกินควร โดยให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนด
- สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ยังคงเปิดดําเนินการในวันและเวลา ราชการตามปกติ เว้นแต่ที่มีประกาศให้ปิดหรืองดําเนินการไปก่อนแล้ว เช่น สถาบันการศึกษา ทั้งนี้ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนและมิให้ประชาชนต้องเสียประโยชน์หรือละเมิดกฎหมายที่มี กําหนดเวลาให้ปฏิบัติ แต่ควรอํานวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น การจัดเหลื่อมเวลาทํางานและพัก เที่ยง การทํางานนอกสถานที่ปกติ และให้เพิ่มบริการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน เช่น การจัด ประชุมสื่อสารทางไกล การให้บริการด้วยการสื่อสารแบบดิจิทัล การงดเว้นการกําหนดให้ประชาชนต้อง มาแสดงตน หรือยกเว้น ขยายเวลา งดหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมภายใต้กรอบของกฎหมาย
- ให้ภาคธุรกิจ ร้านค้าที่เปิดบริการและสถานที่ราชการที่เปิดทําการ วางมาตรการ คัดกรองผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อหรือใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนด
ข้อ 13 คําแนะนําเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด
ในช่วงเวลานี้ประชาชนฟัง งดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในระยะนี้โดยไม่จําเป็นและควรพักหรือทํางานอยู่ ณ ที่พํานักของตน กรณีจําเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ต้องรับการตรวจคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการที่ ทางราชการกําหนด ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามตัวมารับการตรวจอาการหรือกักกันตัว
ข้อ 14 คําแนะนําในการจัดกิจกรรมอื่น ๆ
การจัดกิจกรรมหรือพิธีการทางสังคมตาม ประเพณีนิยม เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ พิธีบําเพ็ญกุศล พิธีศพ พิธีสงกรานต์หรือ กิจกรรมภายในครอบครัว ตลอดจนกิจกรรมหรืองานพิธีที่ทางราชการจัดขึ้นหรือเป็นไปตาม หมายกําหนดการของทางราชการ ยังคงจัดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ตามที่ทางราชการกําหนด
ข้อ 15 โทษ
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และ ข้อ 6 แห่งข้อกําหนดนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา 18 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2554 หรือมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 แล้วแต่กรณีด้วย
ข้อ 16 การใช้บังคับ
ข้อกําหนดนี้ให้ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรรวมทั้งพื้นที่ที่อยู่ระหว่าง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เว้นแต่จะมีข้อกําหนดเป็นอย่างอื่น ในกรณีมีความจําเป็นนายกรัฐมนตรีอาจออกข้อกําหนดเปลี่ยนแปลง เพิ่มหรือลดมาตรการหรือเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ