"ห้องเรียนออนไลน์" สไตล์เด็กวิศวะมธ.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. เปิดห้องเรียนออนไลน์ ใช้ระบบการสอนแบบออนไลน์ ในรายวิชาต่างๆ แก่นักศึกษาวิศวะ ทดแทนห้องเรียนในช่วงวิกฤต ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) เริ่มใช้ระบบการสอนแบบออนไลน์ ในรายวิชาต่างๆ แก่นักศึกษา โดยไม่จำเป็นต้องมารวมตัวอยู่ในสถานที่ ทดแทนห้องเรียนในช่วงวิกฤต เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเริ่มไปตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในระยะเวลาที่เหลือ ของการเรียนการสอนในภาคการศึกษาปัจจุบัน
โดยข้อดีของ ‘ห้องเรียนออนไลน์’ คือ สามารถสอนแบบเรียลไทม์ ผู้สอนสามารถสตรีมมิ่งไฟล์เนื้อหาที่ต้องการ เปิดให้นักศึกษาดูได้แบบเรียลไทม์ นักศึกษาสนุกกับการถาม-ตอบ การเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ช่วยสร้างบรรยากาศผ่อนคลายแก่นักศึกษา และกล้าซักถามประเด็นที่ยังไม่เข้าใจมากขึ้น หลังจากสอนเสร็จนักศึกษา สามารถดูย้อนกี่รอบก็ได้ จากวิดีโอที่ได้รับการบันทึกไว้บนหน้าไทม์ไลน์โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยัง สามารถส่งไฟล์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในระบบห้องเรียนออนไลน์ได้
ทั้งนี้ สำหรับบุคลากรทางการศึกษาที่สนใจ สามารถเข้าไปดูวิดีโอแนะนำการใช้งานได้ที่ ยูทูป แชลแนล (YouTube Channel) ของ TSE https://www.youtube.com/channel/UCUUdPglY16NxQnttIGM2xpw
รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้ประชาชนทั่วประเทศไทยต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองอยู่นั้น
ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักถึงความปลอดภัยของนักศึกษาและบุคลากรเป็นที่ตั้ง จึงได้ออกมาตรการลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ด้วยการปรับรูปแบบการเรียนการสอนไปสู่ ‘ห้องเรียนออนไลน์’ โดยกำหนดให้คณาจารย์ TSE ทุกคนทำการสอนวิชาบรรยายทั้งหมด ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
รศ.ดร.ธีร กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้ไปอยู่บนสื่อออนไลน์ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับบุคลากรจำนวนมาก ดังนั้น ทาง TSE ได้จัดทีมทำงานเพื่อแนะแนวทางให้บุคลากรสามารถสอนรายวิชาต่างๆ ให้กับนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที โดยไม่จำเป็นต้องมารวมตัวอยู่ในสถานที่เดียวกัน สำหรับการใช้ ‘ห้องเรียนออนไลน์’ แทนห้องเรียนนั้น นับว่ามีข้อดีจำนวนมาก ดังต่อไปนี้
- สามารถสอนแบบเรียลไทม์ผู้สอนสามารถสตรีมมิ่งไฟล์เนื้อหาที่ต้องการเปิดให้นักศึกษาดูได้แบบเรียลไทม์ ผ่านฟังก์ชัน ‘เฟซบุ๊ก ไลฟ์’ ขอเพียงมีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตก็เริ่มทำการไลฟ์ได้ทันที
- นักศึกษาสนุกกับการถาม-ตอบในการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ จะสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายแก่นักศึกษามากขึ้น ส่งผลให้มีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้นผ่านการพูดหรือพิมพ์ข้อความ (Comment)
- สามารถดูย้อนหลังกี่รอบก็ได้เมื่อจบการไลฟ์ ระบบจะทำการบันทึกวิดีโอเก็บไว้บนหน้าไทม์ไลน์โดยอัตโนมัติ นักศึกษาจึงสามารถเข้าไปย้อนดูเนื้อหาที่เรียนย้อนหลังได้ หากไม่เข้าใจจุดไหน ก็สามารถเลือกดูเฉพาะช่วงเวลาได้
- สามารถส่งงานระหว่างผู้สอน-ผู้เรียนได้สะดวกไม่ว่านักศึกษาจะมีคำถาม หรือจะส่งงานให้อาจารย์ตรวจก็เป็นเรื่องง่าย
นอกจากนี้ ทาง TSE ยังได้ประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์จำนวนมาก อาทิ เฟซบุ๊ก กรุ๊ป (Facebook Group) เฟซบุ๊ก ไลฟ์ (Facebook Live) แฮงก์เอาท์ (Hangouts) และ Zoom Microsoft Teams ทั้งนี้ สำหรับบุคลากรทางการศึกษาที่สนใจ สามารถเข้าไปดูวิดีโอแนะนำการใช้งานได้ที่ ยูทูป แชลแนล (YouTube Channel) ของ TSE https://www.youtube.com/channel/UCUUdPglY16NxQnttIGM2xpw
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th และ Facebook Fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT