UV ฆ่าไวรัส (โคโรนา), แต่...อันตราย

UV ฆ่าไวรัส (โคโรนา), แต่...อันตราย

“คุณคงจะต้องเผาคนๆนั้นทั้งเป็นเลยล่ะ” แดน อาร์โนล กล่าว แล้วก็หัวเราะอย่างไม่อยากจะเชื่อมุขขำขันนี้เช่นกัน

อาร์โนลทำงานอยู่ที่บริษัท UV Light Technology, ซึ่งขายอุปกรณ์ฆ่าเชื้อสำหรับโรงพยาบาล บริษัทยา หรือโรงงานผลิตอาหารต่างๆ ทั่วสหราชอาณาจักร

และหลังจากที่ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาไต่ระดับมาถึงขีดสุด อาร์โนลพบว่า มีคำขอมากมายส่งเข้ามาถึงตัวเอง 

เราเจอหลายคนถามมาเกี่ยวกับอุปกรณ์ของเรา อาทิ ‘ทำไมพวกเราถึงไม่ซื้อหาอุปกรณ์แสง UV ของคุณ เอามาติดที่ทางเข้าซุเปปอร์มาร์เกตของเราซักเครื่องล่ะ คนจะได้ไปยืนอยู่ข้างใต้นั้นไม่กี่วินาทีก่อนเดินเข้าห้างเรา อะไรทำนองนี้เขากล่าว

นั่นเป็นเพียงภาพสะท้อนเกี่ยวกับคำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพที่กำลังท่วมโลกอินเตอร์เนตอยู่ในเวลานี้ กับความคิดที่ว่า คุณสามารถที่จะฆ่าเชื้อโรคตามผิวหนัง เสื้อผ้า หรือข้าวของต่างๆด้วยการใช้แสง UV ซึ่งมันกำลังมาแรงมาก ในประเทศไทย มีรายงานว่า มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งถึงกับสร้างอุโมงค์แสง UV ให้นักศึกษาเดินลอดผ่านเพื่อฆ่าเชื้อ

ด้วยเหตุดังนี้ มันเป็นความคิดที่ดีแล้วจริงหรือที่จะใช้แสง UV ป้องกันตัวเองจากไวรัสโคโรนา? แล้วมันจริงรึเปล่าที่ว่า ไวรัสที่มันไม่ถูกแสงอาทิตย์นี้จะถูกฆ่าด้วยแสงอาทิตย์ได้จริง อย่างที่กล่าวอ้างกันในโซเชียลมีเดีย?

ตอบสั้นๆก็คือ ไม่ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

แสง...อันตราย

แสงอาทิตย์ จริงๆแล้วมี รังสี UV อยู่ชนิดต่างกัน ชนิดแรกคือ UVA ซึ่งเป็นรังสีส่วนใหญ่ที่มาจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก มันสามารถทะลุผิวหนังของคนเรา และเชื่อว่าทำให้เกิดริ้วรอยต่างๆ และจุดด่างดำ

อันต่อไปคือ UVB ซึ่งสามารถส่งผลต่อ DNA ในผิวหนังของเรา ทำให้เกิดผิวไหม้เนื่องจากแสงแดด และแม้กระทั่งมะเร็งผิวหนัง (เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบด้วยว่า UVA ก็ทำให้เกิดผลต่อผิวหนังลักษณะนี้เหมือนกัน)

UV ทั้งสองชนิดเป็นที่รู้จักกันพอสมควร และสามารถป้องกันได้โดยครีมกันแดดดีๆ

ส่วนชนิดที่ 3 คือ UVC ซึ่งเป็นแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น แต่มีพลังกว่า มันมีอานุภาพมากทีเดียวในการทำลายล้างสารพันธุกรรม ซึ่งโชคดีมากที่เราไม่เคยเจอกับมัน เพราะมันถูกสกัดออกไปในชั้นบรรยากาศโดยโอโซน ก่อนที่จะเดินทางมาถึงโลกและผิวของเรา

และมันควรจะเป็นเช่นนั้น กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าพวกเขาสามารถดึงเอา UVC มาใช้ฆ่าพวกจุลินทรีย์เล็กๆได้ 

กล่าวคือ นับตั้งแต่ปี .. 1878 แสง UVC สังเคราะห์ได้ถูกคิดค้นพัฒนาเอามาใช้สำหรับการฆ่าเชื้อออย่างแพร่หลาย ในโรงพยาบาล เครื่องบิน สำนักงาน และโรงงานต่างๆทุกวัน

ที่สำคัญ มันเป็นของพื้นฐานที่ใช้ช่วยฆ่าเชื้อในน้ำดื่ม ช่วยฆ่าพวกพยาธิต่างๆที่ดื้อต่อสารเคมีฆ่าเชื้ออย่างเช่น คลอรีน เปผ้นตัวช่วยสุดท้ายที่ช่วยกันเหนียวได้

แม้จะยังไม่มีงานวิจัยที่ดูว่าแสง UVC ส่งผลต่อ โควิด-19นี้อย่างไร แต่งานศึกษาที่ผ่านมาพบว่า มันสามารถใช้ช่วยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดอื่นได้ เช่น ซาร์ส โดยรังสีนี้จะไปส่งผลต่อโครงสร้างทางพันธุกรรมของไวรัส และทำให้มันไม่สามารถก๊อปปี้ตัวเองเพิ่มได้

เพราะเหตุนี้ แสง UVC ที่เข้มข้นจึงกลายเป็นเครื่องมืออันดับต้นๆที่ถูกเอามาใช้ต่อสู้กับโควิด-19 

อย่างในจีน จะเห็นว่ารถเมล์จะติดไฟสีฟ้าสลัวๆเอาไว้ หรือตามโรงพยาบาลต่างๆจะมีหุ่นยนต์ที่คอยปล่อยแสง UVC เพื่อทำความสะอาดพื้น หรือตามธนาคารก็จะมีการใช้แสง UVC ช่วยฆ่าเชื้อบนธนบัตร

ในเวลาเดียวกัน ผู้จำหน่ายเครื่องมือเหล่านี้ก็ทำยอดขายได้ โดยหลายๆแห่งต้องเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อป้อนตลาด อาร์โนลเองกล่าวว่า บริษัทของเค้าเองขายเครื่องไปจนหมดเหมือนกัน

แต่เครื่อง UVC ก็มีข้อพึงระวังด้วยเข่นกัน

“UVC เป็นสิ่งที่เอาเรื่องอยู่ ซึ่งคุณไม่ควรเปลือยผิวต่อมันอาร์โนลกล่าว ปกติมันใช้เวบาเป็นชั่วโมงๆ ที่จะเกิดผิวไหม้ภายใต้แสง UVB แต่กับ UVC มันใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที หรืออย่างเวลาที่ตาโดนแสง ซึ่งจะทำให้รู้สึกแสบตามาก แต่กับแสงนี่ เพียงแค่เสี้ยววินาทีเลย

จะใช้ UVC อยางปลอดภัย คุณจำเป็นต้องมีเครื่องมือเฉพาะและอบรมการใช้ก่อน

แล้วแสงอาทิตย์จะช่วยได้ไหม

แล้วถ้าเป็น UVA หรือ UVB ล่ะ จะช่วยได้ไหม? ถ้ามันช่วยได้จริง เราจะสามารถเอาของมาตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อได้ไหม?

คำตอบสั้นๆก็คือ อาจได้ แต่คุณก็อาจพึ่งมันไม่ได้ซะทีเดียว

ในประเทศที่กำลังพัฒนา แสงธรรมชาติคือเครื่องมือช่วยฆ่าเชื้อในน้ำดื่มเป็นปกติ ซึ่งจริงๆ องค์การอนามัยโลกได้แนะนำไว้ด้วยซ้ำ ปกติ สามารถทำกันได้โดยเทน้ำไว้ในแก้ว แล้วปล่อยให้แดดส่องประมาณ 6 ชั่งโมง มันถูกเชื่อว่าช่วยได้เพราะแสง UVA จะไปทำปฏิกิริยากับออกซิเจนที่ละลายในนำ้แล้วทำให้เกิดสารฆ่าเชื้อคือไฮโดรเจนเปอโรไซด์ที่ช่วยฆ่าเชื้อ

ถึงไม่ใช่น้ำ แสงอาทิตย์ก็ช่วยฆ่าเชื้อตามพื้นผิวได้แต่อาจใช้เวลานานหน่อย ปัญหาก็คือ เราไม่รู้ว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน เพราะมันก็ยังเร็วเกินไปสำหรับหลายๆ การศึกษาที่กำลังศึกษาเรื่องนี้กับไวรัสโคโรนาที่จะสรุปได้

การศึกษาในเรื่องนี้กับไวรัสโรคซาร์ส พบว่า การใช้ UVA ประมาณ 15 นาที มีผลกับตัวไวรัส อย่างไรก็ตาม การศึกษาไม่ได้ดูไปถึงการใช้ UVB ที่น่าจะแรงกว่ากับสารพันธุกรรมของไวรัส

ส่วนไวรัสชนิดอื่นๆ อย่างไวรัสหวัดก็อาจจะให้แนวคำตอบในเรื่องนี้อยู่บ้าง เพราะมีผลการศึกษาในประเทศบราซิลว่า ในช่วงฤดูเผาป่านั้น เคสไข้หวัดกลับเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะควันเขม่าจากการเผาป่าลอยขึ้นไปจนไปปิดบังแสงยูวีที่ส่องลงมาก็เป็นได้

หรืออีกการศึกษาหนึ่งที่บอกว่า ยิ่งเชื่อหวัดถูกแดดนานหรือเข้มข้นมากเท่าไรก่ มันก็จะแพร่น้อยลง น่าเสียดายที่การศึกษานี้ดูแต่ไวรัสที่ลอยในอากาศ ไม่ได้ดผุไวรัสที่ติดอยู่ตามพื้น

เลยไม่มีใครรรู้ในเวลานี้ว่า มันต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ถึงจะปราบความร้ายกาจของไวรัสโคโรนา หรือต้องใช้ความเข้มข้นขนาดไหน

ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา จึงสรุปได้ว่า การใช้แสงอาทิตย์ช่วยฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาตามพื้นผิวยังเป็นปัญหาอยู่มากนั่นเอง

อย่างที่ว่า ไม่มีใครรู้ว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่หรือความเข้มข้นขนาดไหน หรือถึงรู้ แสงอาทิตย์ก็ต่างกันไปในแต่ละเวลา สภาพอากาศ ฤดูกาล และสถานที่ จนไม่รู้ว่าจะเชื่อถือได้มากน้อยขนาดไหน

และท้ายที่สุด การใช้แสงอาทิตย์ฆ่าเชื้อบนผิวคุณมันทำร้ายคุณทั้งนั้น เพราะมีสิทธิ์ที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้น 

และเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่ายกายคุณแล้ว ไม่ว่า UV จะมากขนาดไหน ก็ไม่มีความหมายอะไรอีกแล้ว

ภาพ/ China Daily