เปิดเงื่อนไข! ลูกหนี้ 'กยศ.' ถ้าอยากขอผ่อนผันหนี้กยศ. ต้องทำอย่างไร?
เปิดรายละเอียด เงื่อนไข และเอกสารที่ต้องใช้ สำหรับผ่อนผันชำระหนี้กับ "กยศ." หรือ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในสถานการณ์ "โควิด-19"
"กยศ." หรือ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประกาศมาตรการเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพของผู้กู้ยืม และเพื่อให้ผู้กู้ยืมสามารถวางแผนการจัดการค่าใช้จ่ายระหว่างเดือนที่ยังคงมีสถานการณ์ไม่ปกติ ซึ่ง "กรุงเทพธุรกิจ" ได้รายงานไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น
ขณะนี้ กองทุนได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างชำระหนี้ 8 มาตรการหลัก ได้แก่
1. ลดเบี้ยปรับจาก 7.5% เหลือ 0.5%
2. ลดจำนวนหักเงินเดือนเหลือ 10 บาท/คน/เดือน
3. ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมทุกกลุ่มที่ค้างชำระหนี้ และปิดบัญชีในครั้งเดียว
4. ลดเบี้ยปรับ 75%
5. พักชำระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2 ปี
6. ผ่อนผันการชำระหนี้
7. งดการขายทอดตลาด สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือผู้ค้ำประกัน ที่กองทุนได้ดำเนินการยึดทรัพย์ไว้ทุกราย
8. ชะลอการบังคับคดี สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือผู้ค้ำประกันทุกคดี
สำหรับผู้สนใจเข้ารับสิทธิ์ต่างๆ ข้างต้น มีรายละเอียดดังนี้
- วิธีการผ่อนผันการชำระหนี้กับ กยศ.
หนึ่งในมาตรการสำคัญที่คือ "การผ่อนผันการชำระหนี้" ซึ่งผู้กู้ยืมที่ต้องการขอรับความมช่วยเหลือจากมาตรการนี้จะต้องแสดงความความประสงค์ และจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ กยศ. กำหนด
โดย "กรุงเทพธุรกิจ" ได้รวบรวมเงื่อนไข และวิธีการขอผ่อนผันการชำระหนี้ ในสถานการณ์จำเป็นจาก ข้อมูลของ กยศ. ไว้ดังนี้
กยศ. ระบุว่าการผ่อนผันการชำระหนี้ ในกรณีสถานการณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้และไม่เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ สามารถยื่นคำขอผ่อนผันและส่งเอกสารหลักฐานไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนครบกำหนดชำระหนี้ ในวันที่ 5 กรกฎาคม ซึ่งเป็นไปตามประกาศของกองทุนที่มีอยู่เดิมแล้ว ดังนี้
กรณีผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน สามารถขอผ่อนผันได้ไม่เกิน 2 คราว คราวละไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งในช่วงเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย รวมถึงยกเว้นเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับการผ่อนผัน
- กรณีผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้
- กรณีผู้กู้ยืมที่มีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน
- กรณีประสบภัยพิบัติจาก อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นๆ ซึ่ง ทรัพย์สินได้รับความ เสียหายอย่างรุนแรง
- กรณีผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอย
ผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอย สามารถขอผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้ตั้งแต่ 1.5-2.5 เท่าของระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเดิม โดยขึ้นอยู่กับมูลหนี้คงเหลือ ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุ ไม่เกิน 60 ปี และผู้กู้ยืมจะต้องทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุน เพื่อนำยอดหนี้คงเหลือมาคำนวณใหม่และเฉลี่ยให้ชำระในแต่ละเดือนเท่าๆ กันภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน โดยจะต้องมีเอกสารหลักฐานดังนี้
ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ กยศ. www.studentloan.or.th หรือ กยศ. คอลเซ็นเตอร์หมายเลข 0-2016-4888