'มูลนิธิรณสิทธิ์' ทวงถามเหตุผลอัยการ ไม่อุทธรณ์ 'บิ๊กวิคตอเรีย'

'มูลนิธิรณสิทธิ์' ทวงถามเหตุผลอัยการ ไม่อุทธรณ์ 'บิ๊กวิคตอเรีย'

ประธานมูลนิธิรณสิทธิ์ ยื่นหนังสืออัยการสูงสุด ทวงถามเหตุผล สั่งไม่อุทธรณ์จำเลยคนสำคัญ คดีค้ามนุษย์ "วิคตอเรียซีเครท" ทั้งที่หลักฐานเหยื่อ-เส้นทางเงินชัด

นายรณสิทธิ์ พฤกษยาชีวะ ประธานมูลนิธิรณสิทธิ์เพื่อช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์เด็กและสตรี ในฐานะผู้ล่อซื้อบริการเด็กผู้หญิงในวิคตอเรียซีเครท เข้ายื่นหนังสือกับนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกอัยการสูงสุด เพื่อขอให้ อัยการสูงสุด และคณะกรรมการอัยการ หรือ ก.อ. ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจอัยการที่มีความเห็นไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งยกฟ้องนายกำพล นางนิภา และนายธนพล วิระเทพสุภรณ์ ทั้งที่ตามหลักฐานเส้นทางเงินจากเครื่องรูดบัตร 6 เครื่อง ไปเข้าบัญชีนายกำพล และพวก แสดงว่านายกำพล เป็นเจ้าของอาบอบนวดวิคตอเรียซีเครท แต่มีคนอื่นมารับสมอ้างแทน

นายรณสิทธิ์ บอกว่า ก่อนหน้านั้น อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องนายกำพล นางนิภา และนายธนพล ต่อศาลอาญา ฐานร่วมกันค้ามนุษย์ แต่มากลับความเห็นไม่อุทธรณ์ ในภายหลัง ทำให้ในเวลาต่อมา ทั้งนางนิภา และนายธนพล ได้อ้างผลคำตัดสินคดีร้องขอความเป็นธรรม และเพิกถอนหมายจับ ส่วนนายกำพล อัยการ ยื่นอุทธรณ์ และมีคดีอาชญากรรมข้ามชาติติดตัวอยู่อีก 1 คดี

นายรณสิทธิ์ บอกว่า การยื่นหนังสือวันนี้เพื่อขอทราบเหตุผล และให้อัยการสูงสุด และกรรมการอัยการ ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของอัยการ ว่ามีเหตุผลใดที่สั่งไม่อุทธรณ์ ทั้งๆ ที่อำนาจดังกล่าวเป็นดุลพินิจของอัยการสูงสุด และขอให้แจ้งผลมาที่มูลนิธิฯ ทราบด้วย

158816291978

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา นายรณสิทธิ์ เคยเข้าให้ข้อมูลการล่อซื้อบริการเด็กที่วิคตอเรียซีเครท กับคณะทำงานอัยการ ซึ่งตั้งขึ้นโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมกับตัวแทนเครือข่ายต่อต้านการค้ามนุษย์ 13 องค์กร แต่ผ่านมา 2 เดือนแล้วยังไม่มีความคืบหน้า แต่อย่างใด

สำหรับมูลเหตุแห่งคดีนี้ หลังจากที่ กรมการปกครอง ทหาร ตำรวจ ดีเอสไอ และมูลนิธิรณสิทธิ์ฯ เข้าตรวจค้นสถานบริการอาบอบนวดวิคตอเรีย ซีเครท พบหญิงบริการต่างด้าวและคนไทย 109 คน โดยจับกุมนายศรัทธาธรรม แจ้งฉาย กับพวก รวม 7 คน ต่อมาจากการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายศรัทธาธรรม กับพวก เป็นผู้จัดการและพนักงานเชียร์แขก ส่วนเจ้าของสถานบริการอาบอบนวดวิคตอเรีย ซีเครท คือ นายกำพล นางนิภา และนายธนพล วิระเทพสุภรณ์ มีนายศรัทธารรรม กับพวก เป็นตัวแทนในการดำเนินการ

จากหลักฐานที่ตรวจยึดจากวิคตอเรียซีเครท นายกำพล เป็นเจ้าของ และเป็นผู้รับเงิน เนื่องจากมีการตรวจยึดครื่องรูดบัตรได้ 6 เครื่อง และเงินจากเครื่องรูดบัตรเครดิต มีการโอนเข้าบัญชีของนายกำพล กับพวก กระแสเงินที่ไหลผ่านเข้าบัญชีของนายกำพล หลายร้อยล้านบาท ดังนั้น พนักงานอัยการ มีความเห็นสั่งฟ้องนายกำพล นางนิภา วิระเทพสุภรณ์ กับพวก รวม 45 คน ข้อหาค้ามนุษย์และค้าประเวณี แต่นายกำพล หลบหนีหมายจับ คงมีการส่งฟ้องตัวจำเลย ต่อศาลอาญาเพียง 6 คน แยกเป็นคดีอาญา 3 คดี คือ คดีหมายเลขดำที่ คม. 24/2561 คม. 25/2561 และ คม. 26/2561

ต่อมา คดีหมายเลขคำที่ คม. 25/2561 และคคีหมายเลขดำที่ คม. 26/2561 ศาลอาญาพิพากษาลงโทษนายศรัทธารรรม และพวก ซึ่งรับสารภาพ แต่ทั้งนี้ ศาลยังได้กล่าวถึงในคำพิพากษาเหมือนกันทั้ง 2 คดี โดยมีสาระสำคัญ คือ "การกระทำของนายกำพล นางนิภา และนายธนพล จึงไม่ใช่การกระทำความผิดต่อกฎหมาย ทั้งมิใช่การกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์และค้าประเวณีแต่อย่างใดด้วย" ซึ่งเป็นที่นำสังเกตว่า บุคคลทั้ง 3 ราย ยังหลบหนีหมายจับ และยังไม่ได้ตัวมาฟ้องคดีแต่ประการใด และต่อมาปรากฎว่า อัยการ มีตงความเห็นไม่อุทธรณ์ กรณีนางนิภา และนายธนพล