‘เรียนออนไลน์’ กับความ 'ไม่พร้อม' ของครอบครัวไทย การศึกษาจะไปทางไหนในวิกฤติโควิด-19

‘เรียนออนไลน์’ กับความ 'ไม่พร้อม' ของครอบครัวไทย การศึกษาจะไปทางไหนในวิกฤติโควิด-19

การเรียนและการสอนออนไลน์ที่เริ่มทดลองในวันที่ 18 พ.ค ปัญหาหลักๆ คือความไม่พร้อมของผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน นอกจากนี้ยังเป็นการตอกย้ำถึงความเหลื่อมล้ำของดิจิทัลในประเทศไทย

วันที่ 18 พฤษภาคมนี้ สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะทดลองจัดการเรียนการสอนระบบทางไกลและออนไลน์ เพื่อเตรียมพร้อมเปิดภาคเรียนวันที่ 1 กรกฎาคม 2563

โดยระดับปฐมวัยถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ (DLTV) ส่วนมัธยมศึกษาตอนปลายผ่านช่อง DLTV และระบบออนไลน์โดยครูต้นแบบ 

หากสถานการณ์ไม่คลี่คลายจะจัดต่อเนื่องถึง 30 เมษายน 2564 พร้อมประสานงานกับหน่วยงานด้านการทดสอบและคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ และกลับมาจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยให้เว้นระยะห่างทางสังคมหากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย

แต่การเรียนออนไลน์ที่กำลังจะถึงนี้ คือการการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งดีอย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือ? 

  • ผู้ปกครองยังไม่พร้อม 

โพสสำรวจความคิดเห็น ‘คุณคิดว่า #เปิดเทอม63 เด็กไทยพั่วประเทศพร้อมเรียนออนไลน์หรือไม่เพราะอะไร’ ของ JS100 Radio บนหน้าเพจเฟสบุ๊ค ผลพบว่ามีคนเพียง 12% เท่านั้นที่พร้อมสำหรับเรียนออนไลน์  และ คนอีกมากกว่า 88% ที่ไม่พร้อมเรียน

โดยเหตุผลส่วนใหญ่ที่บอกว่าเด็กไทยไม่พร้อมเรียนออนไลน์นั้นคือ การเรียนต้องมีปัจจัยหลายๆ อย่างทั้งอุปกรณ์ไอที อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นไปได้ยากในทุกครอบครัวหรือเด็กทุกคนจะมีความพร้อมเรียนได้ ที่สำคัญการเรียนออนไลน์แบบนี้จะมั่นใจได้อย่างไรว่าเด็กนั้นจะตั้งใจเรียนอยู่จริงๆ 

   

158945479781

  

ข้อจำกัดของแต่ละครอบครัวแตกต่างกัน ตั้งแต่ห้อง อุปกรณ์ ความเข้าใจของพ่อแม่ อย่างตัวผมเองมีอาชีพกรีดยาง ภรรยาเป็นแม่ค้า จะเอาเวลาไหนไปนั่งเฝ้าเด็กๆ

  

ผู้ปกครองครอบครัวหนึ่งเล่าว่า ตนเองมีลูกระดับประถมและอนุบาลจำนวน 3 คน ซึ่งทั้งหมดต้องเรียนออนไลน์ตามที่นโยบายออกมา แต่เขาไม่มีเวลามานั่งเฝ้าให้ลูกเรียนได้แน่นอน

ข้อจำกัดของแต่ละครอบครัวแตกต่างกัน ตั้งแต่ห้อง อุปกรณ์ ความเข้าใจของพ่อแม่ อย่างตัวผมเองมีอาชีพกรีดยาง ภรรยาเป็นแม่ค้า จะเอาเวลาไหนไปนั่งเฝ้าเด็กๆ

  

ผู้ปกครองอีกครอบครัวหนึ่งกล่าวว่า ปัจจุบันตนเองตกงาน ขาดรายได้ ทั้งบ้านมีตนเองเป็นเสาหลัก มีลูก 2 คน แต่สองคนต้องเรียนออนไลน์ ทำให้สถานการณ์ในบ้านมันแย่ขึ้น 

ถ้าจะต้องเรียนออนไลน์ก็คงไม่ได้เรียนต่อเพราะไม่มีอุปกรณ์การเรียนถึงมีก็ต้องมีสำรองแค่ค่าเทอมก็ไม่มีจ่ายแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปซื้ออุปกรณ์

ถ้าจะต้องเรียนออนไลน์ก็คงไม่ได้เรียนต่อ เพราะไม่มีอุปกรณ์การเรียน ถึงมีก็ต้องมีสำรอง แค่ค่าเทอมก็ไม่มีจ่ายแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปซื้ออุปกรณ์

 

158945481450

  • อุปกรณ์ และอินเทอร์เน็ตไม่เอื้ออำนวย 

นอกจากความไม่พร้อมของผู้ปกครองแล้ว ปัญหาใหญ่ที่ถูกพูดถึงในวงกล้างสำหรับการเรียนออนไลน์คือ การขาดซึ่งอุปกรณ์ในการเรียน 

จากผลสำรวจของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เผยว่า ครูที่มีการประเมินเด็กนักเรียนในสังกัดตนเองนั้น ประเมินว่า มีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนออนไลน์ได้หากใช้จริง เนื่องจากไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 66% ไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้าน 57% ไม่มีสมาร์ทโฟนจำนวน 36% โดยครูประเมินว่า นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ได้เพียง 45% เท่านั้น

  

มีนักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ได้เพียง 45%

- ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 66% 
- ไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้าน จำนวน 57%
- ไม่มีสมาร์ทโฟน จำนวน 36%

(จากผลสำรวจของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

  

เช่นเดียวกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เผยสำรวจผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ด้านสังคมที่ได้สำรวจทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 13-19 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 43,448 ราย พบว่า 60% กังวลว่าบุตรหลานไม่พร้อมจะเรียนผ่านทางระบบออนไลน์

วันเพ็ญ พูลวงษ์ ผู้อำนวยการ สสช.ระบุว่า สาเหตุหลักที่สร้างความกังวล คือ ไม่มีคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก แท็บเลต รองลงมาคือ ผู้ปกครองไม่มีเวลาและไม่มีทักษะด้านไอทีในการช่วยเหลือบุตรหลานในการเรียนออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาคือ ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้งาน และเด็กไม่มีทักษะด้านไอที

ครูโรงเรียนระดับชั้นประถมแห่งหนึ่งเล่าว่า หลังจากที่มีนโยบายให้มีการเรียนการสอนแบบอนไลน์ ตนจึงออกสำรวจบ้านนักเรียน กลับพบว่านักเรียนบางคนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ อาศัยอยู่กลางป่ายาง พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่า เด็กที่มีลักษณะแบบนี้จะเรียนออนไลน์ได้เช่นไร ยังไม่นับถึงพื้นที่ห่างไกลที่อินเตอร์เน็ต

  • ช่องว่างทางดิจิทัลในประเทศไทย

เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการอาวุธโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) ให้ข้อมูลว่า การเปลี่ยนผ่านให้นักศึกษา นักเรียน มาเรียนออนไลน์ไม่ใช่เรื่องง่ายในประเทศไทย เพราะยังมีนักเรียนอีกจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์ 

ในที่นี้หมายรวมถึง คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและพกพา และแท็บเล็ต และอินเทอร์เน็ตสำหรับใช้เรียนออนไลน์ที่บ้าน ซึ่งมักจะมาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย และเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนการเรียนในห้องเรียนมาเป็นแบบออนไลน์ ในขณะที่จะเป็นกลุ่มที่น่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการพัฒนาทุนมนุษย์

จากข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) พบว่า ปัญหาของครัวเรือนในประเทศไทยที่ใหญ่กว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากที่บ้านคือ การไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน  หากเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประเทศไทยมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์เพียงร้อยละ 21 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่ร้อยละ 49 และค่าเฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนาที่ร้อยละ 38 ขณะที่ ประเทศไทยมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีอินเทอร์เน็ตที่บ้านร้อยละ 68 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่ร้อยละ 55 และค่าเฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนาที่ร้อยละ 44 ในปี 2561

การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของครัวเรือนยิ่งยากมากขึ้นหากเป็นครัวเรือนที่มีฐานะยากจน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2560 ในประเทศไทย ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 2 แสนบาทมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพียงร้อยละ 3 ของครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 2 แสนบาทขึ้นไปมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตร้อยละ 19 ของครัวเรือนทั้งหมด และหากจำแนกตามภูมิภาคพบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์สูงถึงร้อยละ 42 ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าในภาคอื่นๆ มากกว่าเท่าตัว กล่าวคือ ครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์มีสัดส่วนร้อยละ 21 ในภาคกลาง ร้อยละ 19 ในภาคเหนือ ร้อยละ 17 ในภาคใต้ และร้อยละ 14 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • เรียนออนไลน์ คือการตอกย้ำ "ความเหลื่อมล้ำ"

จากข้อมูลในปี 2018 ของ OECD พบว่า ประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ เช่น สถานที่ในบ้านสำหรับเรียนหนังสือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องโน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มครัวเรือนที่มีฐานะดีมีความพร้อม กับครัวเรือนที่ยากลำบาก 

ภูมิศรัณย์ ทองลี่ยมนาค นักวิชาการได้เขียนบทความเรื่อง ‘การเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาในยุค COVID-19 ยิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประเด็นความเหลื่อมล้ำและทรัพยากรของผู้เรียน  บนเว็บไซต์ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยระบุว่า ประเทศที่เศรษฐกิจสังคมมีความก้าวหน้า เช่น เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ สเปน เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร อิตาลี สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เอสโตเนีย นักเรียนมากกว่า 95% มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านสำหรับเอาไว้ทำการบ้านหรือใช้ในการเรียนการสอน ขณะที่ประเทศไทยนักเรียนเพียง 53% ที่มีคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานอยู่ที่บ้าน ซึ่งหากแบ่งตามเศรษฐฐานะ มีนักเรียนกลุ่มที่มีฐานะดีที่สุดถึง 91% ที่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บ้าน ส่วนนักเรียนกลุ่มที่ยากลำบากที่สุดเพียง 17% ที่มี 

ซึ่งถือว่าเป็นความเหลื่อมล้ำที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งการขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปสรรคหลักในการเรียนการสอนในแบบออนไลน์ ระบบแพลตฟอร์มของการเรียนทางออนไลน์ ส่วนใหญ่ถูกออกแบบไว้สำหรับทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ 

ดังนั้นการไม่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จึงทำให้การเรียนแบบออนไลน์เป็นไปได้ยาก รัฐบาลของหลายๆ ประเทศหรือระบบการศึกษาจะใช้วิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์สำหรับครอบครัวที่ยากจนด้อยโอกาสโดยการแจกหรือให้ยืมเครื่อง รวมถึงการได้รับบริจาคจากภาคเอกชน

เช่นบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เช่น ในสหรัฐอเมริกานิยมการบริจาคหรือซื้อโน้ตบุ๊ค Google Chromebook ซึ่งมีราคาถูกให้กับเด็กที่ยากจนและไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้

อย่างไรก็ตามประเทศไทยมิใช่ประเทศเดียวในโลกที่มีปัญหานี้ หลายประเทศต่างต้องเผชิญกับปัญหานี้ไปด้วยกันและสามารถที่จะเรียนรู้บทเรียนและแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันได้