ทางรอดคนไทยฝ่าวิกฤต'โควิด-19'

ทางรอดคนไทยฝ่าวิกฤต'โควิด-19'

สถานการณ์โรคโควิด-19 ที่แพร่ระบาดทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อประชาคมโลกไม่เฉพาะแต่มิติด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงมิติเศรษฐกิจและสังคมด้วย


    ในการเสวนา “ทิศทางไทย:ฝ่าวิกฤติโควิด-19 สู่ชีวิตวิถีใหม่” เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 จัดโดยสำนักงานกองทุนสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)มีการคาดการณ์ว่าหลังวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้ สังคมโลกจะเผชิญปัญหาใหญ่อย่างน้อย 5 เรื่องหลัก จากรอยโรคโควิด-19ที่เหลืออยู่ แต่ก็มีโอกาสที่ประเทศไทยจะเดินไปสู่เส้นทางจุดหมายวิถีใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
       นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการรัฐมนตรีว่าการรกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และอดีตนายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรมป้องกัน สาขาระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าโรคโควิด-19 ไม่ใช่หนังสั้นแต่เป็นหนังซีรีย์ย่าว กินเวลาอย่างน้อย 12 เดือนอย่างแน่นอนหรืออาจจะยาวนานกว่า และจะอยู่ไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ ฉากตอนที่ต้องเขียนบทให้ดีสำหรับประเทศไทยนับจากนี้ คือ จะต้องเผชิญกับการที่คนไทยเดินทางกลับเข้าประเทส ฤดูกาลไข้หวัดใหย้ประจำปีเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ถึงกันยายน การผ่อนปรนระยะที่ 4 ในปลายเดือนมิ.ย.กลุ่มธุรกิจสีแดง เช่น สถานบันเทิง สสนามพนันต่างๆ เปิดโรงเรียนต้นเดือนกรกฎาคม เปิดการท่องเที่ยวในประเทศ นักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับเข้ามา

      158979710175
     สิ่งเหล่านี้จะต้องมีแผนเตรียมการรองรับอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร นอกจากนี้ การระบาดในกลุ่มเปราะบางจะเกิดขึ้น ทั้งผู้ต้องขังในเรือนจำ แรงงานข้ามชาติ ชุมชนแออัด สถานสงเคราะห์ และโรงพยาบาล รวมถึง ปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆที่จะตามมา เช่น สุขภาพจิต และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อีกทั้ง บรรทัดฐานใหม่(New Normal) จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยม 5 เอส (5S) ให้เกิดผลระยะยาว ฝังลึกในสังคม ได้แก่ 1.Safety ความปลอดภัยด้านสุขภาพมาก่อนความสนุกสนาน 2.Small งานสังคมเล็กแต่ซึ้ง 3.Save resources ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลดการใช้พลังงาน ลดเวลาที่เปล่าประโยชน์ ลดการพบแพทย์ 4.Social justice คำนึงถึงส่วนรวมและลดความเหลื่อมล้ำ และ5.Spiritual dimension คุณค่าด้านจิตวิญญาณ


ขณะที่ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ กรรมกการคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19(ศบค.) มองว่า สถานการณ์ที่โลกต้องเผชิญหลังวิกฤตโควิด-19 ทุกประเทศมีความจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยเงินจำนวนมหาศาล เกิดหนี้สาธารณะที่ทำให้เกิดปัญหาตามมา คือ ภาระหนี้ ความไม่คล่องตัวในการใช้ทรัพยากรในอนาคต และภาระหนี้แก่คนรุ่นใหม่ รวมถึง พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนแปลง ธุรกรรมการใช้จ่ายเปลี่ยนแปลง กระทบโครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ และชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งปัญหาที่ทั่วโลกจะเผชิญ 5 เรื่องสำคัญ ได้แก่ การว่างงาน สงครามการค้า วิกฤติราคาน้ำมัน ตลาดทุน และความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ

158979713067

เป็นไม่ได้ที่จะแก้ไขปัญหาให้จบภายในปี 2563 ซึ่งมีการพยากรณ์หลายสำนักระบะว่าประเทศไทยจะกลับมาในไตรมาสแรกของปี 2564 แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการมีวัคซีนและยารักษา ซึ่งในระยะยาวการฟื้นฟูประเทศ ควรกำกับการใช้เงินกู้จากพรก.ในการแก้ไขวิกฤตโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เงินกู้เพื่อกระตุ้นการผลิตและการจ้างงาน ปรับคุณภาพแรงงานให้มีทักษะพร้อมกับโลกยุคใหม่ แก้ความเหลื่อมล้ำ พร้อมสร้างความมั่นใจให้นานาชาติ ไม่มุ่งเฉพาะการเยียวยา”รศ.ดร.วรากรณ์กล่าว



นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กล่าวว่า มาตรการ หรือนิว นอร์มัล(New Normal) หรือการสร้างสันดานใหม่ จะต้องดำเนินการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.สร้างนิวนอร์มัลในเรื่องระบบสุขภาพ ระบบป้องกันตนเองให้ได้ จะเป็นเรื่องบวก จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาส อย่าไปรอความช่วยเหลือของใคร ครั้งนี้ต้องเป็นคนกำหนดชีวิตตัวเอง อย่าไปรอรัฐบาล 2.ต้องพึ่งตัวเอง โดยการ”พึ่งตนเพื่อชาติ” เช่น กรณีมีหน้ากากอนามัยไม่เพียงพอ ประชาชนก็เย็บหน้ากากผ้าใช้เอง หรือร่วมมือกับคนที่มีความสามารถในเย็บผ้ามาเย็บหน้ากากผ้าขาย เป็นต้น และสร้างภูมิคุ้มกันในตน เช่น สร้างสภาพแปสดล้อมให้อากาศบริสุทธื และ3.เน้นสังคมแบ่งปัน ช่วยเหลือกันลและกัน แทนที่จะเป็นสังคมแข่งขันเหมือนอย่างที่โลกกำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน

158979718281

   "โอกาสกลับไปเป็นลูกจ้างใหม่ใน 3-6 เดือนเป็นไปไม่ได้เลย จึงต้องดิ้นรนหาทางพึ่งตนเองให้ได้ เป็นการพึ่งตนเพื่อชาติ เตรียมพร้อมสร้างกิจการเล็กของตัวเอง ซึ่งมีพรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม สามารถไปจดทะเบียนบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ เสร็จแล้วกำหนดแผนให้ชัดเจนไปยื่นจดทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ก็จะมีบริษัทของตนเอง ช่วยได้ทั้งชุมชน หาก 1 ชุมชน เกิดได้ 2-3 บริษัทและทำในเรื่องอาหาร ยา เครื่องป้องกัน หรือเรื่องที่เป็นโอกาสในยามวิกฤต จะทำให้เกิดเอสเอ็มอีได้ขึ้นจริงๆ โดยเริ่มจากการสร้างองค์กรเล็กๆเองแล้วค่อยขยายใหญ่ขึ้น”นายวิวัฒน์กล่าว

158979700862

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การขับเคลื่อนการสร้างชีวิตวิถีใหม่จะเชื่อมโยงปัจจัยและระบบสุขภาพ สังคม การศึกษา เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ โดยรัฐและสังคมไทยต้องร่วมกันกำหนด จุดหมายของวิถีใหม่ที่เห็นพ้องกันว่าจำเป็นและเหมาะสม โดยอาจร่วมกับโลกในการเร่งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ประชาคมโลกได้ลงปฏิญญาไว้แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและใช้กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้ ในก้าวเบื้องต้นของการเดินทางไกลในขณะนี้ สสส. และภาคีเครือข่าย ได้จัดทำไกด์ไลน์แนวทางปฏิบัติการสร้างชีวิตวิถีใหม่แล้ว 7 คู่มือ อาทิ การป้องกันและเฝ้าระวังโรค มาตรการสำหรับโรงเรียน การจัดระเบียบสังคม การสร้างความเข้าใจเพื่อลดการตีตราผู้ป่วย โดยได้กระจายให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน และสถานศึกษา มากกว่า 1 แสนเล่ม ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดคู่มือได้ที่ www.thaihealth.or.th


เหนือสิ่งอื่นใดการจะทำให้ประชาชนก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้การดูแลมิติของสุขภาพใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ กล่าวผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์ว่า การรักษาใจสำคัญไม่แพ้กับการรักษากาย การใช้ชีวิตวิถีใหม่ช่วงยุคโควิด-19 มีหลักปฏิบัติ 4 ข้อที่ช่วยทุกคนได้ คือ 1.ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ตระหนักว่าความเครียด วิตก กลัว ทำร้ายจิตใจ 2.พยายามอย่าอยู่นิ่ง หากิจกรรมทำคลายเครียด 3.ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ผลิตหน้ากากผ้าแบ่งปันตามกำลังที่พอทำได้ 4.ปรับตัว หาช่องทางเพิ่มรายได้ เช่น การขายผ่านออนไลน์ อย่างไรก็ตาม วัดเป็นสถานที่พึ่งพิงของประชาชน ในช่วงวิกฤตมีการช่วยเหลือด้านปัจจัย 4 อาหาร และเป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจโดยใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นพลังทางใจให้ประชาชนผ่านวิกฤตไปได้