จับตา 'การบินไทย' จ่อเพิ่มทุน 8 หมื่นล้าน

จับตา 'การบินไทย' จ่อเพิ่มทุน 8 หมื่นล้าน

จับตาแผนฟื้นฟูกิจการ "การบินไทย" จ่อเพิ่มทุนกว่า 8 หมื่นล้านบาท หลังลดพาร์เหลือ 1 สตางค์ ซื้อใจเจ้าหนี้รับแผนลดหนี้-แปลงหนี้เป็นทุน

ล่าสุด ศาลล้มละลายกลางรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI และนัดไต่สวนคำร้องเจ้าหนี้และลูกหนี้ในวันที่ 17 ส.ค. 2563 ก่อนจะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการต่อไปหรือไม่

อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการทำแผนและบริหารแผนฟื้นฟูกิจการขึ้นมารองรับ 6 ท่าน ประกอบด้วย พล.อ.อ. ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน นายจักรกฤศฏิ์ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายบุญทักษ์ หวังเจริญ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวรและนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ โดยจะทำหน้าที่เสนอแผนทั้งหมด และมีบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายและบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ EY เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟู

159055765452

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะผู้บริหารแผนจะจัดทำแผนฟื้นฟูเพื่อเสนอต่อเจ้าหนี้ โดยแผนเบื้องต้นจะทำการลดทุนจดทะเบียน โดยการลดราคาพาร์ จากหุ้นละ 10 บาท เหลือ 1 สตางค์ เพื่อรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนนำเสนอแผนต่อเจ้าหนี้ จากนั้นจึงจะมีการเพิ่มทุนอีก 5-8 หมื่นล้านบาท เพื่อให้การบินไทยเดินหน้าต่อไปได้

การลดทุนจดทะเบียนเหลือหุ้น 1 สตางค์ จะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อผู้ถือหุ้น โดยกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 1,044.93 ล้านหุ้น คิดเป็น 47.86% ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วหลังจากขายหุ้น 69 ล้านหุ้นหรือ 3.17% ให้กับกองทุนวายุภักษ์ 1 ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนวายุภักษ์ 1 เพิ่มจาก 330.08 ล้านหุ้นเป็น 399.08 ล้านหุ้น คิดเป็น 18.29% ส่วนบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ฯ ถือหุ้น 71.65 ล้านหุ้นคิดเป็น 3.28% และธนาคารออมสิน 46.41 ล้านหุ้นคิดเป็น 2.13%่

ดังนั้นกระทรวงการคลังจะสูญเสียไป 10,438 ล้านบาท กองทุนวายุภักษ์ 1 จะสูญเสีย 3,986 ล้านบาท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จะสูญเสีย 715.78 ล้านบาท และธนาคารออมสินจะสูญเสียไป 463 ล้านบาท

ขณะเดียวกันการบินไทยยังมีแผนจะเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 5-8 หมื่นล้านบาท ดังนั้นหากผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องการรักษาสัดส่วนการถือหุ้นไว้ กระทรวงการคลังจะต้องใส่เงินเข้าไปอีก 2.35-3.82 หมื่นล้านบาท กองทุนวายุภักษ์ 1 เพิ่มทุนอีก 1.46 หมื่นล้านบาท ไทยเอ็นวีดีอาร์ 2,624 ล้านบาทและ ธนาคารออมสิน 1,704 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามหากคิดต้นทุนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังที่มีต้นทุนอยู่หุ้นละ 14 บาท เท่ากับว่ากระทรวงการคลังจะเสียหายจากการลดทุนครั้งนี้ 1.4 หมื่นล้านบาท

นอกจากนั้น เจ้าหนี้สถาบันการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารรัฐ จะมีการแปลงหนี้เป็นทุน เพื่อให้เงินกู้ยืมอีก 50,000 ล้านบาท โดยธนาคารกรุงไทยเป็นเจ้าหนี้ 8,000 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 3,000 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า 437 ล้านบาท และธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย