วันสุดท้าย! แห่ยื่นสิทธิ์เยียวยา 5,000 'เราไม่ทิ้งกัน' - ประกันสังคมแจงลั่นเงินว่างงานมาตรา 33
ประชาชนแห่ยื่นสิทธิ์เยียวยา 5,000 บาท "เราไม่ทิ้งกัน" วันสุดท้าย เจ้าหน้าที่เผยปัญหาที่พบกรอกข้อมูลเอกสารผิด - ส่วน "ประกันสังคม" แจงลั่นเงินว่างงานมาตรา 33 ใครได้หรือไม่ได้เงิน
จากกรณีที่มีประชาชนร้องเรื่องไม่รับเงินเยียวยา 5,000 บาท ในโครงการเราไม่ทิ้งกันนั้น ทำให้บางคนไม่ได้รับเงินเยียวยา ทางรัฐเปิดโอกาสให้มายื่นคำร้องขอสิทธิ์ลงทะเบียนรอบสุดท้าย เพื่อขอใช้สิทธิ ขณะที่ประกันสังคม เผย ซึ่งผู้ใดมีมาตรา 33 อยู่แล้ว จะไม่ได้สิทธิ์โครงการเราไม่ทิ้งกัน ถ้าลูกจ้างไม่ตกงาน ถือว่าไม่ได้รับผลกระทบ จะไม่รับสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
ที่ศูนย์ดำรงธรรม ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม วันสุดท้ายผู้มีสิทธิ์ได้รับการชดเชยรายได้ตามมาตรการชดเชยรายได้ 5,000 บาท ประชาชนต่างนำเอกสารเพื่อตรวจคุณสมบัติ ซึ่งบางรายยังไม่เคยได้รับเงินเลย หรือบางรายว่าเอกสารไม่ผ่าน จึงได้มายื่นคำร้องเพื่อขอใช้สิทธิ์ที่ตนเองจะได้รับ
นางจันทร์เพ็ญ ศักดิวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า ศูนย์ดำรงธรรมฯ ขานรับนโยบายกระทรวงมหาดไทย โดยการจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนแก่ประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2563 เป็นต้นมา
ล่าสุดได้มีการเปิดลงทะเบียนรับเงินเยียวยาโครงการไม่ทิ้งกัน โดยมีเงื่อนไขคือ 1. เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย 2. มีอายุ18ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป ณ วันลงทะเบียน 3. เป็นแรงงานลูกจ้างชั่วคราว หรือผู้ประกอบการอาชีพอิสระ ที่ไม่เป็นผู้ประกันตน ซึ่งมีสิทธิ์ได้รับผลกระโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
4. ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐหรือผู้รับบำนาญปกติหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ 5. เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 6. มีบัญชีเงินฝากในสถาบันการเงินใดก็ได้หรือมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนตัวเลขบัตรประชาชน13หลัก 7. ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการผ่านเว็บไซด์ เราไม่ทิ้งกัน ถึงวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 เป็นวันสุดท้าย โดยบางคนยังไม่ได้รับสิทธิ์
ซึ่งล่าสุดได้มีการเปิดให้มายื่นคำร้องตรวจคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ได้รับการชดเชยรายได้ตามมาตรการชดเชยรายได้ 5,000 บาท จากวันที่ 18 พฤษภาคม 62 สิ้นสุดถึงวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 นั้นได้มีประชาชนมายื่นคำร้องแล้ว 1,817 ราย โดยปัญหาที่พบส่วนมากคือกรอกข้อมูลผิดพลาด โดยจะมีเจ้าหน้าที่อธิบาย ให้เข้าและชัดเจนเพราะเป็นรอบสุดท้ายแล้ว
นางจารุรัศมิ์ โคตรคำ นักวิชาการแรงงงานชำนาญการ สำนักงานประกันสังคม จังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า ระบบประกันสังคม หมายถึงลูกจ้างที่มีสถานประกอบการที่มีนายจ้าง เมื่อเข้ามาเป็นลูกจ้างกฎหมายจะจัดเก็บเงินสบทบจากรัฐบาล เพื่อที่จะให้สิทธิประโยชน์กับลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน ในสิทธิประโยชน์ 7 กรณี เจ็บป่วย สิทธิกรณีคลอดบุตร ทุพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ คลอดบุตร ว่างงาน
ซึ่งในสถานการณการแพร่ระบาดโควิด19 ปรากฏว่ามีกดกิจการได้รับผลกระทบ อาจจะจำเป็นต้องงดกิจการชั่วคราว เนื่องจากรัฐมีคำสั่งให้หยุด หรือนายจ้างหยุดกิจการเอง ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิดทางภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวลูกจ้างไม่ได้ทำงาน ลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้าง ถือว่าลูกจ้างได้รับผลกระทบแล้ว ซึ่งประกันสังคมในสิทธิประโยชน์กรณีว่างาน ที่จะเข้ามาดูแลผู้ประกันตนในตามมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
โดยกฎกระทรวงกำหนดอัตราสิทธิประโยชน์เนื่องจากเหตุสุดวิสัย จากการที่ลูกจ้างถูกกักตัว 14 วัน จากการที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวจากคำสั่งรัฐ หรือนายจากหยุดกิจการเอง บางส่วนหรือทั้งหมด ลูกจ้างต้องได้รับสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากประกันสงคม ในอัตรา 62 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างเป็นเวลา 90 วัน โดยเปิดเว็บไซด์ของประกันสังคมให้ลูกจ้างลงทะเบียน นายจ้างมีหน้าที่ได้รับรองให้กับลูกจ้าง ว่ากิจการได้รับผลกระทบ จำเป็นต้องหยุดจ้างและมีลูกจ้างกี่รายที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลนายจ้างลูกจ้างต้องตรงกัน ประกันสังคมก็จะทำหน้าที่จ่ายสิทธิประโยชน์ให้ได้ ถ้าลูกจ้างมีนายจ้างยังทำงานอยู่แม้ว่าลดวันการทำงานถือว่าไม่ได้รับผลกระทบไม่มีสิทธิรับเงินเยียวยาจากรัฐบาล