‘วันภาษาไทยแห่งชาติ’ เคล็ด(ไม่)ลับ ‘สอนภาษาไทย’ อย่างไร? ให้สนุก
ประกาศภาวะสังคมไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ประเด็นการอ่านหนังสือพบว่า คนไทยอ่านหนังสือและใช้เวลาอ่านเฉลี่ย 80 นาที ขณะที่เด็กวัยเรียนยังมีปัญหาอ่านไม่ออกและขาดทักษะด้านการอ่าน
โดยต้องเน้นการลงมือปฏิบัติ ฟัง พูด อ่าน เขียน และให้นักเรียนได้เรียนรู้มีประสบการณ์จริงในบทเรียนนั้นๆ เช่น การสอนวรรณคดีไทย เรื่องรามเกียรติ์ นอกจากครูกับเด็กจะช่วยกันเล่าเรื่องแล้ว ต้องมีการเปิดเป็นสื่อวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว การ์ตูนแอนิเมชั่น หรือพาไปดูโขน ก่อนนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้ได้เข้าใจเนื้อหาและสามารถเล่าเรื่องได้อย่างชัดถ้อยชัดคำ ถูกต้องตามหลักภาษา
หรือบทเรียน ควายข้าวและชาวนา มีการพานักเรียนไปทัศนศึกษา ไปเรียนรู้จากสถานที่จริง ดูวิธีการปลูกข้าว เมื่อเห็นของจริงก็มาเล่าเรื่องได้ถูกต้องครูคอยช่วยเหลือ มีใบงานให้ได้หัดเขียน หัดอ่าน เป็นต้น
“ครูพรรณพิไล” เล่าเสริมว่าทุกวันครูต้องมาทำแผนการสอนร่วมกัน เพื่อค้นหาพัฒนาสื่อการสอนใหม่ๆ มาสอนและทำให้การเรียนรู้แต่ละช่วงชั้นมีความต่อเนื่องกันต้องออกแบบกิจกรรม ค้นหาสื่อการสอนใหม่ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย ซึ่งการสอนเด็กตอนนี้ไม่ยาก พวกเขากล้าถาม กล้าแลกเปลี่ยนกับครู แต่ครูต้องรับฟัง และค่อยๆ นำเข้าสู่บทเรียน เนื้อหาที่ถูกต้อง สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้สนุกสนาน เมื่อพวกเขาสนุกก็พร้อมที่จะเรียนรู้ อยากเรียนภาษาไทย
“สิ่งที่อยากให้เพิ่มเติมแก่โรงเรียนต่างๆ คือ หนังสือนอกเวลาเรียนดีๆ สอนทักษะให้แก่เด็กยังเป็นสิ่งที่ครูต้องการ ยิ่งยุคสมัย องค์ความรู้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หนังสือนอกเวลาเรียนต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และควรจะมีหลากหลายให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ให้ครูได้นำมาเป็นสื่อการสอน ช่วยกันอ่านออกแบบชั้นเรียนร่วมกันวันภาษาไทยนี้ อยากให้ครูทุกคนพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ค้นหานวัตกรรมการเรียนรู้ สื่อการสอนสมัยใหม่ ที่จะนำมาใช้พัฒนาเด็กตามเป้าหมาย มีสมรรถนะตามที่ต้องการ”ครูทั้ง 2 ท่านฝากทิ้งท้าย