บิ๊กคอร์ปเดินหน้าสู้โควิดยึด'ออนไลน์'เพิ่มโอกาสธุรกิจ

บิ๊กคอร์ปเดินหน้าสู้โควิดยึด'ออนไลน์'เพิ่มโอกาสธุรกิจ

ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่! ตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.2563  แต่ภาคธุรกิจยังคงเดินหน้ารีสตาร์ทพลิกฟื้นธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมี “ออนไลน์” เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญสร้าง “โอกาสใหม่”  กระจายความเสี่ยงจากธุรกิจและรายได้หลักดั้งเดิม

ทั้งตอบสนองวิถีชีวิตแบบใหม่ หรือ นิวนอร์มอล พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง ใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น เป็นเมกะเทรนด์ที่สินค้าและบริการต้องเกาะติด เป็นปัจจัยเร่งให้ธุรกิจปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญ 

บุญเกียรติ โชควัฒนา  ประธานกรรมการ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไอ.ซี.ซี.ฯ รีสตาร์ทธุรกิจ ด้วยการทำสิ่งที่เคยทำน้อยมาทำให้มากขึ้นเพื่อสร้างยอดขาย!  เช่น การกิจกรรมกระตุ้นการขายจับตลาดคนไทย จากเดิมเน้นต่างชาติ การโฟกัสช่องทางขาย ออนไลน์” แทนหน้าร้านที่ถูกกระทบ อีกเรื่องที่ต้องทำเข้มข้น คือ งัดวิชาตัวเบามาใช้ บริหาร ค่าใช้จ่าย” ให้มีประสิทธิภาพ คุ้มค่ามากขึ้น เพราะนาทีนี้ทุกบาททุกสตางค์มีความหมาย

ตอนสถานการณ์ดีๆ เราอาจใช้เงินไม่คุ้มค่า แต่จากนี้ไปตัองบริหารจัดการให้คุ้มค่ามากขึ้น เพราะแนวโน้มธุรกิจเสื้อผ้า แฟชั่น ยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเร็ว”

วิกฤติโควิดปี 2563 ที่ว่าแย่ แต่ปี 2564 “ท้าทาย” ยิ่งกว่า ในมุมมอง โรเบิร์ต แคนเดลิโน ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ประเทศไทยและอาเซียน กล่าวว่า ธุรกิจยังเผชิญหน้ากับ ความไม่แน่นอน” รอบด้าน และมีผลต่อเคลื่อนธุรกิจ เพื่อไม่ประมาทการมี แผนสำรอง กลยุทธ์การตลาดที่พร้อมจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อผลักดันการเติบโตไปสู่เป้าหมาย

นอกจากนี้ การสร้างสินค้าใหม่สำคัญ เพื่อกระตุ้นตลาด การบริโภค เพราะการ รอ” ความหวัง นักท่องเที่ยว” กลับมาฟื้นเศรษฐกิจไทยยังยากมาก

ปีหน้าต้องทำงานยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่มีใครมีแผน กลยุทธ์แม่นยำ ต้องมีแผนสำรอง เพราะเราไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นอีก”

ด้าน เจ้าพ่อโรงหนังที่ทำธุรกิจมายาวนาน นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และโควิดทำให้เผชิญ ขาดทุน” ครั้งแรกรอบ 20 กว่าปี แต่ วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) มองอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ทั้งไทยและทั่วโลกจะเป็นการ “Reinvent” หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ทำในสิ่งที่เหนือความคาดหมาย!

สิ่งใหม่ๆ ที่เมเจอร์ฯ ทำ เช่น ผนึกพันธมิตรสร้างหนังไทย เพื่อป้อนโรงหนัง เพราะช่วงโควิดระบาดขาดแคลนหนังฉายอย่างมาก โดยเฉพาะหนังฟอร์มยักษ์จาก ฮอลลีวู้ด” ไม่ปล่อยออกมายังตลาดทั่วโลก เมื่อธุรกิจต้องพึ่งพา คอนเทนท์” แต่กลับไม่มีเสิร์ฟคนดู การยืนด้วยลำแข้งตัวเองเป็นสิ่งจำเป็น

เมเจอร์ฯ สร้างหนังมา 7-8 ปี วิชา” ระบุว่าไม่ใช่สิ่งที่ถนัดและเป็นเพียง Baby แต่การมีพันธมิตรมากประสบการณ์ ทำให้หนังประสบความสำเร็จทำเงินเป็นกอบเป็นกำ การลุกขึ้นมาค้าขายสินค้า(Trading)ขายป๊อปคอร์น”จากหน้าโรงหนังไปสู่ความอร่อยถึงบ้าน และจะกระจายสู่ ห้างร้านค้าปลีก” ซึ่งเจรจากับคู่ค้าอยู่

เรา Reinvent ตัวเองมากกว่าคำว่า New Normal ใช่มากๆ เราต้องปรับตัวไปให้เร็วต้องยืดหยุ่นความเร็วเป็นสิ่งที่ซีอีโอทุกคนต้องทำอยู่แล้ว”

ภารกิจต่อกรกับวิกฤติของ วิชา” ปี 2564 จะสร้างหนังไทยเพิ่มเท่าตัวหรือกว่า 20 เรื่อง จะลงทุนต่อสร้างโรงภาพยนตร์ราว 20 สาขา ดึงเทคโนโลยีมาใช้ในทุกเสาหลักธุรกิจ ยกระดับองค์กรสู่การเป็นต้นแบบ Total Digital Organization ภายใต้งบลงทุนปกติ (CAPEX) 1,000 ล้านบาท และยังสานเป้าหมายการฟื้นกำไร! กลับมาให้ได้

ฟากเอเยนซี่ที่กรำงานกับลูกค้าหลายอุตสาหกรรม มองโควิดทำให้พบสัจธรรม “ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” เพราะธุรกิจมากมายที่เฟื่องฟูเป็นสิบปียังถูกไวรัสร้ายกำราบ สถานการณ์ดังกล่าวผู้ประกอบการต้องมีแผนสำรองหลายชั้น ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัดหรือเอ็มไอ ฉายภาพ

ทั้งนี้ ลูกค้าทำแผน 2 แผน 3 ตั้งรับความไม่แน่นอน แผนงาานไม่มองยาว 3-5 ปี เพราะความผันผวนสูง แต่เตรียม 1-2 ปี ส่วนระยะสั้นคือ 6 เดือน ด้าน “เป้าหมาย” กำหนดยาวได้ 

ไม่ใช่แค่ลูกค้าแบรนด์ต่างๆที่ปรับตัว “เอ็มไอ” ต้องกลายพันธุ์(Mutation)จากเอเยนซี่วางแผนซื้อสื่อโฆษณาไปเป็น Solution Provider ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า เช่น ต้องการขายสินค้ามากขึ้น ต้องการสื่อสารช่องทางดิจิทัลเป็นพิเศษ การทำอีเวนท์

พีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็น “ไข่แดง” แต่ช่วงปลายเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมามีระบาดซ้ำรอบ 2 แม้จำนวนผู้ติดเชื้อจะดูมากกว่ารอบแรก แต่เชื่อว่า ภายใน 1 เดือนหรือสิ้นเดือน ม.ค.2564 ประเทศไทยจะสามารถ “เอาอยู่” ยิ่งไม่มีการจัดการฉลองปีใหม่จะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ซึ่งนับว่าโชคดีที่มีการตรวจพบก่อนมีการฉลองปีใหม่ มิเช่นนั้นอาจจะติดกันเป็นแสนคน!

ทั้งนี้ ออนไลน์มาร์เก็ต”  และ ดิจิทัลไลฟ์โซลูชั่น” จะถูกนำมาใช้รับมือ โควิดระลอกใหม่นี้อีกครั้ง โดยออริจิ้นกดปุ่มสตาร์ทตั้งแต่เดือน ม.ค. ทันทีโดยไม่รีรอ แม้ว่าช่วงเดือนม.ค. ถือเป็นช่วงโลว์ซีซันระยะสั้น เพราะคนเพิ่งกลับบ้าน ไปเที่ยวต่างจังหวัด ใช้สตางค์ไปหมดแล้ว ดังนั้น เดือนที่จะเริ่มสตาร์ท การทำตลาดจริงจังของบรรดาผู้ประกอบการอสังหาฯ จะเป็นเดือนก.พ. 2564 ซึ่งจะมีการเปิดตัวโครงการ ทำโปรโมชั่นกันเหมือนกับช่วงที่เปิดล็อกดาวน์ปีนี้ช่วงเดือน พ.ค. 2563 ที่มีการเปิดตัวโครงการ เพื่อรองรับกำลังซื้อที่อั้นเข้ามา

ปี 2564 ออริจิ้นจะเปิดตัวบ้านจัดสรรและคอนโดอย่างละ 10 โครงการ รวม 20 โครงการ มูลค่า 20,000 ล้านบาท แต่หากความรู้สึก (sentiment)ของลูกค้าในการจับจ่ายใช้สอยดี ก็สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก เพราะมีแลนด์แบงก์อยู่แล้ว

ขณะเดียวกันยังคงแสวงหา น่านน้ำใหม่” ที่เข้ามาสร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าและความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการ หนึ่งในนั้นคือการเกาะกระแสสุขภาพที่เข้ามาให้บริการแก่ลูกบ้านของออริจิ้นทั้งที่เป็นคอนโดและบ้านจัดสรร ทำให้ลูกบ้านมีสุขภาพดีไม่ต้องไปโรงพยาบาลหาแพทย์ พร้อม ลดความเสี่ยง” ในการร่วมทุนกับพันธมิตรต่างประเทศที่มีอยู่ รวมทั้งพันธมิตรใหม่ ที่มีเงินทุนและฐานลูกค้าอยู่แล้ว คาดว่า จะเปิดตัวในในไตรมาสแรก นอกจากนี้อยู่ระหว่างการศึกษาโครงการอสังหาฯ ที่มีการนำมาเสนอขายหากราคาได้ดีก็พร้อมซื้อ

ปี 2564 ตลาดที่ชะลอตัวคือกลุ่มลักชัวรี เซกเมนต์ที่เหลือน่าจะไปได้หมด เริ่มจากกลางไปจนถึงไฮเอนด์ คอนโดระดับกลางงราคา 3-5 ล้านบาท ไฮเอนด์ ราคา 5-10 ล้านบาท บ้านเซกเมนต์มาตรฐานเริ่มจากทาวน์เฮ้าส์ 3 ล้านบาท บ้านแฝด 5 ล้านบาท บ้านเดี่ยว 7 ล้านบาท บ้าน 10-20 ล้านบาท ยังดีอยู่ แต่บ้านราคา 30ล้านบาทขึ้นไป “ไม่ดี” เพราะอัตราการการดูดซับช้า เนื่องจากเจ้าของกิจการยังกังวลเรื่องเศรษฐกิจทำให้ต้องสำรองเงินไว้เพื่อรองรับความผันผวน ขณะที่กลุ่มมนุษย์เงินเดือนรีสตาร์ทแล้ว

ปีหน้าตลาดอสังหาฯ น่าจะโตบวก 20% มาจากดีมานด์คนไทย15% ต่างชาติ 5% จากภาพรวมปีนี้ตลาดลดลง 15-18%  ปีหน้าคอนโด เติบโต 25-30% เพราะปีนี้เปิดตัวน้อย ส่วนแนวราบ หรือบ้านจัดสรรลดลง หรือ ติดลบ 5% จากปีนี้เติบโตสูง ตลาดสวิงกลับมาที่คอนโด บนสมมติฐานว่า ไม่มี” โควิดกลายพันธุ์ วัคซีนเอาอยู่ ไม่มีการระบาดระลอก 3 รุนแรง

สัดส่วนคอนโดจะกลับมามากกว่าแนวราบจากปีนี้สัดส่วนตลาดแนวราบมากกว่าคอนโด