'วันครู 2564' ย้อนดูขอบเขตของการลงโทษเด็กนักเรียน ที่ครูทำได้ตามระเบียบ

'วันครู 2564' ย้อนดูขอบเขตของการลงโทษเด็กนักเรียน ที่ครูทำได้ตามระเบียบ

ศธ.ประกาศ "ระเบียบการลงโทษนักเรียนนักศึกษา" ย้ำชัดครูลงโทษได้4 สถาน "ว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนนความประพฤติ และทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม"

"วันครูแห่งชาติ" ตรงกับวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี ในปีที่ผ่านมาประเด็นเรื่องครูกลายเป็นวาระให้พูดถึงในสังคมอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องการลงโทษเด็กนักเรียน ประจวบกับเกิดกระบวนการเคลื่อนไหวของนักเรียนทั่วประเทศ "นักเรียนเลว" ที่ยื่นคำร้องปฎิรูปวงการครู กรุงเทพธุรกิจ ชวนย้อนดูระเบียบการลงโทษนักเรียนนักศึกษา เพื่อย้ำชัดว่าในความเป็นจริงแล้ว ครูมีขอบเขตกระทำกับนักเรียนได้แค่ไหน 

รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2561 พบว่าเด็กวัยอนุบาลคือกลุ่มวัยที่ถูกอบรมด้วยการทำร้ายร่างกายมากกว่าเด็กวัยอื่นๆ เสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลทางใจ ซึ่งรายงาน ThaiHealth Watch 2563 ก็พบว่า สายด่วนสุขภาพจิต 1323 มีเด็ก-เยาวชนโทรมาขอคำปรึกษาจำนวนมาก เพราะมีความเครียด วิตกกังวลสูง และกลัวเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สมอง และพัฒนาการของพวกเขาในระยะยาว

161070243339

เมื่อตรวจสอบบทการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาพบว่า ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ..2548 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ..2546 ได้กำหนดวิธีการลงโทษไว้ซึ่งจะนำมากล่าวถึงในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญดังนี้

ข้อ 4. ...การลงโทษ หมายความว่าการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน

ข้อ 5 โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี4 สถาน ดังนี้

1.ว่ากล่าวตักเตือน

2.ทำทัณฑ์บน

3.ตัดคะแนนความประพฤติ

4.ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ข้อ 6 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความ ประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับมาประพฤติตนใตนทางที่ดีต่อไปให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษ นักเรียน นักศึกษา

ข้อ 7. การว่ากล่าวตักเตือน ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง

ข้อ 8. การทำทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพ นักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือกรณีทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบ การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิดและรับรองการทำทัณฑ์บน ไว้ด้วยข้อ

9. การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนด และให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐานข้อ

10. ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยน พฤติกรรม การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

อย่างไรก็ตาม  ก่อนหน้าปี 2542 กระทรวงศึกษาธิการมีระเบียบลงโทษนักเรียน ที่อนุญาตให้ครูใช้ไม้เรียวตีนักเรียนได้หลังจากปี 2542 มีระเบียบลงโทษนักเรียน ห้ามลงโทษนักเรียนโดยการตี และล่าสุดจากระเบียบข้างต้นโดยปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย เรื่องการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ประกาศ  วันที่ 18 มกราคม .. 2548 กำหนดบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน คือ ว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนนความประพฤติ และทำกิจกรรมเพื่อปรับพฤติกรรมเท่านั้น