'กรีนเทคโนโลยี' กับโลกหลังโควิด
การผลักดันให้เทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงาน จะส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภค สิ่งสำคัญต้องปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ ทำให้เชื่อมั่นว่ากรีน เทคโนโลยีน จะนำประเทศและคนไทยไปสู่ความยั่งยืน
ศูนย์วิจัยเทเลนอร์ หน่วยงานวิจัยภายใต้เทเลนอร์กรุ๊ป ประเทศนอร์เวย์ ได้รวบรวมและวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญโดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและคาดการณ์แนวโน้มไว้น่าสนใจ โดยแนวโน้มสำคัญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แบ่งเป็น 5 หัวข้อ ได้แก่ 1.โควิดทำให้เกิดเทคโนโลยีคลายความเหงาจากมาตรการระยะห่างทางสังคม 2.โควิดสร้างเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน หรือกรีน เทคโนโลยี 3.Digital dementia ภาวะสมองเสื่อมจากดิจิทัล 4.โลกการทำงานเข้าสู่ยุคสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ 5.โควิดเร่งการมาของ EdTech
ใน 5 เทรนด์ดังกล่าว เทเลนอร์กรุ๊ป ยกให้ข้อ 2.สำคัญที่สุดในแง่ผลกระทบต่อโลก คือปัญหาเรื่องสภาวะโลกร้อน โดยให้เหตุผลว่าวันข้างหน้าโรคระบาดก็จะหายไป แต่ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมยังอยู่และอาจจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น งานวิจัยของ World Economic Forum ที่สังเคราะห์ประสิทธิผลเทคโนโลยีดิจิทัลว่าช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกได้มากถึง 15% กรีน เทคโนโลยีจึงไม่ใช่ลดการเกิดผลกระทบทางสภาวะแวดล้อม ในภาคการเกษตรซึ่งประเทศไทยควรให้ความสำคัญ สามารถช่วยเกษตรกรให้ทำงานได้อย่างแม่นยำ
การใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีดิจิทัล หากมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรมจับต้องได้ จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มมหาศาล โลกแห่งอนาคต จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การสร้างกรีน เทคโนโลยี เป็นความจำเป็นของประเทศ บทเรียนหลังโควิด รัฐบาลแต่ละประเทศ จะต้องอาศัยจังหวะนี้ในการสานต่อ รัฐบาลต้องทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ ที่สำคัญภาคเอกชนจะต้องรับลูกอย่างแน่นอน เชื่อว่าภาคธุรกิจจะมีความมั่นใจหากนโยบายรัฐบาลชัดเจน แม้วันนี้ภาครัฐจะยังไม่กระตือรือร้นท่าที่ควร
คำว่ารัฐบาล ประเทศไทยยิ่งจำเป็น ยกตัวอย่างปัญหาฝุ่นพิษหรือพีเอ็ม 2.5 ที่กำลังประสบอยู่ในขณะนี้ ยกระดับเป็นปัญหาประจำฤดูกาลไปแล้ว เราเชื่อว่ายังไม่สายหากผู้นำภาครัฐขันนอตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เดินตามไทม์ไลน์แผนการที่วางไว้แล้ว รัฐบาลต้องให้คุณและให้โทษกับหน่วยงานที่ทำงานกับหน่วยงานที่บกพร่อง ปัญหาใกล้ตัวอย่างพีเอ็ม 2.5 ก็จะคลี่คลายไปได้ แน่นอนต้องให้ความสำคัญการนำเทคโนโลยีเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมมาบริหารจัดการ กรีน เทคโนโลยียังเป็นประโยชน์สูงสุดหากนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านพลังงาน
การผลักดันให้เทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงาน จะส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภค นำไปสู่ผลการดำเนินงานที่มีกำไรอย่างภาคภูมิ เราเห็นว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. ที่ริเริ่มโรดแมพองค์กรธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี2556 สามารถเป็นหัวหอกให้ประเทศได้ รัฐบาลต้องทุ่มสรรพกำลัง ใช้ความเป็นรัฐสนับสนุนดึงภาคเอกชนอื่นเข้าร่วมขับเคลื่อน โดยใช้แรงจูงใจ เช่น ภาษี เข้ามาเสริม ขณะเดียวกันต้องปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ ทำให้คนไทยเชื่อมั่นว่ากรีน เทคโนโลยีน จะนำประเทศและคนไทยไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง ถึงวันนั้น เราจะไม่ตกขบวน โลกแห่งอนาคต