เลขาฯ ยธ.ประกาศเชิญเหยื่อกว่า 15,000 ราย รวมทุกเอกสารที่มียื่น สนง.ยุติธรรมจังหวัด ก่อนประมวลส่งเป็นข้อมูลกลับเข้ากระทรวง ภายใน 7 วันก่อนนำเทียบคดีปี 58 ยกฟ้องผู้เสียหายไม่ต้องจ่าย แก้ปัญหาผู้สูงอายุถูกเรียกเก็บเบี้ยชรา ย้อนหลัง
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564ที่กระทรวงยุติธรรมว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม(รมว.ยุติธรรม) รับเรื่องร้องเรียนจากนายสงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ในฐานะกรรมการปฎิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมเพื่อขอให้กระทรวงยุติธรรมช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกเรียกเงินเบี้ยยังชีพคนชราคืนย้อนหลัง 10 ปีหลังถูกตรวจสอบพบรับเงินซ้ำซ้อนจากเงินสงเคราะห์ที่ภาครัฐให้กับทายาทผู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจากการปฎิบัติหน้าที่ทางราชการเกือบแสนบาท
นายสงกาญ์ ระบุว่าตนเองได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้สูงอายุและทายาทจำนวนมาก ว่าถูกเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)เรียกรับเงินคืนเบี้ยยังชีพคนชราโดยตนมองว่าผู้สูงอายุมีสิทธิ์ได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงยังชีพตามกฎหมาย แม้ว่าจะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีทายาทเสียชีวิต เพราะเป็นคนละส่วนกัน
โดยขณะนี้ผู้สูงอายุมีความหวาดกลัว เนื่องจากโดนพูดจาข่มขู่ว่าหากไม่คืนเงินจะต้องติดคุก ขณะที่บางรายถูกหลอกให้เซ็นชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ที่กำหนดให้ชำระเงินคืนพร้อมอัตราดอกเบี้ย จนทำให้ต้องไปกู้เงินนอกระบบมาจ่าย ทำให้ได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า
ทั้งนี้ กรณีลักษณะเดียวกันนี้ เคยเกิดเมื่อปี 2558 ที่มีผู้ร้องเรียนกว่า 1,300 ครอบครัว และในคดีดังกล่าว คำพิพากษาศาลฎีกามีความเห็นยกฟ้องเป็นเงินผู้เสียหายไม่ต้องจ่ายเพราะถือเป็นลาภมิควรได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ในหลวง-ราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุย พระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติฯ
22 ธ.ค. 2567 | 21:54กองปราบ ค้นเป้าหมาย 4 จุด หาหลักฐานเพิ่มคดีสังหาร 'สจ.โต้ง'
22 ธ.ค. 2567 | 20:50ก.พาณิชย์ ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก เริ่ม 1 ม.ค. 68 ผ่อนผันได้ตั้งแต่ 17-31 ธ.ค. นี้
22 ธ.ค. 2567 | 19:35
ด้านว่าที่ ร.ต.ธนกฤต กล่าวว่า เบื้องต้นให้ประชาชนทั่วประเทศที่เดือดร้อนกว่า 15,000 ราย นำเอกสารหลักฐานที่ตัวเองมีรวมถึงหมายเรียก ,หมายศาล ไปยื่นที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัด โดยจะให้แต่ละจังหวัดช่วยตรวจสอบและรายงานผลเข้ามายังกระทรวงยุติธรรมภายใน 7 วัน จากนั้นจะรวบรวมข้อมูลความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นก่อนจะพิจารณาตั้งคณะทำงานเพื่อเร่งรัดเข้าช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน
โดยต้องพิจารณาอีกครั้งว่าผู้เสียหายมีเจตนารับเงินทั้งที่รู้ว่าเป็นการรับซ้ำซ้อนหรือไม่ รวมทั้งต้องตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้ชี้แจงคุณสมบัติเเละรายละเอียดของเงินที่ได้รับหรือไม่ นอกจากนี้ จะนำคำพิพากษาของคดีที่เหล่าทายาทผู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพที่เคยเข้าร้องทุกข์ในกรณีคล้ายกันนี้ จำนวน 1,300 รายมาเทียบเคียงเพื่อประกอบพิจารณาเพิ่มเติม ขอยืนยันจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย พร้อมเน้นย้ำเจ้าหน้าที่รัฐให้ระมัดระวังในการติดตามทวงเงิน อย่าให้รุนเเรงจนกลายเป็นการข่มขู่
นายปริญญ์วัฒน์ เปี่ยมปิ่นวงศ์ หัวหน้าศูนย์ยุติธรรมสร้างสุข ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรมกล่าวว่ากรณีนี้มี 2 ส่วน คือ กรณีแรกคนที่กำลังจะถูกดำเนินคดีกระทรวงมหาดไทยจะเข้าไปช่วยเหลือดูแลอย่างเร่งด่วน เเละ2.กรณีเป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างการถูกดำเนินคดีอาจให้มีการไกล่เกลี่ย แต่หากศาลมีคำสั่งแล้ว ศูนย์สร้างสุขฯ จะเข้าไปช่วยเหลือเพิ่มเติม