อุตฯ จับมือ ยุติธรรม ผุดนิคมราชทัณฑ์ สร้างงานผู้พ้นโทษ ลดพึ่งแรงงานต่างด้าว
"ยุติธรรม" จับมือ "อุตสาหกรรม" ศึกษาตั้งนิคมราชทัณฑ์แห่งแรกของโลก รองรับผู้พ้นโทษที่มีปีละ 8 หมื่นคน นำร่อง จ.สมุทรสาคร ทดแทนแรงงานต่างด้าว ช่วยแก้ปัญหาผู้พ้นโทษตกงานจนก่ออาชญากรรมซ้ำซาก สร้างรายได้ที่มั่นคง ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมที่ขาดแคลนแรงงานสูง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ในแต่ละปีกรมราชทัณฑ์มีนักโทษที่เข้าสู่ระยะการพักโทษ และพ้นโทษปีละ 7 – 8 หมื่นคน ในจำนวนนี้มีมีสัดส่วนสูงถึง 30% ที่ไม่สามารถหางานทำได้ ส่งผลให้ผู้พ้นโทษกลุ่มนี้ต้องหวนกลับไปก่ออาชญากรรมจนต้องกลับเข้าสู่เรือนจำใหม่ ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 35% ทำให้เกิดความแอออัดในเรือนจำ และเกิดปัญหาอาชญากรรมตามมาเป็นจำนวนมาก
ประกอบกับในปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล และอาหารแปรรูปที่ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากในจังหวัดสมุทรสาคร เพราะคนไทยก็มักจะไม่ค่อยเข้ามาเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้ จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่พ้นโทษเข้ามาทำงานในส่วนนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้ค่าจ้างแรงงานสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ทำให้ลดปัญหาผู้พ้นโทษกละบไปก่ออาชญากรรมใหม่จนต้องกลับมาติกคุกอีกครั้ง
ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมจึงได้ร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการตั้งนิคมอุตสาหกรรม ร่วมกันศึกษาแนวทางการตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ เพื่อรองรับผู้พ้นโทษเหล่านี้ให้มีงานทำ มีอาชีพสุจริตเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครังให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจากการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้ประกอบการในจังหวัดสมุทรสาคร ล้วนแต่สนับสนุนแนวคิดนี้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และลดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ในจังหวัดสมุทรสาครมีโรงงานกว่า 7 พันโรง หากผู้พ้นโทษเหล่านี้เข้ามาทดแทนแรงงานต่างด้าวได้เพียงโรงงานละ 10 คน ก็สามารถรองรับผู้พ้นโทษได้กว่า 7 หมื่นคนแล้ว เพียงพอรองรับผู้พ้นโทษที่ไม่สามารถหางานทำที่มีจำนวนปีละ 2-3 หมื่นคน”
โดยที่ผ่านมา กรมราชฑัณฑ์ ได้นำร้องร่วมมือกับภาคเอกชน 3 ราย คือ บริษัท กาลศิริ พาณิชย์ จำกัด บริษัท มายจักรยาน จำกัด และบริษัท เอสพีที เจริญซัพพลาย จำกัด สร้าง 4 โรงงาน ใช้เงินลงทุน 7-8 ล้านบาท ในพื้นที่เรือนจำชั่วคราวบ้านบึง ซึ่งจะผลิตจักรยานและไม้พาเลท รองรับผู้ต้องโทษได้ 300 – 400 คน รวมทั้งยังได้ส่งเสริมให้มีการฝึกทักษะอาชีพในระบบงานอุตสาหกรรม เช่น 1.กลุ่มประกอบชิ้นส่วนยาง 2.กลุ่มประกอบเฟอร์นิเจอร์ 3. กลุ่มงานโลหะ/งานเชื่อม และประกอบชิ้นส่วนโลหะเป็นผลิตภัณฑ์ 4.กลุ่มอาชีพฝีมือหัตถกรรม และ 5.กลุ่มอาชีพเกษตรแปรรูป เป็นต้น ซึ่งประสบความสำเร็จสูงมาก และทำให้ผู้ต้องโทษมีทักษะฝีมือในการทำงานพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังพ้นโทษ
“ที่ผ่านมาบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ล้วนแต่ไม่รับผู้ต้องโทษเข้ามาทำงาน ทำให้คนเหล่านี้ไม่มีงานทำต้องหวนกลับไปก่ออาชญากรรม ทำให้เป็นปัญหาสังคมเรื้อรังมานาน ซึ่งหากโครงการนี้เกิดขึ้นได้ก็จะช่วยให้ผู้พ้นโทษเหล่านี้มีงานทำเป็นหลักแหล่งแก้ปัญหาสังคงได้ตรงจุด โดยคาดว่าผลการศึกษาเบื้องต้นจะแล้วเสร็จภายในเดือนนี้”
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมกับกระทรวงยุติธรรม ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อคืนคนดีสู่สังคมในระบบงานภาคนิคมอุตสาหกรรม ระหว่าง กนอ. กับกรมราชทัณฑ์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ 2 หน่วยงานในการร่วมกันสร้างสรรค์ให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการให้โอกาสกับผู้ที่เคยก้าวพลาดในชีวิตให้กลับมามีชีวิตใหม่และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
โดยร่วมกับกรมราชทัณฑ์ในการเป็นตัวกลางประสานและประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการให้โอกาสแก่ผู้ก้าวพลาดในสถานประกอบการ สนับสนุนให้มีการจ้างงานที่เป็นแรงงานผู้ต้องขัง ให้มีการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ มีการพัฒนายกระดับฝีมือแรงงาน ตลอดจนเป็นการสร้างผู้ประกอบการใหม่ และสร้างงาน สร้างรายได้ในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้อัตราการกระทำผิดซ้ำลดลง และเป็นการคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะมีมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 2 เท่า เพื่อเป็นแรงจูงในให้กับผู้ประกอบการ
“ผู้พ้นโทษเหล่านี้หางานยาก ซึ่ง กนอ. และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเข้ามาช่วยฝึกทักษะอาชีพในภาคอุตสาหกรรมให้กับคนกลุ่มนี้ ก็จะเพิ่มโอกาสในการหางานทำหลังพ้นโทษ รวมทั้งหากโครงการนิคมราชฑัณฑ์ เกิดขึ้นได้ ก็จะช่วยสร้างงานให้กับผู้พ้นโทษได้เป็นจำนวนมาก และยังช่วยลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวในระยะยาว ทำให้ทั้งผู้พ้นโทษ และโรงงานอุตสาหกรรมต่างได้รับประโยชน์ร่วมกัน”
นายโฆสิต สุวินิจจิต ประธานคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ในการดำเนินโครงการนี้ จะมีการจัดตั้งองค์การมหาชนเข้ามาบริหารจัดการ และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพราะหากอยู่ในระบบราชการจะขาดความคล้องตัว และขาดความต่อเนื่องในการทำงาน และจะมีเจ้าหน้าที่จากกรมราชทัณฑ์เข้ามาช่วยงาน โดยกรมธนารักษ์จะเข้ามาช่วยจัดหาที่ดินของรัฐในการตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ แต่หากหาที่ดินราชการไม่ได้ ก็ต้องให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนจัดหาพื้นที่และตั้งนิคมฯต่อไป
สำหรับผู้ที่เข้ามาทำงานในนิคมฯนี้ จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการพักโทษ และพ้นโทษ โดยจะได้รับสิทธืประกันสังคมแบบแรงงานทั่วไป ซึ่งที่ผ่านมาผู้พ้นโทษเหล่านี้จะหางานทำยากมากบริษัทต่าง ๆ ก็ไม่รับแล้วทำงาน และยังมีพ.ร.บ.วิชาชีพ 27 ฉบับ ที่ห้ามรับผู้ที่เคยต้องโทษเข้ามาทำงาน แม้กระทั้งอาชีพรักษาความปลอดภับก็ห้ามทำ ทำให้ผู้พ้นโทษหางานทำยากมากและเป็นปัญหาสังคมต่อไป โดยกระทรวงยุติธรรมมีแผนที่จะออกระเบียบยกเว้นพ.ร.บ.วิชาชีพ ให้ผู้ที่เคยต้องโทษเข้ามาทำงานในนิคมฯนี้ได้อย่างถูกต้อง
โดยจากการหารือกับ ส.อ.ท. ได้รับความเห็นด้วย 100% และได้เข้ามาร่วมทำงานในโครงการนี้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งประชาชนทั่วไปก็ล้วยแต่สนับสนุนโครงการนี้ เพราะสังคมยังไม่ค่อยยอมรับผู้ที่พ้นโทษ เนื่องจากส่วนใหญ่กว่า 80% ติดคุกในคดียาเสพติด หากรวมคนกลุ่มนี้มาทำงานในนิคมฯก็จะช่วยให้สังคมเกิดความสบายใจ
ส่วนค่าจ้างแรงงานในนิคมราชทัณฑ์ ก็จะอยู่ในระดับสูงกว่าแรงงานขึ้นต่ำ เพราะในปัจจุบันแรงงานต่างด้าวที่ทำงานขนปลา ขุดปลา อยู่ในสาขการผลิตโรงงานแปรรูปประมงมีรายได้วันละ 700-800 บาท เพราะหาคนเข้ามาทำยาก ดังนั้นจึงทำให้ผู้พ้นโทษมีรายได้ที่ดีในการดำรงชีพ หากโครงการนำร่องประสบความสำเร็จ ก็จะขยายไปทั้ง 4 ภาคต่อไป คาดว่าจะร้องรับผู้พ้นโทษได้มากกว่า 5 หมื่นคน ได้ไม่ยาก
“การออกแบบโครงการนี้จะเริ่มตั้งแต่การกำหนดความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่ง ส.อ.ท. จะไปรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจน จากนั้นกรมราชทัณฑ์ ก็จะฝึกอบรมชีพให้กับผู้ต้องขัง เมื่อพ้นโทษก็จะมีงานทำในนิคมฯนี้ทันที ทำให้โรงงานได้แรงงานที่มีทักษะและจำนวนตามที่ต้องการ ซึ่งหากสำเร็จก็จะเป็นนิคมราชทัณฑ์แห่งแรกของโลก”