“เอสซีเอ็น”ปรับแผนลงทุนปี64 ลุยเพิ่มแอลเอ็นจี-โซลาร์

“เอสซีเอ็น”ปรับแผนลงทุนปี64     ลุยเพิ่มแอลเอ็นจี-โซลาร์

การเปลี่ยนแปลงนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานในประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN ผู้ประกอบการธุรกิจNGVครบวงจรรายเดียวในเอเชียตะวันอ

ฤทธี กิจพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN เปิดเผยกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า แผนการลงทุนในปี2564 ยังมุ่งเน้นขยายการลงทุนใน 2 ธุรกิจ คือ1.ธุรกิจจำหน่ายก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับภาคอุตสาหกรรม (LNG) โดยธุรกิจLNGยังเป็นธุรกิจใหม่ที่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกับลูกค้า เนื่องจากสูตรการคำนวณราคาเนื้อก๊าซLNGเป็นราคาที่ผสมผสานหลายสูตร ดังนั้นลูกค้าต้องพิจารณาความคุ้มค่าของต้นทุน ซึ่งต่างจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติอัดสำหรับอุตสาหกรรม (iCNG) ที่เป็นลักษณะการอัดแก๊สแล้วขนส่งเข้าไปในโรงงานใกล้ๆแถบปทุมธานี ซึ่งครอบคลุมกรุงเทพฯและปริมณฑล และแถบสระบุรีไปถึงนครราชสีมา โดยสามารถหาลูกค้าได้ง่ายกว่า เนื่องจากราคาก๊าซฯสามารถขายเป็นสูตรที่อ้างอิงกับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) โดยหากเลือกใช้ iCNG บริษัทก็สามารถการันตีราคาให้ถูกกว่า LPG ได้ตลอดอายุสัญญาก็ถือเป็นทางเลือกที่จูงใจลูกค้า

และ 2.ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 โครงการหลัก คือ 1.โครงการโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ในเมียนมา คือ โครงการโรงไฟฟ้ามินบู ถึงแม้ว่าจะมีเหตุการณ์รัฐประหารเกิดขึ้น แต่เชื่อว่าจะมีผลกระทบค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นธุรกิจยูทิลิตี้ที่ซัพพลายพลังงาน และเท่าที่สังเกตประเทศไทยเองก็เคยเกิดเหตุการณ์รัฐประหารมาหลายครั้ง แต่ธุรกิจสาธารณูปโภค น้ำ หรือ ไฟฟ้า ก็ไม่ได้รับผลกระทบ

161305216852

โดยโครงการนี้ลงทุนผ่านบริษัท กรีนเอิร์ธ พาวเวอร์ ไทยแลนด์ จำกัด หรือ GEP ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ที่ SCN ถือหุ้นในสัดส่วน 40% ในช่วงโค้งสุดท้ายของการลงทุน คาดว่า ทั้งโครงการจะต้องใส่เงินเข้าไปอีกประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท ในส่วนนี้จะมาจากสถาบันการเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท และอีก 1,000 ล้านบาท มาจากผู้ถือหุ้นทั้ง 4 ราย ซึ่งในส่วนของ SCN ก็จะเหลือจ่ายเงินเข้าไปประมาณกว่า 200 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าในครบตามแผน 220 เมกะวัตต์ รวมทั้ง 4 เฟส ภายในปี 2565

ขณะที่โครงการในเฟสแรก แล้วเสร็จพร้อมรับรู้รายได้ไปแล้วจากกำลังการผลิต50เมกะวัตต์ และปัจจุบัน อยู่ระหว่างการก่อสร้างเฟสที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จ พร้อมจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ภายในปลายปี 2564 ตามแผน แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างโครงการให้ล่าช้าไปบ้าง ซึ่งจะทำให้บริษัทรับรู้รายได้จากกำลังการผลิต 100 เมกะวัตต์เต็มปีในปี 2565 และรับรู้รายได้เต็มที่ทั้งโครงการในปี 2566

อีกทั้ง บริษัท ยังเดินหน้าตามแผนที่จะนำ บริษัท กรีนเอิร์ธพาวเวอร์ ฯเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามแผนในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เพื่อหวังนำเม็ดเงินไปใช้ต่อยอดขยายโอกาสลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในเมียนมาเพิ่มเติม

161305219238

2.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ซึ่งบริษัทยังคงมุ่งขยายธุรกิจพลังงานทดแทน ผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท สแกน แอดวานซ์ เพาเวอร์ จำกัด (SAP) โดยปีนี้คาดว่าสิ้นปี2564 จะมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ารวม 47 เมกะวัตต์ ซึ่งจะใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท

“เราเป็นบริษัทคร่ำหวอดด้านพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานที่ได้ประโยชน์กับทุกฝ่าย เชิงเทคนิคไม่ยาก แต่ยากในการทำวิศวกรรมพลังงาน ซึ่งปัจจุบันบริษัทที่เข้าใจเรื่องนี้และแข่งขันกันอยู่มีน้อยราย เราก็เอาวิศวกรรมพลังงานมาชูเป็นจุดเด่น ไม่ใช่แค่ทำระบบให้ดี แต่ต้องผลิตไฟสอดคล้องกับการใช้ไฟฟ้าได้จริงของโรงงาน ประสิทธิภาพสูงกว่าคู่แข่ง เลือกอุปกรณ์ระดับเวิลด์คลาส”

ปัจจุบัน บริษัทให้สัดส่วนความสำคัญกับธุรกิจไฟฟ้า รวมอยู่ที่ 50% นอกจากนี้ จะมาจากสัดส่วนการซ่อมบำรุงรถเมล์NGV 489 คัน ที่ส่งมอบไปเมื่อช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็ยังมีรายได้และผลประกอบการเข้ามาพอสมควร รวมถึงจะมีรายได้จาก iCNG และ LNG เข้ามา ส่วน NGV ขณะนี้ไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไหร่แต่ยังเป็นรายได้ที่ยังสูงสุดอยู่