ส่องส.ส.งูเห่า 'คารม พลพรกลาง' ปูมทนายเสิ้อแดง จาก ‘ก้าวไกล’ ซบ ‘ภูมิใจไทย’ จริงหรือ?
“คารม” ย้ำยังไม่ลาออกพรรคก้าวไกล หลังโหวตสวนมติซักฟอก เผยสาเหตุลงมติไว้วางใจ "อนุทิน" และ "ศักดิ์สยาม"
หลังศึกอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ชื่อของ นายคารม พลพรกลาง ส.ส.พรรคก้าวไกล ซึ่งปรากฏรายชื่อเป็น 1 ใน 4 งูเห่า ที่โหวตสวนมติพรรคและได้รับความสนใจไม่น้อย โดยโหวตไว้วางใจอนุทิน แต่ไม่ไว้วางใจพล.อ.ประยุทธ์ ภายหลังลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 10 รัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา วันที่ 20 ก.พ.2564 โดย ส.ส.พรรคก้าวไกล
โดยในจำนวน 4 คน ที่โหวตไว้วางใจให้อนุทินด้วย ได้แก่ พีรเดช คำสมุทร ส.ส.เชียงราย เขต 6 คารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ขวัญเลิศ พานิชมาท ส.ส.ชลบุรี เขต 5 นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงราย เขต 1
- เปิดประวัติ อดีตทนาย นปช.-ได้รับเครื่องราชย์
โดยผู้ที่โดดเด่นที่สุดในนาทีนี้ คือ นายคารม ท่ามกลางกระแสข่าวจากสื่อมวลชนหลายแขนงว่าพร้อมไปอยู่พรรคภูมิใจไทย
สำหรับประวัติโดยคร่าวของนายคารม ข้อมูลจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า เป็นอดีตทนายความแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เกิดวันที่ 7 กันยายน 2506 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง อาชีพก่อนได้รับเลือกตั้งเป็นทนายความ
ประสบการณที่สำคัญคือ ทนายความให้ความช่วยเหลือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
- นักกฎหมายร่วมกล่าวหาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมในปี 2553 ณ ศาลอาญาระหว่างประเทศ (I.C.C) ณ กรุงเฮ็ก ประเทศเนเธอแลนด์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2556
- อธิบายเหตุลผ่านสื่อ โหวตสวนมติพรรค
ทั้งนี้ นายคารม ได้ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวหลายสำนัก อาทิ พีพีทีวีใจความตอนหนึ่งระบุว่า
สาเหตุที่ ลงมติไว้วางใจ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ว่า ทั้งสองคนชี้แจงข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านได้อย่างละเอียดเช่น นายคารมยังระบุถึงอนาคตทางการเมืองด้วยว่าอีกว่า ต้องการแยกทางกับพรรคก้าวไกล เพราะไม่ได้รัก และถึงขั้นแตกหักกันแล้ว เปรียบเป็นสามีภรรยากันเมื่อไม่รักก็ต้องไป ถ้าพรรคไม่ขับออก ก็ถือว่า เล่นการเมืองแบบเด็กอมมือ ขี้ขลาดตาขาว
ทั้งนี้ ใน บทสัมภาษณ์ของนายคารมที่กล่าวกับของพีพีทีวีระบุว่า นายคารมประกาศชัด ไปขอซบภูมิใจไทย โดยนายคารมกล่าวว่า “ครั้งหน้าผมจะไปอยู่ภูมิใจไทย หรือถ้าขับผมออก ผมจะพักผ่อนซัก 1 อาทิตย์แล้วไปสมัครพรรคภูมิใจไทย ผมขอพูดวันนี้ไม่เคยพูดที่ไหน ในเมื่อนักเลงพอ ไม่ไปไหนแล้ว”
อย่างไรก็ตาม เหล่านี้เป็นเพียงกระแสที่ยังไม่มีการตกลงกันอย่างชัดเจนระหว่างนายคารม กับพรรคภูมิใจไทย
- เผยปมโหวตสวนมติพรรค "เสียหนู"-"ศักดิ์สยาม" ชี้แจงมีเหตุผล
นอกจากนี้ นายคารม ยังยืนยันกับ วอยซ์ ว่าว่า ได้ติดตามการทำงานของ อนุทิน ชาญวีรกูล จึงเห็นต่างกับผู้อภิปรายคือ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญรายชื่อพรรคก้าวไกล ที่อภิปรายเรื่องวัคซีนโควิด-19 เพราะเห็นว่าภาพใหญ่ในการบริหารจัดการเพื่อจะได้วัคซีนมานั้น อยู่ในการดูแลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 หรือ ศบค.
เหตุผลอีกประการที่โหวตให้ อนุทิน เป็นเพราะมีตัวชี้วัดว่าประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์โควิด-19 เป็นที่ 4 ของโลกซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งภายในบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ก็ไม่เกิดขึ้นในสมัยของ อนุทิน นอกจากนี้ ประชาชนชาวร้อยเอ็ด ก็ยังชื่นชมการบริหารงานของอนุทิน
นายคารม กล่าวว่า ส่วนที่โหวตไว้วางใจให้ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ นั้น ส่วนตัวอยู่ในกรรมาธิการคมนาคม โดยการอภิปรายเกี่ยวกับ รมว.คมนาคม ส่วนใหญ่ จะไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานในสมัยนี้ แต่โยงไปถึงปัญหาที่มีตามมาตั้งแต่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เช่น การต่อสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ รมว.คมนาคม คนปัจจุบัน เพิ่งจะเข้ามาทำงานในภายหลัง
นายคารม ยืนยันว่า ไม่มีข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ใดๆ กันทั้งสิ้นกับแกนนำพรรคภูมิใจไทย แต่เป็นการโหวตแบบอิสระตามรัฐธรรมนูญ เหมือนกับก่อนหน้านี้ ที่ได้ปฏิเสธการลงชื่อสนับสนุนการยื่นญัตติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ร่วมกับพรรคก้าวไกล
- ไม่ขัดแถลงการณ์พรรค-ไม่น้อยใจ
นายคารม ยังให้สัมภาษณ์สื่อหลายสำนักภายหลังจากที่ได้มีการโหวตสวนมติพรรคในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ว่า จากที่ได้อ่านแถลงการณ์ของหัวหน้าและเลขาธิการพรรคที่ออกมา ก็แปลว่าเขาไม่ขัด แต่จะมีเรื่องของมาตรการทางวินัย ซึ่งก็แล้วแต่พรรค แต่ความจริงตนก็ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมพรรคมานานแล้วเป็นเวลา 1 ปี และการร่วมประชุมพรรคก็เข้าร่วมนับครั้งได้ เนื่องจากต้องกลับบ้านที่ร้อยเอ็ด ส่วนการอภิปรายในสภาที่ได้รับการมอบหมายเกี่ยวกับพรรค ไม่ได้รับการมอบหมายให้ แต่ก็ไม่ได้น้อยใจ เพราะการเป็น ส.ส. จะทำเหมือนเป็นนักเรียนก็ไม่เหมาะสม ส่วนการจะตัดสิทธิโควตากรรมาธิการของพรรคนั้น ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ เพราะตามรัฐธรรมนูญ ส.ส.ต้องเป็นกรรมาธิการ และขณะนี้ตนก็เป็นอยู่เพียงคณะกรรมาธิการเดียว คือ กรรมาธิการการคมนาคมแต่อย่างไรก็ในฐานะ ส.ส. ตนยังสามารถตั้งกระทู้ถามได้ และจะตั้งกระทู้ถามให้มากที่สุด ส่วนการหารือ หากในนามของพรรคนั้นจะทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรโดยตรง
นายคารม กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ตนไม่ลงชื่อในการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ก็โดนทัวร์ก็ลงมาตลอด แต่เวลาที่ตนกลับบ้านก็ไม่มีใครว่าอะไร ประชาชนชนเข้าใจ และก็ไม่ได้มีความกังวล พร้อมยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากสมาชิกพรรค เพราะเสียดายตำแหน่งและโอกาสในการทำงานในพื้นที่ และยืนยันกรณีนี้ไม่เกี่ยวกับพรรคภูมิใจไทย ซึ่งที่ผ่านมาตนไม่เคยฝ่าฟืนมติพรรค ไม่ใช่ว่าโหวตให้พรรคภูมิใจไทยแล้วจะไปอยู่กับพรรคภูมิใจไทย และต่อจากนี้พรรคจะดำเนินการอย่างไรตนก็ยินดี แต่ยืนยันทุกอย่างที่ทำไปมีเหตุมีผล และไม่ได้มีการทุจริต เป็นแค่ความเห็นต่าง
- หลากความเห็นจากทวิตเตอร์
ด้านความเคลื่อนไหวในทวิตเตอร์ ปรากฏว่า มี ส.ส.พรรคก้าวไกล บางรายแสดงความเห็นต่อนายคารม พลพรกลาง ใจความสำคัญว่าอยากออกก็ลาออกไปเอง กล้าๆหน่อย
อาทิ ส.ส.มด วรรณวิภา ไม้สน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์แสดงความเห็นข่าวดังกล่าว ผ่านทางทวิตเตอร์ @MaisonWanvipa ระบุว่า
ด้านนาย ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล ในฐานะ กรรมการบริหารพรรค โพตส์แสดงความเห็นข่าวดังกล่าว สั้นๆ ว่า ” 5555 กรรมการบริหารใจไม่ถึง ยั่วๆๆ ไม่สำเร็จหรอกครับ
ขณะที่ความเห็นจากตัวแทนภาคประชาสังคม ทวิตเตอร์ของนาย นายยิ่งยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า ยิ่งชีพ (เป๋า) @yingcheep ว่า
“คารม พลพรกลาง งูเห่าพรรคก้าวไกล เมื่อสิบปีที่แล้วเป็นทนายความ และเป็น “เสื้อแดง” เป็นทนายความในคดี #ม112 ให้กับ “เจ๋งดอกจิก” นักการเมืองเสื้อแดง และคดีในศาลชั้นต้นของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่ตอนนั้นศาลชั้นต้นสั่งให้จำคุก 10 ปี ติดตามดูอยู่หลายนัด แกก็ทำหน้าที่ทนายเต็มที่นะ”
นับเป็นหลากหลายความเห็นและเสียงสะท้อนต่อปรากฏการณ์โหวตสวนมติพรรค ของนายคารม ในเวลานี้