EIC ประเมินส่งออกฟื้นตัวแข็งแกร่ง หนุนทั้งปีขยายตัวกว่า 4.0%
อีไอซี ชี้การส่งออกที่ฟื้นตัวเร็วกว่าคาด หนุนมูลค่าส่งออกทั้งปีนี้ จะขยายตัวได้มากกว่าที่เคยคาดไว้ที่ 4.0%
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า มูลค่าส่งออกเดือนมกราคม 2021 ขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากขยายตัว 4.7% ในเดือนธันวาคม 2020 แต่หากหักทองคำ การส่งออกจะขยายตัวเร่งขึ้นเป็น 6.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อนนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากภาคการส่งออกได้รับผลกระทบหนักจากมาตรการปิดเมืองทั่วโลกในช่วงไตรมาสที่ 2/2020
ด้านการส่งออกรายสินค้า พบว่าสินค้าส่งออกสำคัญของไทยขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม
การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 9.6%จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากขยายตัว 10.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ขยายตัว
ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (50.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน) สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง (38.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน) และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง (77.9%จากช่วงเดียวกันปีก่อน) อย่างไรก็ดี การส่งออกข้าวยังหดตัวที่ -15.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาข้าวไทยที่ปรับตัวสูงขึ้น และคุณภาพข้าวที่ใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมโดยรวมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 0.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อนและหากหักทองคำ การส่งออกอุตสาหกรรมจะขยายตัวสูงขึ้นเป็น 8.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
โดยสินค้าสำคัญที่มีการฟื้นตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (25.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน) เครื่องใช้ไฟฟ้า (10.4%), เคมีภัณฑ์และพลาสติก (5.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน), ผลิตภัณฑ์ยาง (21.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (9.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน) และแผงวงจรไฟฟ้า (12.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน)
สินค้าส่งออก ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร การอยู่อาศัยและทำงานที่บ้าน และการป้องกันมีการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (5.4%จากช่วงเดียวกันปีก่อน) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (3.1%จากช่วงเดียวกันปีก่อน) สิ่งปรุงรสอาหาร (3.8%จากช่วงเดียวกันปีก่อน)
. ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (15.7%จากช่วงเดียวกันปีก่อน) เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ (49.6%จากช่วงเดียวกันปีก่อน) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (12.4%จากช่วงเดียวกันปีก่อน) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ (15.4%จากช่วงเดียวกันปีก่อน) และถุงมือยาง (200.5%จากช่วงเดียวกันปีก่อน)
อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ -3.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากหดตัว -7.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอ-21.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และน้ำตาลทราย (-48.1%จากช่วงเดียวกันปีก่อน)
เช่นเดียวกับการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่หดตัวที่ -26.0%จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยตลาดหลักที่หดตัว ได้แก่ กัมพูชา (-20.8%จากช่วงเดียวกันปีก่อน) สิงคโปร์ (-33.1%จากช่วงเดียวกันปีก่อน) และลาว (-24.0%จากช่วงเดียวกันปีก่อน)
ด้านการส่งออกรายตลาด การส่งออกไปสหรัฐฯ ยังขยายตัวดี การส่งออกไปจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ CLMV มีสัญญาณฟื้นตัว
อย่างไรก็ดี การส่งออกไปสหภาพยุโรป ยังหดตัวต่อเนื่อง และส่งออกไปอาเซียน พลิกกลับไปหดตัวอีกครั้ง
การส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ 12.4%YOY หลังจากขยายตัว 15.7%YOY ในเดือนก่อนหน้า
โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด (6.7%YOY) ผลิตภัณฑ์ยาง (27.4%YOY) และรถยนต์และส่วนประกอบ (34.2%YOY) การส่งออกไปจีนกลับมาขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 9.9%YOY หลังจากขยายตัว 7.2%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 33.9% หากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลไม้สดแช่แข็ง และแห้ง (148.3%YOY) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (107.5%YOY) และเคมีภัณฑ์ (13.0%YOY)
การส่งออกไปตลาด CLMV พลิกกลับมาขยายตัวที่ 3.8%YOY หลังจากหดตัวติดต่อกัน 9 เดือน โดยการส่งออกไปเวียดนามขยายตัวถึง 20.1%YOY ทั้งนี้สินค้าสำคัญที่ขยายตัวในตลาด CLMV ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (6.2%YOY) เม็ดพลาสติก (40.5%YOY) และน้ำตาลทราย (42.4%YOY) เป็นต้น
ขณะที่ การส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 7.4%YOY หลังจากขยายตัว 14.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ประกอบด้วย รถยนต์และส่วนประกอบ (77.8%YOY) เคมีภัณฑ์ (80.8%YOY) และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (5.4%YOY)
การส่งออกไปออสเตรเลียขยายตัวเร่งขึ้นที่ 30.0%YOY หลังจากขยายตัว 15.3%YOY ในเดือนก่อนหน้า สินค้าหลักที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (48.7%YOY) อัญมณีและเครื่องประดับ (88.8%YOY) และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (12.8%YOY)
การส่งออกไปตลาดตะวันออกกลางขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 13.1%YOY สินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ (50.9%YOY) ผลิตภัณฑ์ยาง (41.4%YOY) และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (14.9%YOY)
อย่างไรก็ดี การส่งออกไปสหภาพยุโรป หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ -5.4%YOY หลังจากหดตัว
-2.4%YOY ในเดือนก่อนหน้า สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ (-0.5%YOY) อัญมณีและเครื่องประดับ (-45.6%YOY) และแผงวงจรไฟฟ้า (-11.5%YOY)
การส่งออกไปตลาดอาเซียน พลิกกลับมาหดตัวที่ -11.0%YOY หลังจากขยายตัว 0.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า สินค้าสำคัญที่หดตัว ประกอบด้วย น้ำมันสำเร็จรูป (-41.5%YOY) และเคมีภัณฑ์ (-8.4%YOY)
ด้านมูลค่านำเข้าในเดือนมกราคม 2021 พลิกกลับมาหดตัวที่ -5.2%YOY หลังจากขยายตัว 3.6%YOY ในเดือนธันวาคม 2020 โดยการนำเข้าสินค้าในเกือบทุกหมวดกลับมาหดตัว ได้แก่ สินค้าทุน (-10.6%YOY) สินค้าอุปโภคบริโภค (-2.8%YOY) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (-6.9%YOY) และสินค้าเชื้อเพลิง (-30.1%YOY)
. ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้าที่โรงกลั่นน้ำมันกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง อย่างไรก็ดี การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปขยายตัวที่ 10.0%YOY แต่หากหักทองคำ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปจะหดตัวเล็กน้อยที่ -1.3%YOY ทั้งนี้ดุลการค้าในเดือนมกราคมขาดดุลที่ 202.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การส่งออกในช่วงหลังมีการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง นับเป็นการฟื้นตัวที่ดีกว่าคาด ทำให้มีความเป็นไปได้สูง
ที่มูลค่าส่งออกทั้งปี 2021 จะขยายตัวได้มากกว่าที่เคยคาดไว้ที่ 4.0% โดยจากกราฟทางด้านขวาล่างของรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกในช่วง 2 เดือนท้าย (ธ.ค. 20 - ม.ค. 21) ทั้งในแบบที่รวมทองคำและไม่รวมทองคำ ได้กลับมาเทียบเท่ามูลค่าการส่งออกในช่วงก่อนได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แล้ว
โดยเฉพาะการส่งออก ไม่รวมทองที่มูลค่าในเดือนมกราคมได้กลับมาสูงกว่าช่วงก่อน COVID-19 แล้ว ซึ่งนับเป็นการฟื้นตัวที่เร็วกว่าที่เคยคาดไว้ เช่นเดียวกับทิศทางการส่งออกของหลายประเทศสำคัญทั่วโลก ที่มีการขยายตัวต่อเนื่องในช่วงหลัง สะท้อนว่าทิศทางการค้าโลกได้เริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจนแล้ว
นอกจากนี้ หากพิจารณา Manufacturing PMI ของโลกและของหลายประเทศ รวมถึง Global Manufacturing PMI : New export orders ก็พบว่ายังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
โดยอาจจะชะลอลงบ้างในช่วงเดือนมกราคมที่น่าจะได้รับผลกระทบจากการกลับมาระบาดอีกระลอกของ COVID-19 แต่ดัชนีส่วนใหญ่ของหลายประเทศก็ยังยืนอยู่เหนือระดับ 50
. ซึ่งสะท้อนมุมมองที่ดีต่อการส่งออก ในระยะสั้น ขณะที่ในระยะถัดไป คาดว่าการส่งออกของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามทิศทางเศรษฐกิจโลก ที่ปรับตัวดีขึ้น จากการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลายจนหลายประเทศได้ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้
อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของการส่งออกไทยในปีนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา ซึ่งความเสี่ยงหลักต่อการส่งออกประกอบด้วย 1) ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และอัตราค่าระวางเรือที่ยังสูงต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดคาดว่าจะกดดันการส่งออกไทยอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 2) ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้
รวมถึงความไม่สงบทางการเมืองในเมียนมาที่อาจส่งผลต่อการปิดด่านค้าชายแดนและอุปสงค์สินค้าจากเมียนมา โดยจากข้อมูลล่าสุดในเดือนมกราคม 2021 ด่านค้าชายแดนไทย-เมียนมา เปิดอยู่เพียง 3 ด่านจาก 21 ด่าน และ 3) ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าเร็วกว่าคู่ค้าและคู่แข่ง ซึ่งจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันและผลกำไรของผู้ส่งออก
โดยสรุป EIC คาดว่ามูลค่าการส่งออกในปี 2021 มีแนวโน้มขยายตัวได้มากกว่าที่เคยคาดไว้ที่ 4.0%
ซึ่งในช่วงนี้ EIC จะทำการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ อย่างละเอียดอีกครั้ง ก่อนเผยแพร่ตัวเลขคาดการณ์มูลค่าส่งออกใหม่พร้อมกับคาดการณ์เศรษฐกิจในส่วนอื่น ๆ ในช่วงต้นเดือนมีนาคมนี้