ธปท. เปิด ถาม-ตอบ 2 มาตรการทางการเงิน 3.5 แสนล้าน
ธปท.เปิด ถาม-ตอบ มาตรการช่วยเหลือทางการเงิน ธปท.2โครงการมูลค่า 3.5แสนล้าน เพื่อลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจ
ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิด แบบคำถาม ถาม-ตอบ เกี่ยวภาพรวมมาตรการทางการเงิน 3.5แสนล้านบาท ใน2โครงการ ทั้ง มาตรการแรก เป็นมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ วงเงิน 250,000 ล้านบาท
และ มาตรการที่สอง เป็นมาตรการ “พักทรัพย์ พักหนี้” วงเงิน 1แสนล้านบาท เพื่อลดผลกระทบโควิด-19
จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่ามาตรการครั้งนี้จะสามารถพยุงการจ้างงานได้หลายแสนคน และช่วยบริษัทให้มีสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจได้อีกหลาย 10,000 บริษัท รวมถึงช่วยลดความเสี่ยง GDP at risk ได้
สถาบันการเงิน จะให้ความช่วยเหลือลูกหนี้โดยพิจารณามาตรการที่เหมาะสมตามความจำเป็นของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม ดังนั้น โดยทั่วไป ธุรกิจที่เข้มแข็งน่าจะไม่มีความจำเป็นต้องเข้าร่วมโครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้” ซึ่ง สง. อาจจะให้ความช่วยเหลือด้วยการเพิ่มสภาพคล่องตามมาตรการในส่วนของสินเชื่อฟื้นฟู
นอกจากนี้ สง. น่าจะมีแรงจูงใจที่จะช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาก เพื่อลดโอกาสที่จะกลายเป็นหนี้เสีย
. ทั้งนี้ ธปท. กำหนดให้ สง. ส่งรายงานความคืบหน้าของการให้สินเชื่อตามมาตรการนี้เป็นประจำทุกเดือน เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการติดตามและประเมินผลของมาตรการในด้านที่สำคัญต่าง ๆ พร้อมกำชับให้ สง. เร่งกระจายสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจอย่าง
มีประสิทธิภาพและทั่วถึงทั้งลูกหนี้เดิมและลูกหนี้ใหม่
โดยให้ความสำคัญกับผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม
ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาตามขั้นตอนการตรากฎหมาย โดยทางการจะดูแลให้สามารถออกใช้ได้เร็วที่สุด ซึ่งทั้ง 2 มาตรการจะมีผลบังคับใช้พร้อมกัน
เนื่องจากมาตรการนี้เกี่ยวข้องกับการขอรับสภาพคล่องจาก ธปท. ดังนั้น สง. จึงต้องขออนุมัติสินเชื่อโดยการส่งข้อมูลของลูกหนี้ที่จะให้ความช่วยเหลือมาที่ ธปท. เพื่อพิจารณา
. ซึ่ง ธปท. จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยให้ความสำคัญกับการดูแลให้ความช่วยเหลือถึงกลุ่มที่จำเป็น ตลอดจน ธปท. จะดูแลให้กระบวนการเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเร็วที่สุด
เมื่อมาตรการนี้มีผลบังคับใช้แล้ว ลูกหนี้สามารถติดต่อ กับ สง. ได้โดยตรง และหากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ call center ของ ธปท. ที่โทร. 02-283-6112 หรือ email : FinRehab@bot.or.th
II มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ
การค้ำประกันในครั้งนี้จะต่างจากการค้ำประกันตาม soft loan เดิม โดยรูปแบบที่ดำเนินการผ่านกลไกการค้ำประกันโดยบสย. ซึ่งเป็นรูปแบบที่ สง. ส่วนใหญ่มีความคุ้นเคย โดยมีลักษณะการค้ำประกันแบบ portfolio ที่มีอัตราการชดเชยสูงสุดไม่เกิน 40% และอายุการค้ำประกันระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 10 ปี
. ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับ soft loan เดิมจะมีคุณสมบัติสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูตามมาตรการนี้ได้ โดยเมื่อรวมสินเชื่อที่ได้รับจาก soft loan เดิมกับสินเชื่อฟื้นฟูที่ได้เพิ่มเติมตามมาตรการนี้จะต้องไม่เกิน 30% ของวงเงิน ณ 31 ธ.ค. 62 หรือ ณ วันที่ 28 ก.พ. 64 แล้วแต่ยอดใดจะสูงกว่า เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ
III โครงการพักทรัพย์ พักหนี้
ปัจจุบันยอดคงค้างกลุ่มธุรกิจโรงแรมในระบบ สง. มีอยู่ประมาณ 400,000 ลบ. ซึ่งจากการหารือกับ สง. และผู้ประกอบการคาดว่าวงเงิน 100,000 ลบ. น่าจะเพียงพอต่อความต้องการ
ในการออกแบบมาตรการ ธปท. ได้หารือทั้ง สง. และผู้ประกอบการ เพื่อประมาณการวงเงินที่จะเพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ดีการเข้าร่วมมาตรการจะขึ้นอยู่กับความสมัครใจของ
ทั้ง สง. และ ลูกหนี้ โดย สง. อาจพิจารณาจากศักยภาพของทรัพย์และความตั้งใจในการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ ทั้งนี้ สามารถย้ายวงเงินระหว่าง 2 มาตรการได้ ภายใต้วงเงินรวมไม่เกิน 350,000 ลบ. หากมีความจำเป็น และได้รับอนุมัติจาก ครม.
สำหรับโครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้” ไม่ได้มีการกำหนดว่าธุรกิจที่จะเข้าร่วมจะต้องเป็น SMEs เท่านั้น แต่จะพิจารณาจากผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และมีทรัพย์เป็นหลักประกันของสินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจกับ สง. ก่อนที่มาตรการจะมีผลบังคับใช้
ธปท. ไม่ได้จำกัดประเภทธุรกิจ โดยธุรกิจอื่นที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และมีหลักประกันที่มีศักยภาพก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้
ธปท. ไม่ได้กำหนดเพดานวงเงิน ทั้งนี้ สง. สามารถยื่นขอวงเงินสินเชื่อจาก ธปท. ได้ไม่เกินมูลค่าที่ตีโอนทรัพย์ชำระหนี้
ราคาตีโอนทรัพย์ชำระหนี้จะขึ้นกับการตกลงกันระหว่าง ผู้ซื้อ (สง.) และผู้ขาย (ลูกหนี้) โดยลูกหนี้จะสามารถซื้อคืนทรัพย์ด้วยราคาที่ตีโอนเช่นกัน ทั้งนี้ กรณีลูกหนี้มีทรัพย์เป็นหลักประกันหลายชิ้น สามารถพิจารณาเลือกหลักประกันที่มีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลหนี้มาตีโอนได้
สง. สามารถขายสินทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นได้ หากลูกหนี้เดิมไม่ใช้สิทธิในการซื้อคืน
อัตราค่าเช่าควรอยู่ในระดับต่ำ และจะถูกนำมาหักออกจากราคาซื้อคืน เช่น กรณีตีโอนทรัพย์มูลค่า 10 ลบ. จ่ายค่าเช่า 1 ลบ. ราคาซื้อคืนจะเป็น 9 ลบ. ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขโครงการ สง. สามารถคิด carrying cost เพิ่มเติมได้ไม่เกิน 1%
ลูกหนี้เดิมต้องได้รับสิทธิในการเช่าทรัพย์เป็นลำดับแรก อย่างไรก็ดี หากลูกหนี้ไม่ใช้สิทธิ สง. สามารถนำทรัพย์ไปให้บุคคลอื่นเช่าได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับลูกหนี้เดิมด้วย เนื่องจากมีบุคคลอื่นมาช่วยดูแลทรัพย์ไม่ให้เสื่อมโทรม และทำให้ลูกหนี้ไม่ต้องจ่ายค่าดูแลทรัพย์เนื่องจากผู้เช่าทรัพย์จะรับหน้าที่ดูแลทรัพย์แล้ว
ผู้ประกอบธุรกิจรถบัสนำเที่ยวที่ไม่มีหลักประกันและ สง. ไม่ปล่อยสินเชื่อให้หรือไม่
. ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวสามารถได้รับความช่วยเหลือ
ตามมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจในครั้งนี้ได้ โดยกรณีเป็นลูกหนี้ใหม่จะมีโอกาสได้รับวงเงินสูงสุดไม่เกิน 20 ลบ. และสำหรับกรณีลูกหนี้เดิมจะได้รับสินเชื่อไม่เกิน 30% ของวงเงิน ณ 31 ธ.ค. 62 หรือ ณ วันที่ 28 ก.พ. 64 แล้วแต่ยอดใดจะสูงกว่า