สู้วิกฤติฝุ่นพิษ PM 2.5 จากไฟป่า 'GED' นำร่องมอบอุปกรณ์สนับสนุน 4 อำเภอเชียงใหม่

สู้วิกฤติฝุ่นพิษ PM 2.5 จากไฟป่า 'GED' นำร่องมอบอุปกรณ์สนับสนุน 4 อำเภอเชียงใหม่

สถานการณ์ "ไฟป่าเชียงใหม่" สู้วิกฤติฝุ่นพิษ PM 2.5 จากไฟป่า 'GED' นำร่องมอบอุปกรณ์สนับสนุน 4 อำเภอ

ท่ามกลางสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเดือนมีนาคม จนทำให้ค่าฝุ่นพิษ PM 2.5 ของจังหวัดเชียงใหม่พุ่งสูงที่สุดในโลก และส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน การบริหารจัดการปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่

เภสัชกร เจริญ วงศ์อริยะกวี ผู้อำนวยการฝ่ายขายร้านยา บริษัท เกร๊ต อีสเทอร์น ดรั๊ก จำกัด (GED) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางเดินหายใจ กล่าวว่า บริษัทฯ มีความห่วงใยความปลอดภัยและสุขภาพของทีมดับไฟป่าและประชาชนที่ต้องมีชีวิตอยู่ท่ามกลางฝุ่นพิษ PM 2.5 ในปริมาณสูงเป็นเวลานาน จึงได้มีโครงการจัดหาอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยมีพื้นที่เป้าหมายอยู่ที่ อ.แม่แจ่ม อ.เชียงดาว อ.ออมก๋อย และอ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟป่าอยู่เสมอ และเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี บริษัท เกร๊ต อีสเทอร์น ดรั๊ก (GED) จึงมีแผนระยะยาวที่จะให้การสนับสนุนพื้นที่อื่นๆ ที่ประสบปัญหาด้วย นอกจากนี้ ยังยินดีที่จะประสานความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน

“นอกจากอุปกรณ์ดับไฟป่าทั้งเครื่องเป่าลม เครื่องพ่นน้ำแล้ว เพื่อการดูแลอย่างครอบคลุมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด GED ยังได้มอบยาแก้แพ้ อัลเลอนิค พร้อมทั้งหน้ากากอนามัย N95 เวชภัณฑ์ และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ อีกหลายรายการแก่เจ้าหน้าที่ดับไฟป่า ขณะเดียวกันเราได้ส่งทีมเภสัชกรของบริษัทฯ มาร่วมกับแพทย์ในพื้นที่ออกเดินสายให้ความรู้ประชาชนเพื่อสร้างความตะหนักรู้เกี่ยวกับภัย การป้องกันและบรรเทาโรคภูมิแพ้ต่างๆ จากฝุ่นพิษ PM 2.5 อีกด้วย” เภสัชกร เจริญ กล่าว

161708528963

นางสาวพัทธนันท์ พิทาคำ ปลัดอาวุโส เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ตัวแทนรับมอบ กล่าวว่า ยินดีมากที่ภาคเอกชนเห็นความสำคัญและร่วมให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งห่วงใยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ปีนี้ภาพรวมสถานการณ์ฝุ่นควันของจ.เชียงใหม่ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว มีการพบจุดความร้อนลดลง พื้นที่เผาไหม้น้อยลง มาจากนโยบายการบริหารจัดการของผวจ.เชียงใหม่ซึ่งมีแผนการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยเฉพาะที่อ.แม่แจ่มช่วงที่ผ่านมาจะพบว่าไม่มีจุดความร้อนเกิดขึ้นเลย เพราะชุมชนมีการเฝ้าระวังและดูแลให้เป็นไปตามนโยบายที่วางไว้อย่างเข้มแข็ง แต่ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ก็ยังมีอยู่ซึ่งเป็นผลกระทบที่มาจากพื้นที่ข้างเคียง

“เครื่องเป่าลมที่ GED นำมามอบให้เป็นหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการดับไฟป่า เพราะสามารถช่วยเป่าเพื่อจำกัดวงการไหม้ของไฟป่าได้เป็นอย่างดี ที่ผ่านมาได้มีการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะแต่ละชุมชนต้องดูแลพื้นที่เป็นวงกว้าง การมีอุปกรณ์ช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้เจ้าหน้าที่และชาวบ้านทำงานได้สะดวกขึ้นด้วย เช่นเดียวกับหน้ากาก N95 ที่นำมาบริจาคในครั้งนี้ เพราะไม่เพียงหาซื้อได้ยากแล้วยังมีราคาแพง ชาวบ้านจึงได้แต่ใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าแทน รวมทั้งยาแก้แพ้อัลเลอร์นิคที่ทานแล้วไม่ง่วงซึม จะเป็นอีกตัวช่วยสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติงานและประชาชนกลุ่มเปราะบางที่มีภูมิต้านทานน้อย” นางสาวพัทธนันท์ กล่าว

161708530765

ทั้งนี้ จ.เชียงใหม่แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ในปีนี้ด้วยการแบ่งพื้นที่เป็นโซนเหนือและใต้ โดยกำหนดให้มีการจัดการเชื้อเพลิงในโซนใต้ก่อนตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ขณะที่โซนเหนือซึ่งมีอากาศเย็นชื้นกว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจะไม่มีการชิงเผา แต่จะสลับไปจัดการเชื้อเพลิงในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนแทน ซึ่งเมื่อมีการสับหว่างช่วงเวลา ทำให้ความหนาแน่นของฝุ่นลดลงกว่าปีที่แล้วที่มีการห้ามในช่วง 1 มกราคมถึง 30 เมษายน ซึ่งการห้ามในลักษณะนั้นทำให้ชาวบ้านเกิดความกดดัน จนทำให้เกิดความวุ่นวาย แต่เมื่อมีการกำหนดนโยบายจากความเข้าใจบริบทของพื้นที่ ความร่วมมือก็เกิดขึ้น

อย่างพื้นที่แม่แจ่ม 1.7 ล้านไร่ 7 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชากร 19,000 กว่าครัวเรือน ร้อยละ 60 ทำการเกษตร ร้อยละ 90 เป็นพื้นที่สูง ดังนั้นชาวเขาที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ก็ทำเกษตรในพื้นที่ป่า อยู่กับป่า จึงเกิดกรณีที่ต้องเผาป่าเพื่อทำการเกษตรและเพื่อล่าสัตว์ ซึ่งหากจะมีการเผาจะต้องแจ้งรายละเอียดแอปพลิเคชัน Fire D ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พัฒนาขึ้น และผวจ.จะเป็นผู้อนุมัติ โดยเน้นให้เผาตามหลักวิชาการ ควบคุมไม่ให้ลุกลาม ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวคือการนำศาสตร์พระราชาโคก หนอง นา มาปรับใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรให้มีความยั่งยืนต่อไป