เงื่อนไขชี้ขาด 'โรงไฟฟ้าชุมชน' เสนอราคาขายไฟต่ำสุดชนะ

เงื่อนไขชี้ขาด 'โรงไฟฟ้าชุมชน' เสนอราคาขายไฟต่ำสุดชนะ

การเปิดประมูลโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน นำร่อง 150 เมกะวัตต์ ช่วง 21-30 เม.ย.นี้ วงการผู้ผลิตไฟฟ้า คาดหมายว่า จะเกิดการแข่งขันดุเดือด โดยเงื่อนไขสำคัญที่เป็ตัวตัดสินว่าใคร จะได้ครอบครองโครงการนี้ คือ ผู้ที่เสนอขายไฟฟ้าในอัตราต่ำสุด จะเป็นผู้ชนะการประมูล

โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนําร่อง) กำหนดกรอบรับซื้อไฟฟ้ารวมไม่เกิน 150 เมกะวัตต์ จะเปิดให้ผู้สนใจสามารถยื่นซองเอกสารคำเสนอขอขายไฟฟ้า และ ยื่นซองเอกสารคำขอเสนอขายไฟฟ้าด้านเทคนิคและด้านราคาในวันที่ 21-30 เม.ย. 2564 ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือ PEA นั้น ถือเป็นโครงการที่ภาคเอกชนและวิสาหกิจชุมชนรอคอยมาร่วม 2 ปี และการยื่นเสนอโครงการเพื่อประมูลแข่งขัน (Competitive Bidding) คาดว่าทะลุ 150 เมกะวัตต์อย่างแน่นอน

แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน ระบุว่า โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนฯ เป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่จะพิจารณาผู้ชนะการประมูล หลังจากเปิดให้ยื่นเสนอโครงการฯแล้ว กฟภ.จะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติต่างๆทางด้านเทคนิคและเอกสารให้ครบถ้วน แล้วจึงประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติทางด้านเทคนิค และเปิดให้ยื่นอุทธรณ์กับ กกพ.ได้หากเห็นว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง จากนั้น กกพ.จะเปิดข้อเสนอด้านราคา โดยจะพิจารณาให้ผู้ที่เสนอราคาขายไฟฟ้าต่ำสุดเป็นผู้ชนะโครงการในแต่ละพื้นที่

โรงไฟฟ้าชุมชนฯ ที่ใช้หลักเกณฑ์เปิดประมูล โดยผู้เสนอราคาขายไฟฟ้าต่ำสุด จะเป็นผู้ชนะการประมูลนั้น ถือว่าเป็นการดำเนินการตามมติ กพช. ส่วนที่เคยบอกว่าใครเสนอโครงการโดยมีการนำเสนอผลประโยชน์ตอบแทนต่อชุมชนมากเท่าไหร่จะเป็นผู้ชนะนั้น เรื่องนี้เป็นนโยบายของอดีตรัฐมนตรีคนก่อน แต่หลักเกณฑ์ฯใหม่ที่ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าฯนั้น แค่กำหนดให้ต้องมีการเสนอผลประโยชน์ตอบแทนกับชุมชนตามเงื่อนไขและเป็นเรื่องที่เอกชนและชุมชนจะต้องลงกันเองเท่านั้น ไม่ได้นำมาเป็นตัวตัดสินผลประมูล”

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ยืนยันว่า วิธีการเปิดประมูลแข่งขันด้านราคา เป็นการประมูลในส่วนของการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า ไม่ใช่การประมูลแข่งขันค่าเชื้อเพลิง ซึ่งส่วนของเชื้อเพลิงยังเป็นราคาคงที่รัฐกำหนดไว้ เพื่อเป็นการการันตีผลตอบแทนด้านรายได้จากการปลูกพืชเป็นวัตถุดิบ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่เป็นภาระต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป

161823601264

นที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย( ส.อ.ท. ) กล่าวว่า น่าจะมีการเสนอโครงการฯไม่น้อยกว่า 500-600 โครงการ เพราะประเมินจากที่ กฟภ.เปิดให้ผู้สนใจยื่นขอตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ปี 2563 มีจำนวน 345 จุด และล่าสุดปีนี้ มีไปยื่นตรวจสอบอีกกว่า 300 จุดเช่นกัน เกินเป้าหมาย 150 เมกะวัตต์แน่นอน

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันประมูลโรงไฟฟ้าชุมชนฯ คาดว่าจะดุเดือดอย่างแน่นอน และที่สำคัญรัฐกำหนดหลักเกณฑ์ว่าใคร เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะการประมูล แต่จะเห็นราคาค่าไฟฟ้าลดลงไปต่ำเท่ากับการประมูลโครงการเอสพีพีไฮบริดเฟิร์ม อยู่ที่ 2.44 บาทต่อหน่วย หรือไม่นั้นตอบได้ยาก เพราะขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการต้นทุนของผู้ประกอบการแต่ละรายหากเสนอราคาเท่ากันและเป็นพื้นที่เดียวกัน จะตัดสินว่าใครมาก่อนมีสิทธิ์ชนะ

ส่วนหลักเกณฑ์สัญญารับซื้อเชื้อเพลิงรูปแบบเกษตรพันธสัญญา (contract farming) เรื่องตกลงกันเองระหว่างชุมชนกับเอกชน แต่จะมากหรือน้อยสุดท้ายก็ไปสะท้อนที่ราคาค่าไฟ

161823614425

ชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด(มหาชน) หรือ UAC กล่าวว่า  ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ จำนวน 5 บริษัทเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนฯ ในพื้นที่ภาคอีสาน เป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ กำลังการผลิตแห่งละ 3 เมกะวัตต์

เชิดศักดิ์ วัฒนวิจิตรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TPCH กล่าวว่าา อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมข้อมูลและจดทะเบียนจัดตั้ง 10 บริษัทย่อย เพื่อรองรับการเข้าร่วมประมูล