BCH คว้ากำไร 323.77 ล้านบาท เล็งเปิดรพ.เวียงจันทน์ไตรมาส 3/64
BCH ไตรมาส 1/64 กำไร 323.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.49% จากช่วงเดียวกันปีก่อน รับประโยชน์รายได้ให้บริการผู้ป่วยเกี่ยวเนื่องโควิด-19 พุ่ง เตรียมเปิด "เกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล" สาขาเวียงจันทน์ ไตรมาส 3 ปีนี้
นายเฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) หรือ BCH เปิดเผยว่า ในไตรมาส 1 ปี 2564 ที่ผ่นมา บริษัทมีรายได้รวมจำนวน 2,383.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2563 จำนวน 186.79 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.50% ขณะเดียวกันบริษัทยังคงดำเนินนโยบายบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยบริษัทมีกำไรขั้นต้นจำนวน 697.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.59 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.22% กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายจำนวน 690.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 125.38 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 22.20% และกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทจำนวน 323.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64.63 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 24.94%
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ระลอกใหม่ ซึ่งส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมและผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระจายไปทุกพื้นที่อย่างรวดเร็ว โดยสถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกภาคส่วนเนื่องจากการประกาศยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโดยภาครัฐ กอปรกับความวิตกกังวลของภาคประชาชนต่อสถานการณ์ระบาระลอกใหม่
ทั้งนี้ ในส่วนของการบริการทางการแพทย์ ถึงแม้จำนวนการใช้บริการภาคปกติจะยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ แต่จำนวนการเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวเนื่องกับโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ โดยเฉพาะบริการตรวจกัดกรอง แยกกัก กักกัน และรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยในไตรมาสที่ผ่านมาเครือโรงพยาบาลได้เข้าร่วมกับภาครัฐในการให้บริการอย่างต่อเนื่องตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่กำหนด และได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาคต
ขณะที่แนวโน้มการดำเนินงานในอนาคต เนื่องด้วยสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ยังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและกระจายไปหลายพื้นที่ บริษัทและโรงพยาบาลในเครือยังคงมุ่งมั่นให้บริการทางการแพทย์ภาคปกติควบคู่กับการร่วมให้บริการกับภาครัฐในการตรวจ กัดกรอง แยกกัก กักกัน ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อบรรเทาอัตราการแพร่ระบาดและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยแนวโน้มการดำเนินงานของบริษัทในปี 2564 มีดังนี้
1. การให้บริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวเนื่องกับโรคโควิด-19
จากสถานการณ์การระบาคของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันและจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ ส่งผลให้จำนวนเตียงให้บริการผู้ป่วยโควิด-19 ของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนไม่เพียงพอต่อการรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินตามมาตรการภาครัฐในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเตียง บริษัทและ โรงพยาบาลในเครือได้ร่วมกับผู้ประกอบการโรงแรมในการให้บริการหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ซึ่งเป็นโรงแรมที่ผ่านการรับรองจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย
โดย ณ ปัจจุบัน บริษัทได้เข้าร่วมกับผู้ประกอบการโรงแรมกว่า 14 แห่ง มีจำนวนห้องเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อกว่า 3,300 เตียง นอกจากนั้น บริษัทได้เพิ่มจำนวนเตียงภายในโรงพยาบาลกว่า 900 เตียง เพื่อรองรับผู้ป่ายติดเชื้อโรด โควิด-19 ระลอก 3 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายได้ง่ายและมีอาการป่วยรุนแรงมากขึ้น
ในส่วนของการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับโรคโควิด-19 นั้น คนไข้ตามนิยามผู้สงสัยติดเชื้อสามารถเข้ารับบริการตรวจกัดกรองโรคโควิด-19 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และในกรณีผู้ไม่เข้าเกณฑ์ตามนิยามดังกล่าวและมีความประสงค์ตรวจคัดกรองต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง นอกจากนั้น ในส่วนของการรักษาโรคโควิด-19 ผู้ติดเชื้อสามารถข้ารับการรักษาพยาบาลได้ตามสิทธิโดยไม่มีค่าใช่จ่ายใดๆ
หากคนไข้มีประกันส่วนบุคคลให้โรงพยาบาลเรียกเก็บกับประกันส่วนบุคคลก่อนที่เหลือให้เรียกเก็บกับทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยโรงพยาบาลสามารถบิกจ่ายได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดคำใช้จ่ายในการบริหารคำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ดามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีติดเชื้อโรคโควิด-19
2. การให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19
การระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ดังนั้น การจัดหาและกระจายวัดซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันระดับชุมชนจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการช่วยลดความวิตกกังวลของประชาชน และฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สำหรับการจัดหาวัดชีนนั้น ทางภาครัฐได้ประกาศแผนการจัดหาวัคซีนและมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งในส่วนของวัคซีนที่จัดหาโดยภาครัฐและ วัคซีนทางเลือกที่ภาคเอกชนร่วมจัดหา
ซึ่งวัคซีนที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกยังคงอยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (เฟส 3) จึงจำเป็นต้องผ่านการอนุญาตและปฏิบัติตามขั้นตอนของภาครัฐอย่างเข้มงวด ที่ผ่านมากลุ่มโรงพยาบาลเอกชนได้ร่วมกับภาครัฐในการให้บริการฉีดวัคซีนไปบ้างแล้วตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด และมีการเตรียมความพร้อมเพื่อสนันสนุนการกระจายวัคซีนตามแผนการจัดหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ระบาดใหญ่ของโรคให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
3. การลงทุนเพื่อการสร้างฐานลูกค้าใหม่
สำหรับแผนการขยายอาณาเขตให้บริการ บริษัทได้มีการขยับแผนการเปิดดำเนินการ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เวียงจันทน์ ไปเป็นช่วงไตรมาส 3 ปี 2564 ซึ่งเป็นผลจากการประกาศล็อคดาวน์ประเทศ สปป.ลาว ซึ่งการเลื่อนเปิดดำเนินการโรงพยาบาลแห่งใหม่ดังกล่าวมิได้ส่งผลกระทบกับบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ บริษัทยังคงมุ่งมั่นศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ศักยภาพใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุมความต้องการของคนไข้ท้องถิ่น รวมถึงการปรับปรุงภาพลักษณ์ และเพิ่มสักยภาพสาขาโรงพยาบาลเดิม และการสร้างพันธมิตรกับกลุ่มธุรกิจอื่น อาทิ กลุ่มบริษัทประกันและกลุ่มธุรกิจโรงแรม เพื่อเพิ่มรูปแบบและช่องทางการให้บริการ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น