อัพเดท 'โควิดวันนี้' 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม.คงที่ 1 จับตาเพชรบุรี ชลบุรี นครปฐม

อัพเดท 'โควิดวันนี้' 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม.คงที่ 1 จับตาเพชรบุรี ชลบุรี นครปฐม

เกาะติดเช็คอัพเดท "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. คงอันดับที่ 1 จับตาเพชรบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี นครปฐม สงขลา ระนอง

รายงานเกาะติดความคืบหน้า สถานการณ์ โควิดวันนี้ การแถลงศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ตรวจสอบอัพเดท 10 จังหวัดอันดับพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สูงสุด 

จํานวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 จํานวน 10 จังหวัดอันดับแรก


1 กรุงเทพฯ 951 ราย

2 เพชรบุรี 669 ราย

3 สมุทรปราการ 180 ราย

4 ชลบุรี 106 ราย

5 นนทบุรี 92 ราย

6 สมุทรสาคร 43 ราย

7 ปทุมธานี 36 ราย

8 สงขลา 36 ราย

9 ระนอง 30 ราย

10 นครปฐม 30 ราย


ทั้งนี้ กรุงเทพฯ หรือ กทม. คงอันดับที่ 1 แต่ยอดลดจากพันราย เพชรบุรี สมุทรปราการ ยอดติดเชื้อยังสูง จับตา ชลบุรี สมุทรสาคร ระนอง นครปฐม ยอดเพิ่มจากวานนี้

162183586891

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือ พื้นที่สีแดงเข้ม ประกอบด้วย กรุงทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ รวม 4 จังหวัด 

พื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือ พื้นที่สีแดง รวม 17 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ยะลา ระนอง ระยอง ราชบุรี สมุทรสาคร สงขลา สุราษฎร์ธานี

162184612346

162183436968

สรุปสถานการณ์ โควิดวันนี้ 24 พ.ค. 2564

• พบผู้ติดเชื้อต่อเนื่องใน กทม. ปริมณฑล และ จังหวัดอื่น และมีลักษณะเป็นกลุ่มก้อน

• พบมากในโรงงาน แคมป์ก่อสร้าง สถานประกอบการ ประมง หลายจังหวัด อาทิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี

• พบสายพันธุ์อังกฤษ อินเดีย แอฟริกาใต้ ในพื้นที่ระบาด

162183117429

จำนวนผู้ติดเชื้อ โควิด 19 จำแนกตามประวัติเสี่ยงในภาพรวมทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. - 23 พ.ค. 2564

ปัจจัยเสี่ยง 3 อันดับแรก
1️ ผู้สัมผัส 33%
2️ ในเรือนจำและที่ต้องขัง 25%
3️ ชุมชน พื้นที่เสี่ยง/แออัด 13%

162183592120

162183590729

162183589440

162183588425

ยอดผู้หายป่วยจาก COVID-19 ในประเทศไทย ข้อมูลวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2564
หายป่วยรายใหม่ 1,565 ราย หายป่วยสะสม 58,674 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 ศูนย์ข้อมูล COVID19

162183087620

โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้

ศบค. เน้น 3 มาตรการควบคุมป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.351 แอฟริกาใต้
1.การเฝ้าระวัง
- ค้นหาเชิงรุกในชุมชน

2.มาตราการตรวจรักษา
- เตรียมความพร้อมด้านการรักษา
ผู้มีอาการน้อย รักษา รพ.
ชุมชน รพ.สนาม อาการปานกลางรักษา รพ.

3.การป้องกันการระบาด
- ควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่
- บริหารจัดการสถานที่กักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่
- ตรวจการลักลอบเข้าพื้นที่และตรวจคัดกรองเชื้อ โควิด-19
- ตรวจคัดกรองและติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
162183097584