'ชุดกาวน์' ผ้าไม่ถักไม่ทอ เกราะสู้ 'โควิด-19' เพื่อบุคลากรทางการแพทย์

'ชุดกาวน์' ผ้าไม่ถักไม่ทอ เกราะสู้ 'โควิด-19' เพื่อบุคลากรทางการแพทย์

"ชุดกาวน์" ถือเป็นเกราะป้องกัน "โควิด-19" ที่สำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะในชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน คุณสมบัติของชุดกาวน์ อาจไม่เพียงป้องกันเชื้อโรคที่ดี หากจำเป็นจะต้องระบายอากาศได้ดี และ เบา สบาย มากขึ้น

ไม่ต้องนับเวลาทำงานของด่านหน้า เจ้าหน้าที่ และบุคลากรทางการแพทย์  นับจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด -19 จากเดิมที่เวรแพทย์แบ่งกันทำงานคนละไม่เกิน 8 ชั่วโมง ณ ตอนนี้การแบ่งเวรด้วยเวลาเดิมๆ อาจไม่เพียงพอต่อการรับมือกับการระบาดระลอกใหม่  โดยเฉพาะเมื่อโรงพยาบาลสนามเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้เป็นจุดคัดกรองผู้ป่วย ตั้งแต่ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา จนถึงกลุ่มเสี่ยงสูงที่สัมผัสผู้ป่วยโควิด-19

นพ.ฆนัท ครุธกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โภชนาการโรคหัวใจ บอกว่า การออกแบบเวลาทำงานใหม่ ทำให้แพทย์บางหน่วยที่สังกัดโรงพยาบาลสนามทำหน้าที่คัดกรองผู้ป่วยและการตรวจเชิงรุก ต้องทำงานภายใต้สูตรปฏิบัติหน้าที่และรับโทรศัพท์ตลอด 24 ชม. เป็นเวลาติดต่อกัน 2 สัปดาห์ก่อนจะพักยาวในสัปดาห์ต่อมา

แน่นอนว่าภารกิจที่ยาวนาน ที่ต้องเผชิญความเสี่ยงตลอดเวลา บุคลากรด่านหน้าทั้งหมด ต้องมีชุดเกราะที่ดีเพียงพอต่อการป้องกันเชื้อโควิด-19

ชุดกาวน์ ทางการแพทย์ จึงเป็นอาวุธของด่านหน้าที่จะสู้ศึกโควิด-19 โดยเฉพาะในชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน คุณสมบัติของชุดกาวน์ อาจไม่เพียงป้องกันเชื้อโรคที่ดี หากจำเป็นจะต้องระบายอากาศได้ดี และ เบา สบาย มากขึ้น

162184155242

ชุดกาวน์ แบบใช้แล้วทิ้ง ที่ผลิตจาก  ผ้าไม่ถักไม่ทอ นอนวูฟเวน  ที่มีกระบวนการผลิตที่ทำให้เส้นใยขึ้นรูปเป็นผืนโดยไม่ผ่านการถักทอ การขึ้นรูปอาจเริ่มจากเส้นใยโดยตรงหรือจากเม็ดพลาสติกที่ขึ้นรูปให้เป็นเส้นใยแล้วจึงทำให้เป็นผืนอีกต่อหนึ่ง

คุณสมบัติ นุ่มไม่แตกต่างจากการสัมผัสผ้า โดยกระบวนการผลิต ชุดกาวน์แบบใช้แล้วทิ้งถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็น 3 ชั้นเช่นเดียวกับหน้ากากอนามัย หรือมากกว่าแต่ต่างกันที่แต่ละชั้นถูกยึดให้ติดกันด้วยความร้อนและแรงทางกลในกระบวนการผลิตเพื่อให้มีความแข็งแรง ป้องกันของเหลวและเชื้อโรค

การผลิตชุดกาวน์ ไม่แตกต่างจากหน้ากากอนามัย ซึ่งจะเป็นผ้าไม่ถักไม่ทอ (Non-woven fabric)แบบหลายชั้น (multi-layered nonwoven) ประกอบด้วยแผ่นสปันบอนด์เป็นชั้นแรก ซึ่งต่อมาถูกส่งไปตามสายพานไปยังระบบการผลิตแผ่นเมลต์โบลนเป็นชั้นที่ 2 จากนั้นแผ่นสปันบอนด์เมลต์โบลนนี้จะถูกส่งไปตามสายพานไปยังระบบผลิตแผ่นสปันบอนด์เพื่อผลิตชั้นที่ 3

ขั้นสุดท้ายแผ่นสปันบอนด์-เมลต์โบลน-สปันบอนด์ (SMS) ที่ได้จะถูกส่งไปยึดเส้นใยให้ติดกันด้วยความร้อนปัจจุบันมีการผลิตที่มากกว่า 3 ชั้น โดยเพิ่มจำนวนชั้นของเมลต์โบลน เช่น SMMS, SMMMS, SMMMMS เพื่อป้องกันเชื้อโรคได้มากขึ้น

ชุดกาวน์ ที่ผลิตจากวัตถุดิบ ผ้าไม่ถักไม่ทอ  หรือ นอนวูฟเวน จึงน่าจะเป็นคำตอบกับภารกิจ และการต่อสู้กับโควิด-19 ที่มีชั่วโมงการทำงานยาวนานของบุคลากรแพทย์ที่เป็นด่านหน้าในปัจจุบัน

162184160624

ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบชนิดนี้จากต่างประเทศ แต่เมื่อไม่นานมานี้ ไออาร์พีซี ร่วมกับพันธมิตร ผลิต "ผ้าไม่ถักไม่ทอ" วัตถุดิบสำคัญในการ "เป็น ชุดกาวน์ และแผ่นกรองอากาศ ทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบ ยกระดับตลาดเครื่องมือแพทย์ไทย จัดตั้ง “บริษัท อินโนโพลีเมด จำกัดโดยเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ไออาร์พีซี และ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (บริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้นทั้งหมด) ด้วยทุนจดทะเบียน 260 ล้านบาท โดย ไออาร์พีซี ถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 60 และอินโนบิก (เอเซีย) ถือหุ้นร้อยละ 40

นายชวลิต  ทิพพาวนิช  ประธานเจ้าหน้าทีบริหารและกรรมการผู้จัดกสนใหญ่ บมจ.ไออาร์พีซี  บอกว่า  การตั้งบริษัท เพื่อผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ที่ไม่ใช่เพียง ชุดกาวน์ หน้ากากอนามัยของไออาร์พีซี ไม่เพียงช่วยให้การทำงานของแพทย์ปลอดภัยจาก โควิด-19 มากขึ้นเท่านั้น หากระยะยาว ยังรวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ เช่น ผ้าปูเตียงผู้ป่วย ผ้าห่ออุปกรณ์สำหรับการผ่าตัด  แผ่นกรองอากาศที่ใช้ในห้องผ่าตัด  และห้องปลอดเชื้อ เป็นต้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการนำกลับมาใช้ซ้ำ และลดการนำเข้า เครื่องมือแพทย์

นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงการทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่สำคัญในอนาคตอีกด้วย