นิด้าโพล เผย ปชช. ไม่มั่นใจการจัดสรร 'วัคซีนโควิด' จากศบค.

นิด้าโพล เผย ปชช. ไม่มั่นใจการจัดสรร 'วัคซีนโควิด' จากศบค.

จากการสำรวจประชาชน พบว่าส่วนใหญ่ไม่มั่นใจแผนกระจาย "วัคซีนโควิด" ของศบค. มีความเห็นว่ามีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในวัคซีน

วันนี้ (13 มิ.ย.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง การจัดสรรวัคซีนป้องกัน COVID-19” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7 – 9 มิถุนายน 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องที่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดสรร/กระจาย วัคซีนป้องกัน COVID-19 ในขณะนี้ พบว่า

ร้อยละ 28.10 ระบุว่า มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องมาก

ร้อยละ 33.74 ระบุว่า มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก             

ร้อยละ 7.62 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

ร้อยละ 16.68 ระบุว่า ไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเลย

ร้อยละ 13.86 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

162355464132

ด้านความมั่นใจของประชาชนต่อการจัดสรร/กระจาย วัคซีนป้องกัน COVID-19 ในเดือนมิถุนายน 2564 ว่าจะเป็นไปตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 (ศบค.) วางแผนและประกาศไว้ พบว่า

ร้อยละ 14.78 ระบุว่า มั่นใจมาก เพราะ ประชาชนบางส่วนที่ลงทะเบียนไว้ได้รับการฉีดวัคซีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมั่นใจในการทำงานของรัฐบาล

ร้อยละ 22.70 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ เพราะ วัคซีนทยอยเข้ามาเยอะเเล้ว และมีการกระจายวัคซีนไปตามต่างจังหวัด ศบค. น่าจะทำตามแผนได้

ร้อยละ 39.22 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ เพราะ การนำเข้าวัคซีนค่อนข้างล่าช้า ประชาชนบางส่วนที่ลงทะเบียนไว้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามที่กำหนด โดนเลื่อนนัด และวัคซีนมีการกระจายไม่ทั่วถึง

ร้อยละ 22.01 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย เพราะ รัฐบาล และ ศบค. ไม่สามารถทำตามอย่างที่ประกาศไว้ และไม่สามารถหาวัคซีนมาได้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน                  

ร้อยล 1.29 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการอนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เช่น อบจ. เทศบาล อบต. กรุงเทพมหานคร  เทศบาลเมืองพัทยา) สามารถสั่งซื้อวัคซีนผ่านหน่วยงานของรัฐ เพื่อมาบริการให้กับประชาชนในพื้นที่ พบว่า

ร้อยละ 54.23 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการกระจายวัคซีนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี             ทำให้เข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้น

ร้อยละ 25.74 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ ประชาชนในท้องถิ่นที่ห่างไกลสามารถมีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีนง่ายขึ้น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน่าจะสามารถจัดสรรวัคซีนได้อย่างทั่วถึง

ร้อยละ 6.63 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ กลัวเกิดการทุจริต คอรัปชั่น ไม่โปร่งใส และบางหน่วยงานของท้องถิ่นยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน อาจทำให้ประชาชนได้รับผลเสีย

ร้อยละ 12.19 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย พราะ งบประมาณท้องถิ่นไม่สมควรมาปะปนกับงบประมาณเรื่องวัคซีน กลัวเกิดการทุจริตระหว่างการจัดซื้อวัคซีน และควรให้หน่วยงานของสาธารณสุขบริหารจัดการอย่างเดียว

ร้อยละ 1.21 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อการสื่อสารของ ศบค. เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว (2563) พบว่า

ร้อยละ 29.02 ระบุว่า สื่อสารได้ดีขึ้น

ร้อยละ 32.90 ระบุว่า สื่อสารได้ดีเหมือนเดิม

ร้อยละ 21.48 ระบุว่า สื่อสารแย่ลง

ร้อยละ 14.70 ระบุว่า สื่อสารแย่เหมือนเดิม

ร้อยละ 1.90 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ