หุ้นส่งออกธีมแรงครึ่งปีหลัง 64 ค้าโลกฟื้น-บาทอ่อนต่อเนื่อง
สถานการณ์เศรษฐกิจโลกได้เห็นตัวเลขที่สะท้อนการฟื้นตัวหลายดัชนี ทั้งเงินเฟ้อ ดัชนี PMI และจีดีพีโลก แม้แต่ในไทยที่เผชิญการเติบโตชะงักแต่ไม่ใช่ในภาคการส่งออกที่หลายสำนักวิจัยปรับตัวเลขเติบโตเป็นเลขสองหลักแทบทุกแห่ง
กล่าวได้ว่าธีมส่งออกคือพระเอกที่ชัดเจนที่สุดสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นไทยครึ่งปีหลัง 2564 นี้ก็ว่าได้ ตัวเลขการส่งออกของไทยมีวันดีขึ้นจากเดือนมี.ค. ขยายตัว 8.47 % สูงสุดรอบ 28 เดือน ต่อด้วยเดือน เม.ย. ขยายตัว 13.09 % สูงสุดรอบ 36 เดือน และล่าสุดเดือนพ.ค. ขยายตัวถึง 41.59 % สูงสุดในรอบ 11 ปี ทำให้ในรอบ 5 เดือน ส่งออกขยายตัว 10.78 %
ตัวเลขดังกล่าวทำให้การส่งออกของไทยในแต่ละเดือนสามารถเกิน 20,000 ล้านดอลลาร์ มาตลอด หากสามารถรักษาการตัวเลขแบบนี้ได้ต่อเนื่องทำให้โอกาสเห็นส่งออกของไทยพลิกกลับมาเติบโตตลอดทั้งปีในตัวเลขสองหลักได้สูงมาก
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกจะดีแล้วค่าเงินบาที่อ่อนค่ายิ่งหนุนให้มูลค่าการส่งออกปรับตัวสูงขึ้นไปด้วยและเป็นกำไรทางค่าเงินให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาค่าเงินบาทไปในทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง
จนล่าสุด (29 มิ.ย.) ค่าเงินบาทแตะที่ 32 บาทต่อดอลลาร์ กลายเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือนและเป็นการอ่อนค่ามากกว่าสกุลอื่น ซึ่งแบงก์ชาติออกมายอมรับถึงแนวโน้มอ่อนค่าเนื่องจากไทยยังพึ่งพิงการท่องเที่ยวแต่ยังไม่สามารถเปิดประเทศได้เต็มที่ ประกอบกับสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยมีเงินยังไหลออกจากตลาดหุ้น แต่ยังมีเงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้
ดังนั้นทิศทางธุรกิจที่อิงกับการส่งออกได้ประโยชน์จากตลาดการค้าโลกฟื้นการเติบโตและยังได้ผลดีจากทิศทางค่าเงินบาทที่อ่อนค่า จึงทำให้มีหลายกลุ่มหุ้นที่ราคาหุ้นตอบรับประเด็นดังกล่าวหลังมีการมองว่าธีมการลงทุนในตลาดหุ้นครึ่งปีหลัง “หุ้นส่งออก” กลายเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดหุ้นที่โดดเด่น
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส ประเมินสินค้าส่งออกที่ มีการเติบโตตลอดตั้งแต่ต้นปี เชื่อว่าจะมีแนวโน้มดีต่อเนื่องในช่วงที่เหลือออีก 7 เดือนของปีนี้ มี กลุ่มสินค้าเกษตร สินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดี หลักๆ คือ ยางพารา มีบริษัทจด ทะเบียนในตลาดที่ส่งออก อาทิ NER และ STA , สิ่งปรุงรสอาหาร มี XO , อาหาร สัตว์เลี้ยง หุ้น TU และ ASIAN , ไก่สด แช่เย็นและแช่แข็ง มีหุ้น GFPT -TFG และ CPF , ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีหุ้น TWPC
ส่วนอุตสาหกรรมสินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดีอีกกลุ่มคือ กลุ่มยายนต์ มี SAT และ AH , เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ประกอบด้วย VNG และ SKN , เครื่องคอมพิวเตอร์และ ส่วนประกอบ มีหุ้น HANA กลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์ทางอ้อมจากส่งออกที่ขยายตัว บริษัทมีพื้นที่ให้บริการ จัดเก็บสินค้าในแหลมฉบัง JWD -WHA -FPT หรือ บริษัทที่ทำธรุรกิจขนส่ง ระหว่างประเทศ อาทิ WICE
กลุ่มหุ้นดังกล่าวที่สามารถเก็งกำไร กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ มีหุ้น KCE -DELTA-HANA และ SVI ด้วยผลดีตามค่าเงินบาทที่ ทุกๆ 1 บาทต่อดอลลาร์ที่อ่อนค่าจากสมมติฐานค่าเงินบาทปี 2564 ถือเป็น Upside ต่อ ประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มชิ้นส่วนฯ ในปี 2564 ราว 5.8%
ส่งผลทำให้มีการปรับประมาณการณ์กำไรจากเดิมเพิ่มขึ้น HANA เพิ่มขึ้น 6.2%, DELTA เพิ่มขึ้น 5.7%, KCE เพิ่มขึ้น 5.5% และ SVI เพิ่มขึ้น 5.2%) อย่างไรก็ตามด้วย Valuation ที่แพง เกินมูลค่าพื้นฐานไปแล้ว จนมี PER กลุ่ม 64 เท่า จึงแนะนำเพียงเก็งกำไรในระยะสั้น เท่านั้น ถัดไปคือ กลุ่มยานยนต์ แนะนำ AH และ SAT , กลุ่มเกษตรอาหาร STA – STGT- NER –TFG -CPFและ TU กลุ่มส่งออกเหล็ก MCS
บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) การเติบโตของยอดส่งออกดังกล่าว ถือว่าเด่นกว่าภูมิภาคที่โตเฉลี่ย 35% (YoY) แนวโน้มเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2564 ยังมีโอกาสโตสูง (YoY) จากฐานที่ต่ำ เมื่อผนวกกับเงินบาทที่อ่อนค่าเร็ว 6.2% (YTD) เทียบกับค่าเฉลี่ยภูมิภาคที่อ่อนค่า 3.5% (YTD) จึงมอง กลุ่มส่งออกยังโดดเด่นในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า และประเมินว่า ตัวเลขส่งออกจะช่วยจำกัด Downside ให้กับ SET Index ได้ในระยะสั้น หุ้นเด่น CPF, GFPT, BR, NER, STA, CCET, SAT, AH