ลงนามสัญญาสั่งซื้อ'วัคซีนไฟเซอร์'ภายในสัปดาห์นี้

ลงนามสัญญาสั่งซื้อ'วัคซีนไฟเซอร์'ภายในสัปดาห์นี้

คร.เตรียมลงนามสัญญาสั่งซื้อวัคซีนไฟเซอร์ภายในสัปดาห์นี้ ขอเจรจาให้ได้เงื่อนไขดีที่สุดก่อน เผยประสิทธิผลวัคซีน 3 ตัวในโลกจริง

         เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวถึงกรณีโซเชียลมีการติดแฮชแท็กทวงคืนวัคซีนโมเดอร์นา ประชาชนไม่ต้องจ่ายเงิน ว่า วัคซีน mRNA ขณะนี้มี 2 ตัว คือ โมเดอร์นา และไฟเซอร์ ซึ่งถ้าพูดถึงประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงมีความใกล้เคียงกัน แล้วรัฐบาลเลือกที่จะใช้ไฟเซอร์แล้ว ส่วนโมเดอร์นาถูกกำหนดให้เป็นวัคซีนทางเลือก โดยภาคเอกชนสามารถจัดหามาเสริมเพิ่มเติมให้ประชาชนได้ราว 5 ล้านโดส

    นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ครม.ได้อนุมัติให้กรมควบคุมโรค(คร.)ลงนามในสัญญาซื้อจำนวน 20 ล้านโดส และ มีมติให้รับคำแนะนำของอัยการสูงสุดไปเจรจรากับบริษัทไฟเซอร์ ว่าสัญญาส่วนไหนที่จะสามารถปรับปรุงได้บ้าง ซึ่งกรมมีการนัดหมายกับไฟเซอร์ในวันที่ 8 ก.ค.2564 และจะมีการลงนามในสัญญาสั่งซื้อภายในสัปดาห์นี้ เป็นไปตามกรอบเป้าหมายที่ครม.ให้คำแนะนำ ส่วนกรณีที่สหรัฐฯ จะมีการบริจาคไฟเซอร์ให้ประเทศไทย 1.5 ล้านโดส กรมมีการลงนามแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป โดยวัคซีนจะเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อไหร่จะมีการแถลงอีกครั้ง   

    ต่อข้อสงสัยที่ว่ามีรายงานวัคซีนซิโนแวคประสิทธิภาพในการป้องกันโรคต่ำที่สุดทำไมรัฐบาลยังมีมติสั่งซื้อเพิ่มเติม นพ.โอกาส กล่าวว่า เรื่องการใช้วัคซีนต้องมอง 2 ส่วน คือเรื่องประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ขณะนี้ประเทศไทยมีแผนการสั่งซื้อวัคซีน ทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์  ซึ่งประสิทธิภาพของวัคซีนจะมีการตรวจ 1. เจาะเลือดตรวจดูว่าภูมิคุ้มกันขึ้นเป็นตัวเลขเท่าไหร่ และการทดสอบในมนุษย์จำนวนมาก แต่ในความเป็นจริง เวลาฉีดวัคซีนในแต่ละประเทศนั้น จะมีการทดสอบวัดประสิทธิภาพจากการใช้จริงว่าป้องกันโรคได้อย่างไร

          สถาบันวัคซีนแห่งชาติสรุปผลการปรึกษารวบรวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับวัคซีนหลักที่ใช้ในประเทศไทย คือ ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และที่จะนำเข้ามาคือไฟเซอร์  โดยข้อมูลวัคซีนโควิด-19 ประสิทธิผลและผลข้างเคียงจากการใช้จริง ซึ่งทั่วโลกมีการใช้แล้วหลายพันล้านโดส 
      ในส่วนของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า การใช้จริงในประเทศอังกฤษ ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ 89%หลังฉีด 2 เข็ม ประสิทธิผลในการป้องกันการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ 80 %  สกอตแลนด์ ลดความรุนแรงของโรคที่เข้ารักษาในรพ. 88 %   อิตาลี  ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในทุกกลุ่มอายุ 95%หลังฉีดวัคซีนแล้ว 35 วัน  เกาหลีใต้ ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ 90 %หลังฉีดเข็มแรก 14 วัน  ส่วนข้อกังวล รายงานการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งข้อมูลในสหราชอาณาจักร พบหลังการฉีดเข็มแรกหรือไม่ทราบโดส 14.8 เคสต่อ 1 ล้านการฉีด พบหลังการฉีดเข็มสอง 1.5 เคสต่อ 1 ล้านการฉีด สำหรับประเทศไทยมีการฉีดไปแล้วกว่า 4 ล้านโดส มีรายงานการเกิดลิ่มเลือดราว 2-3 ราย ขณะนี้อยู่ในการสอบสวนหาสาเหตุ จะเห็นว่าในประเทศไทยไม่ได้เกิดฃจำนวนมาก
     ไฟเซอร์ อิสราเอล หลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดส ป้องกันการติดเชื้อ 95.3
% ป้องกันการป่วยที่ไม่มีอาการ 91.5% ป้องกันการป่วยที่มีอาการ 97% ป้องกันการป่วยที่ต้องเข้ารักษาในรพ. 97.2% ป้องกันการป่วยที่มีอาการรุนแรง 97.5% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 96.7% สหรัฐอเมริกา วัคซีนชนิดmRNA ทั้งไฟเซอร์และโมเดอร์นา มีประสิทธิผลในการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ 90 % หลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ มีข้อกังวล เรื่องการแพ้รุนแรง 11.1 เคสต่อ 1 ล้านการฉีด และการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบในกลุ่มวัยรุ่น มีรายงาน  8 เคสต่อ 1 ล้านการฉีด   ซึ่งไทยยังไม่ได้ใช้ทางการกำลังจับตาใกล้ชิด แต่ประโยชน์การฉีด mRNA แม้มีโอกาสเกิดก็ตามแต่เทียบประโยชรน์ผลที่เกิดขึ้นยังมีประโยชน์ อเมริกา WHO แนะนำให้ใช้และติตดามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด

      ซิโนแวค ในอินโดนีเซีย หลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดส ป้องกันการป่วยที่มีอาการ 94% ป้องกันการป่วยที่ต้องเข้ารักษาในรพ.  96% ป้องกันการเสียชีวิต 98%  ชิลี ป้องกันการป่วยที่รุนแรง 89 % c]tบราซิล หลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดส ป้องกันการป่วยที่มีอาการ 80 % ป้องกันการป่วยที่ต้องเข้ารักษาในรพ.86% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 95%   ส่วนผลข้างเคียงยังไม่มีผลที่น่าเป็นห่วง ในประเทศไทยฉีดชนิดนี้เกือบ 7 ล้านโดส ยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงจากวัคซีนที่รุนแรง ถือว่ามีประสิทธิภาพจากการใช้จริง ลดการติดเชื้อ ป่วยหนัก และลดเสียชีวิต

       นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ไวรัสกลายพันธุ์ตลอด ทำให้ปรับมาตรการหาวัคซีนเพิ่มเติม มีการติดตามสถานการณ์พบว่า หลายบริษัทมีการพัฒนาวัคซีนรุ่น 2  อย่างแอสตร้าฯกำลังพัฒนารุ่น2 หากพัฒนาประสบความสำเร็จ มีโอากสนำมาใช้ในประเทศไทย ส่วนไฟเซอร์ทราบว่ามีการพัฒนาแต่ยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนต้องติตตามความก้าวหน้าต่อไป  
      “ยืนยันว่าทุกตัวที่เราเอามาใช้นั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ จะเห็นคนพูดว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่ใช่ ถ้าเทียบกับการไม่ฉีดวัคซีนเลยนั้น สามารถลดการติดเชื้อได้ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แต่สิ่งที่เหมือนกันของวัคซีนทั้ง 3 ชนิด คือ สามารถลดการป่วยหนัก ลดการนอนรพ. ลดการใช้ไอซียู ตรงนี้เห็นตรงกันทุกรายงานทั้งภาคสนาม การป่วยหนัก สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้เกือบ 90% เกือบทุกตัว”นพ.โอภาสกล่าว  

          นพ.โอภาส กล่าวด้วยว่า  ส่วนเรื่องความปลอดภัย การใช้วัคซีนแอสตร้าฯในช่วงแรกเกิดลิ่มเลือดอุดตันนั้น ผู้เชี่ยวชาญอธิบายหลายครั้งว่า ภาวะนี้เกิดในคนฝรั่งผิวขาว แต่คนเอเชียเกิดน้อย สำหรับซิโนแวค เป็นเทคโนโลยีเก่า ผลข้างเคียงน้อยมาก เห็นตรงกันว่าเทียบแล้วปลอดภัยที่สุด ส่วนไฟเซอร์ หากติดตามข่าวจะมีข้อกังวลเล็กๆ กรณีที่ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) พบอุบัติการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในคนหนุ่มอายุ โดยคาดว่าเกิดจากวัคซีน อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 ตัว เมื่อเทียบประสิทธิภาพ อาการข้างเคียง ความปลอดภัย กับประโยชน์ และโทษนั้น การฉีดวัคซีนมีประโยชน์มากกว่า วันนี้ประเทศไทยฉีดแล้ว 11 ล้านโดส ก็จะเร่งดำเนินการฉีดต่อไป