EE เล็งขายหุ้น ‘SSUT’ให้ EP มูลค่า 1.24 พันล้าน
อีเทอเนิล เอนเนอยี เตรียมขายหุ้น ‘SSUT’ให้ EP มูลค่า 1.24 พันล้าน หนุนบริษัทมีกระแสเงินสดและสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
บริษัท อีเทอเนิล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ EE แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ว่า สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่4/2564 เมื่อ วันที่31 พฤษภาคม2564 ได้มีมติให้เสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่4/2564 เพื่อพิจารณาอนุมัติการจำหน่ายเงินลงทุนใน “บ.เอสเอสยูที หรือ SSUT”ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทจำนวน 7,297,500 หุ้น จากทั้งหมด 29,190,000 หุ้นมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 25.00% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยเป็นทุนจดทะเบียนชำระแล้วจำนวน2,919 ล้านบาท ให้แก่ “บ.อีสเทอร์นโคเจนเนอเรชัน หรือ ECOGEN ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของ “บมจ.อีสเทอร์นพาวเวอร์กรุ๊ป หรือ EP” คิดเป็นมูลค่าทั้งสิน1,246.12 ล้านบาท หรือ170.76 บาทต่อหุ้น
โดยบริษัทจึงได้แต่งตั้งบ.สีลม แอ๊ดไวเซอรี (IFAหรือที่ปรึกษาฯ)เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับการเข้าทำรายการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทในครั้งนี้ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาลงมติ
สำหรับข้อดีของการเข้าทำรายการ คือ บริษัทมีกระแสเงินสดและสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ,บริษัทสามารถนำเงินที่ได้จากการเข้ารายการในครั้งนี้ไปลงทุนในธุรกิจที่บริษัทมีความชำนาญและอาจมีโอกาสได้รับผลตอบแทนทีดีกว่า,ราคาที่บริษัทจะเข้าทำรายการเป็นราคาที่สูงกว่าราคายุติธรรม และบริษัทจะมีกำไรจากการขายหุ้นสามัญของ SSUT
โดย ณ 31 มีนาคม2564 บริษัทมีเงินลงทุนใน SSUT ตามวิธีส่วนได้เสียเท่ากับ1,066.02 ล้านบาท การจำหน่ายเงินลงทุนที่ราคา 1,246.12 ล้านบาท จะทำให้บริษัทมีกำไรก่อนหักภาษีประมาณ180 ล้านบาท ซึ่งจะถูกกบันทึกในงบกำไรขาดทุน
นอกจากนี้ ที่ปรึกษาการลงทุน ยังเห็นว่ามูลค่าที่เข้าทำรายการมีความเหมาะสม เนื่องจากราคาขายที่1,146.12ล้านบาทหรือ170.76 บาทต่อหุ้นนั้นสูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของหุ้นสามัญของSSUTซึ่งอยู่ระหว่าง 4,300.98 – 4,662.68 ล้านบาท หรือ147.34 – 159.74 บาทต่อหุ้น ดังนั้น FA จึงมีความเห็นว่าผู้ถือหุ้นควรลงมติอนุมัติการเข้าทำรายการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ในครั้งนี้
สำหรับ SSUT ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก(SmallPowerProducer:SPP) และไอน้ำร่วมกันในระบบCogenerationโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าและความร้อนโครงการตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปูจังหวัดสมุทรปราการมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุด 240 MW และกำลังการผลิตไอน้ำสูงสุด60 ตันต่อชั่วโมง