LHFG กำไรครึ่งปี 64 ลด21.9% เหตุเงินลงทุน-รายได้ปันผลลด
"แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล" กำไรครึ่งปี 64 จำนวน 1,038.0 ล้านบาท ลดลง 21.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลง 4.7% จากช่วงไตรมาส 2 ปีก่อน เหตุกำไรจากเงินลงทุนและรายได้เงินปันผลลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้น
บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHFG แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 2ของปี 2564 มีกำไรสุทธิจำนวน 477.5 ล้านบาท ลดลง 14.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 560.5ล้านบาท เป็นผลจำกกำรลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ 19.9% และผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่เพิ่มขึ้น 21.2%
และลดลง4.7%เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 500.9ล้านบาท เป็นผลจากการลดลงของกำไรจากเงินลงทุน
ขณะที่ผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย งวด 6 เดือนของปี 2564 มีกำไรสุทธิจำนวน 1,038.0 ล้านบาท ลดลง 21.9% เมื่อเทียบกับงวด 6 เดือนของปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 1,329.7 ล้านบาท เป็นผลจากการลดลงของกำไรจากเงินลงทุนและรายได้เงินปันผล และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน
งวด 6 เดือนของปี 2564 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ มีจำนวน 2,500.3ล้านบาท เพิ่มขึ้น3.9% เมื่อเทียบกับงวด 6 เดือนของปี 2563 โดยรายได้ดอกเบี้ย มีจำนวน 3,722.0ล้านบาท ลดลง9.2% และ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย มีจำนวน 1,221.7ล้านบาท ลดลง 27.8% เมื่อเทียบกับงวด 6 เดือนของปี 2563
บริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ย พักชำระเงินต้น/ดอกเบี้ย กำไรลดค่างวด การขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เป็นต้น รวมทั้งได้มีการส่งผ่านผลประโยชน์ให้กับลูกค้าสินเชื่อจากการลดอัตราเงิน นำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนำระบบสถาบันการเงิน (FIDF) จากอัตรา 0.46% ต่อปีเหลืออัตรา 0.23% ต่อปี ตามมาตรการของทางการที่จะครบกำหนดในปี 2564
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสุทธิ มีจำนวน 1,160.7ล้านบาท ลดลง23.8% เมื่อเทียบกับงวด 6เดือนของปี 2563 ส่วนใหญ่เป็นกำรลดลงจากกำไรจากเงินลงทุน
สินทรัพย์รวมณ วันที่ 30 มิ.ย.2564 มีสินทรัพย์รวม 265,565.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 16,253.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 สินทรัพย์หลักประกอบด้วย เงินให้สินเชื่อ - สุทธิ คิดเป็น 61.8%ของสินทรัพย์รวม รองลงมาได้แก่ เงินลงทุน - สุทธิ คิดเป็น21.9%ของสินทรัพย์รวม
"เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเผชิญกับความเสี่ยงจากการระบำดของไวรัสโคโรนาที่ยืดเยี้อและรุนแรงมากขึ้นจนอาจนำไปสู่การยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การใช้จ่ายของภาคเอกชนและการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม แม้ระบบธนาคารพาณิชย์จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่ระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีความเข้มแข็งเนื่องจากมีการติดตามดูแล
สินเชื่ออย่างใกล้ชิด มีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง"