อียูสนับสนุนไทย 1.9 ล้านยูโร รับมือ-จัดการโรคระบาด
อียูให้ไทย 1.9 ล้านยูโร สนับสนุนรับมือ-จัดการโรคระบาด พัฒนาระบบเฝ้าระวังควบคุมโรค –พัฒนาวัคซีนในประเทศ-ดูแลแรงงานต่างด้าว
เมื่อเวลา 10.30 น. วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม 2565 ในการแถลงข่าวแบบเว็บบินาร์ผ่านระบบ Zoom เปิดโครงการความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและองค์การอนามัยโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าด้วยการรับมือและความพร้อมในการจัดการโรคระบาดในประเทศไทย ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความช่วยเหลือที่ทางสหภาพยุโรปได้มีมาอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการทำงานด้านความพร้อมรับสถานการณ์โควิด 19 ของประเทศไทย โดยผ่านทางโครงการความร่วมมือต่างๆ ระหว่าง องค์การอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวัคซีนแห่งชาติและมูลนิธิศุภนิมิตประจำเทศไทย
ฯพณฯ ท่าน เปียร์กา ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ความร่วมมือในโครงการนี้ สหภาพยุโรปได้สนับสนุน 20 ล้านยูโรให้ภูมิภาคอาเซียน และ 1.9 ล้านยูโร เป็นประโยชน์โดยตรงสำหรับประเทศไทย มีระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2564 และจะสิ้นสุดในปี 2566 ดำเนินการโดยองค์การอนามันโลกสำนักงานปประเทศไทย กรมควบคุมโรค สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และมูลนิธิศุภนิมิต เพื่อเสริมสร้างระบบของประเทศไทยในควบคุมโรคโควิด 19 และให้การดูแลในกลุ่มประชากรเปราะบาง
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) กล่าวว่า การสนับสนุนจากสหภาพยุโรปจะหนุนเสริมกรมควบคุมโรคเรื่องการสื่อสารความเสี่ยง การป้องกันควบคุมโรค รวมถึงประชาการต่างด้าว และส่งเสริมสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งจะนำไปสู้การรับมือโรคระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.แดเนียล เคอร์เทสซ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลก(WHO)ประจำประเทศไทย กล่าวว่า 18 เดือนแล้วที่มีการต่อสู้ควบคุมโรคโควิด19 และมีคนทุกข์นับพันล้านคนทั่วโลก ซึ่งการยุติโรคระบาดต้องมีเป้าหมายของการเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ ซึ่งการจะลดผลกระทบ รวมถึง การป้องกันควบคุมโรคต้องอาศัยความร่วมมือทั้งท้องถิ่น ประชาชน ระดับรัฐ และระดับสากล โดยWHOประจำประเทศไทยจะทำงานร่วมกับกรมควบคุมโรคในการป้องกันควบคุมโรค ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติในการพัฒนาวัคซีนได้เองทั้งโรคโควิดและอื่นๆ และมูลนิศุภนิมิตในการป้องกันควบคุมโรคในชุมชนต่างด้าว เป็นต้น
ด้าน ดร.ศราวุธ ราชศรีเมือง ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มูลนิธิฯมองว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคโควิด19 คือความเข้มแข็งของชุมชน และในส่วนชุมชนเฉพาะแรงงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นสมาชิกสำคัญในประเทสไทย โดยมีการอยู่ร่วมเป็นชุมชนในจังหวัดที่ทำงาน ดังนั้น การเข้าถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจากแหล่งที่เชื่อถือได้สำคัญอย่างยิ่ง มูลนิธิฯได้เข้าไปดำเนินการโมเดล อสต.หรืออาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว ด้วยการคัดเลือกผู้แทนแรงงานที่มีจิตอาสา มาฝึกอบรมการสื่อสารและให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับกลุ่มแรงงาน ผ่านสื่อต่างๆ รวมถึง ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชน เช่น การให้ถุงยังชีพกรณีถูกกักตัว เป็นต้น เชื่อว่าหากทำให้ชุมชนรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและเข้าถึงบริการจะเป็นส่วนหนึ่งช่วยควบคุมโรคนี้และอื่นๆ
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า ทุนที่ได้รับเป็นการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนภายในประเทศ จะช่วยให้สามารถจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยพิจารณาโครงการวิจัยต่างๆที่ดำเนินการอยู่ เพื่อให้มั่นใจในความก้าวหน้าและความสำเร็จของคนไทย ซึ่งการวิจัยพัฒนาวัคซีนไม่หยุดเฉพาะวัคซีนโควิด19 การมีผู้เชี่ยวชาญมาสนับสนุนจะเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านวัคซีน ทั้งบุคลากรไทยและผลผลิตที่เป็นวัคซีน โดยจะเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศในอนาคต ทั้งคนและของ
พญ.ชุลีพร จิระพงษา นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ทุนที่ได้รับกรมจะดำเนินการใน 5 เรื่อง คือ 1.สนับสนุนการเฝ้าระวังโรค โดยเฉพาะที่ด่านต่างๆ 2.การให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินที่ด่านๆต่างๆ 3.เรื่องวัคซีนที่จะต้องเก็บข้อมูลทั้งประเทศเป็นฐานข้อมูล ซึ่งการบริหารจัดการต้องใช้สรรพกำลังทั้งรัฐและเอกชน 4.การสื่อสารความเสี่ยง ซึ่งสำคัญมากทั้งการกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับวัคซีน และต่อสู่กับFake News ต่างๆ และ5.พัฒนาระบบหมอพร้อม เพื่อบริหารจัดการผู้ได้รับวัคซีนโควิด19ทุกคน ต้องลงทะเบียนในระบบนี้