LEO ชี้ครึ่งปีหลังต้นทุน'ค่าขนส่ง' พุ่ง ผนึกแบงก์หนุนสินเชื่อฟื้นฟูฯ อุ้มลูกค้า
“ลีโอ โลจิสติกส์” ชี้ค่าระวางขนส่งครึ่งหลังปีนี้ยังพุ่งจากครึ่งปีแรกเพิ่ม 5-10 เท่า ผู้ประกอบการแบกต้นทุนอ่วม หวั่นกระทบสภาพคล่อง เผยไตรมาส 2 ปีนี้ขยายเครดิตเทอม-เครดิตไลน์ช่วยลูกค้าทะยานกว่ 280ล้าน ยันสภาพคล่องแกร่ง พร้อมผนึกแบงก์พันธมิตรอุ้มลูกค้า
“ลีโอ โลจิสติกส์” ชี้ค่าระวางขนส่งครึ่งหลังปีนี้ยังพุ่ง จากครึ่งปีแรกเพิ่ม 5-10 เท่า ผู้ประกอบการแบกต้นทุนอ่วม หวั่นกระทบสภาพคล่องเผยไตรมาส 2 ปีนี้ขยายเครดิตเทอม-เครดิตไลน์ช่วยลูกค้าทะยานกว่า 280 ล้านจากก่อนโควิดแค่5.77 ล้านลั่นสภาพคล่องยังแกร่งพร้อมผนึกแบงก์พันธมิตรจัดสินเชื่อฟื้นฟูฯ อุ้มลูกค้าเพิ่มเติม มองวิกฤติโควิดรอบนี้ยังไม่กระทบส่งออกมั่นใจปีนี้ยังโตต่อเนื่อง
นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO เปิดเผยในงานสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ หัวข้อ “LEO รวมพลังรวมใจฟื้นฟูผู้ประกอบการไทย ฝ่าฟันโควิด” จับมือพันธมิตร 4 สถาบันการเงินชั้นนำ ว่า จากวิกฤติโควิด-19 ทำให้อัตราค่าระวางขนส่ง ทั้งเรือและอากาศ ในช่วงครึ่งหลังปีนี้ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องจากครึ่งปีแรกที่ผ่านมานี้ โดยอัตราค่าระวางขนส่งทางเรือ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8-10 เท่า และทางอากาศ เพิ่มขึ้นมาเฉลี่ย 4-5 เท่า จากต้นปีนี้ โดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐและยุโรป มีอัตราค่าระวางขนส่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด
“มองว่าไตรมาส 3 ปีนี้ อัตราค่าระวางขนส่งยังพุ่งสูง เพราะไตรมาส 3 เป็นช่วงที่มีการส่งออกสูงสุดของปี และยังมีความต้องขนส่งสินค้าบนแฟลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงโควิด”
ทั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อบริษัทและลูกค้าผู้ประกอบการส่งออกอย่างมากตั้งแต่ต้นปีมานี้ เพราะต้องนำเงินทุนมารองรับเพิ่มขึ้นอีก 5-10 เท่าตามภาระต้นทุนค่าระวางขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งยังไม่รวมต้นทุนค่าสินค้าและอื่นๆมองว่า หากต้นทุนดังกล่าวยังเพิ่มและลูกค้าของบริษัทจำเป็นต้องขยายธุรกิจต่อ อาจมีผลกระทบต่อสภาพคล่องได้
ดังนั้น เพื่อให้ลูกค้าของบริษัท ยังมีเงินทุนหมุนเวียนมาช่วยฟื้นฟูเสริมสภาพคล่องในการขนส่งสินค้าและรองรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ให้สามารถดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤติโควิดต่อไปได้
ล่าสุด บริษัทผนึกธนาคารพันธมิตร ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ผ่านสินเชื่อฟื้นฟูพิจารณาเพิ่มวงเงินเครดิตเทอมและเครดิตไลน์ให้กับลูกค้าของบริษัทเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทยังมีสภาพคล่องเพียงพอกว่าหลายร้อยล้าน หลังจากการเข้าระดมทุนปลายปีก่อน ที่พร้อมขยายวงเงินเครดิตเทอมและเครดิตไลน์ให้กับลูกค้าตามศักยภาพ เพื่อให้ลูกค้าเติบโตไปด้วยกันได้ต่อเนื่อง
โดยในไตรมาส 2 ปีนี้ บริษัทมีการสำรองเงินสดขยายวงเงินเครดิตเทอมและเครดิตไลน์ให้ลูกค้าไปแล้ว280 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2564 อยู่ที่ 115.39 ล้านบาท และในช่วงโควิด ณ ไตรมาส 4 ปี 2563 อยู่ที่ 97.26 ล้านบาท ถือว่าเพิ่มขึ้นมากอย่างหลายเท่าตัว จากช่วงก่อนโควิด ณ ไตรมาส 4 ปี 2562 อยู่ที่ 5.77 ล้านบาท เท่านั้น
นายเกตติวิทย์ มองว่า แม้มีวิกฤติโควิดแต่ลูกค้าส่งออกยังได้รับผลกระทบเชิงบวกอยู่ ทำให้การส่งออกที่เป็นธุรกิจหลักของบริษัท เชื่อว่า ยังเติบโตต่อเนื่องต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้
นางสาวปุณฑริก เพ็ญศิริพันธุ์ รองผู้อำนวยการฝ่าย ผู้บริหารธุรกิจบรรษัท ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารยังมีวงเงินสินเชื่อเพียงพอสำหรับธุรกิจที่ต้องการเข้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจของธปท.
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธนาคารได้เข้าไปช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านมาตรการสินเชื่อต่างๆ โดยปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 3 หมื่นราย วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท
นางสาวจันทร์ฉาย พิทักษ์อรรณพ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(เอ็กซิมแบงก์ )กล่าวว่า มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ร่วมกับธปท.นั้น เราไม่ได้จำกัดวงเงิน โดยธปท.มีวงเงินกองกลางสูงถึง 2 แสนล้านบาท ดังนั้น ผู้ประกอบการรายใดที่ต้องการสินเชื่อสามารถยื่นเรื่องผ่านธนาคารได