ไทยออยล์ รุกสู่ธุรกิจโอเลฟินส์ในอินโดนีเซียต่อยอดปิโตรเคมี
ไทยออยล์ ทุ่ม 3.91 หมื่นล้านบาท ซื้อหุ้น PT Chandra Asri Petrochemical Tbk ผู้ผลิตสาร โอเลฟินส์รายใหญ่ในอินโดนีเซีย ต่อยอดสู่ธุรกิจปิโตเคมี หวังรับรู้กำไร 40-50 ล้านดอลลาร์ไตรมาส4 ปีนี้ รับโควิด-19 กระทบโครงการ “พลังงานสะอาด” เชื่อยังบริหารจัดการได้
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP ประกาศเข้าร่วมลงทุน ในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (“CAP”) ประเทศอินโดนีเซีย ผ่านบริษัทย่อยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ PT TOP Investment Indonesia โดยเข้าถือหุ้น CAP ที่สัดส่วน 15.38% ใช้เงินลงทุนมูลค่ารวมไม่เกิน 1,183 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 39,100 ล้านบาท เพื่อก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินส์ หวังเป็นการต่อยอดธุรกิจโรงกลั่นของไทยออยล์ให้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจปิโตรเคมีมากขึ้น และผลักดันสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่มีอายุครบ 100 ปี
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า การลงทุนในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของไทยออยล์ในการเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ จากเดิมที่มีธุรกิจสายอะโรเมติกส์อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้โครงสร้างธุรกิจของไทยออยล์มีความสมบูรณ์ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร
โดยสายโอเลฟินส์มีข้อได้เปรียบที่สามารถนำไปเป็นสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ขั้นปลายต่างๆ ที่หลากหลายกว่าสายอะโรเมติกส์ ขณะที่ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ในปริมาณสูง มีแนวโน้มเติบโตดีในอนาคต และยังต้องพึ่งพาการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ
อีกทั้ง CAP ยังเป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำรายใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย และยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงงานแยกแนฟทา (Naphtha Cracker) เพียงแห่งเดียวของประเทศ มีกำลังการผลิตเอทิลีน (ethylene) ประมาณ 900,000 เมตริกตันต่อปี และพอลิโอเลฟินส์ (Polyolefins) ที่มีคุณภาพสูง รวมถึงเป็นผู้ผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ (SM) และบิวทาไดอีน (BD) และจะดำเนินการขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2 ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าตัว
ทั้งนี้ บริษัทมั่นใจว่า การเข้าลงทุนครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน ทั้งการได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท CAP และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด หรือ เอสซีจี ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ CAP ถือเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต การร่วมลงทุนใน CAP ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำทำไทยออยล์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินส์ได้อย่างรวดเร็วและทำให้โครงสร้างธุรกิจมีความสมบูรณ์ ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี สร้างโอกาสการเติบโตในประเทศอินโดนีเซีย ที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสูงมาก
นอกจากนี้ การลงทุนนี้ยังเป็นการการขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่าง ไทยออยล์ กับ CAP โดยไทยออยล์ได้เข้าทำสัญญาเพื่อส่งผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบให้กับ CAP โดยบริษัทได้เข้าทำสัญญาเพื่อจำหน่ายพอลิเมอร์เรซิน (Polymer Resin) และผลิตภัณฑ์ในรูปของเหลวอื่นๆ ของ CAP อีกด้วย
โดยคาดว่ากระบวนการและการดำเนินการต่างๆ ในการเข้าร่วมลงทุนใน CAP จะแบ่งเป็น 2 งวด โดยงวดแรก ชำระในเดือนกันยายน ปีนี้ วงเงิน913 ล้านดอลลาร์ วงเงินส่วนนี้จะมาจากการกู้เงินระยะสั้น 18 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.4% ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเงินกู้จาก ปตท. ที่เหลือมาจากสถาบันการเงิน ส่วนงวดที่ 2 จ่ายเงินกลางปี 2565 ราว 270ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะเริ่มรับรู้กำไรจากการเข้าลงทุนครั้งนี้ ประมาณ 40-50 ล้านดอลลาร์ฯต่อปี และเริ่มรับรู้ในไตรมาส4 ปีนี้ โดย CAP มีการประกาศผลกำไรครึ่งแรกปีนี้ อยู่ที่ราว 165 ล้านดอลลาร์ และหากโครงการ ดอลลาร์ฯภายในไตรมาส บรู้กำไรประมาณ ซีจี้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจปิโตรเคมีมากขึ้น และผลักดันสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่มีอายุครบ ขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2 หรือ CAP 2 ตัดสินใจก่อสร้างในกลางปีหน้า และใช้เวลาก่อสร้างเสร็จในปี 2569 ก็คาดว่าจะรับรู้กำไรเพิ่มขึ้นเท่าตัว
“เงินลงทุนครั้งนี้ จำนวน 3.91 หมื่นล้านบาท บริษัทได้วางแผนจัดหาเงินโดยจะเพิ่มทุน 1 หมื่นล้านบาท และขายหุ้นGPSC ให้กับปตท.ซึ่งจะได้เงินมาประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะดำเนินการภายในครึ่งแรกของปีหน้า ส่วนเงินที่เหลืออีกไม่ถึง 1 หมื่นล้านบาท ก็จะจัดหาจากการออกหุ้นกู้และกู้เงินจากสถาบันการเงิน โดยจะต้องนำเรื่องเขาขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นฯตามกระบวนการก่อน”
นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการพลังงานสะอาด หรือ CFP นั้น ยอมรับว่า ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ไม่สามารถส่งคนงานเข้าพื้นที่ได้ตามเป้าหมายที่คาดว่าจะมีคนงานประมาณ 1 หมื่นคน ซึ่งปัจจุบัน ก็คนงานอยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าเป้าหมายมาก แต่ขณะนี้ยังเหลือเวลาดำเนินงานอีก 1 ปี ก็คาดหวังที่จะบริหารจัดการงานก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามแผนภายในปี 2566