เปิดเบื้องลึก! 'ทูตไทยในวอชิงตัน' คุยอะไรทำเนียบขาว ‘สหรัฐ’ ส่งวัคซีนเพิ่มเป็น 2.5 ล้านโดส

เปิดเบื้องลึก! 'ทูตไทยในวอชิงตัน' คุยอะไรทำเนียบขาว ‘สหรัฐ’ ส่งวัคซีนเพิ่มเป็น 2.5 ล้านโดส

งานนี้เดินเกมเจรจาเป็นขบวนการ 'เอกอัครราชทูตไทย' หารือทุกระดับ ทั้งภาครัฐ ส.ส. สว. เอกชน พร้อมผนึกชุมชนไทย และ Friends of Thailand ให้เข้าถึงวัคซีนสหรัฐ และมองการณ์ไกลไปในอนาคต ไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนร่วมสหรัฐ

สำนักข่าววีโอเอ รายงานว่า "นายมนัสวี ศรีโสดาพล เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน" เผยเบื้องหลังการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มเติมจากจำนวน 1.5 ล้านโดส ซึ่งเป็นข่าวดีที่รับแจ้งข่าวดีจาก วุฒิสมาชิกเชื้อสายไทย แทมมี ดักเวิร์ธ มาก่อนหน้านี้ ในเวลาไล่เลี่ยกับการได้รับแจ้งจากทำเนียบขาว

นายมนัสวี เปิดเผยกับ ‘วีโอเอ ไทย’ ว่า ทางสถานทูตฯ ได้รับข่าวดีจากทางทำเนียบขาวโดยตรงว่า สหรัฐจะให้บริจาควัคซีนในไทยเดิมทีที่ 1.5 ล้านโดส หลังจากนั้น พอเขาประกาศเราก็เริ่มหารือเพื่อที่จะลำเลียงวัคซีนเหล่านั้นไปเมืองไทยอีกสักพักหนึ่ง ส.ว. แทมมีก็โทรมาหาผม ท่านก็แจ้งข่าวว่า ในนามของประธานาธิบดีสหรัฐ

“ทางสหรัฐมีความห่วงใยกับประชาชนคนไทย ถือว่าเป็นมิตรเก่าแท้ของสหรัฐ เพราะฉะนั้นเขาก็จะขอเพิ่มวัคซีนให้เราเองอีกต่างหากอีก 1 ล้านโดส รวมแล้วเป็น 2.5 ล้านโดส ล็อตแรก 1.5 ล้านโดสก็ไปถึงเมืองไทยแล้วสัปดาห์นี้ แล้วก็หาล็อตที่ 2 เราก็กำลังประสานกับทางทำเนียบขาวอยู่เพื่อให้เขาเร่งรัดให้รีบส่งให้เมืองไทย” เอกอัครราชทูตมนัสวี ระบุว่า ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาได้ทำงานอย่างหนัก ในทุกช่องทางที่เป็นไปได้ในการประสานกับหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ในสหรัฐ เพื่อเจรจาเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของทุกประเทศทั่วโลก

นายมนัสวี กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมา เราเกือบจะเรียกว่าทุกวัน ประสานกับทั้งฝ่ายบริษัทโดยตรง ทั้งฝ่ายรัฐบาลและทำเนียบขาวกับกระทรวงต่างประเทศ และกับ ส.ส. และ ส.ว ของสหรัฐ เพื่อผลักดันให้เขา ให้ประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยเข้าถึงวัคซีนเหล่านี้ได้เพราะมันจะเป็นคำตอบในหลายเรื่อง ทั้งในเรื่องของสาธารณสุขและก็ในเรื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มันกระทบทั่วโลก เราก็พยายามเต็มที่นะ และที่สำคัญก็คือเราก็สนับสนุนให้ชุมชนไทยก็พยายามสื่อกับทางนักการเมืองของสหรัฐ ให้ช่วยนึกถึงประเทศไทย

162788980499

“วิธีที่จะเข้าถึงฝ่ายรัฐบาลสหรัฐ เนี่ยมันก็ไม่ใช่แค่ข้าราชการด้วยกันเองมันก็ต้องไปถึงกลุ่มต่างๆ ภาคเอกชน เข้าถึงภาคสถาบันวิชาการซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการส่งข้อมูลให้กับทางสภา หรือให้กับทางรัฐบาล เราก็เห็นว่าการที่ผมไปพบกับฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายรัฐสภาไม่เพียงพอ เราต้องพยายามหาแนวร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งของไทยกับของสหรัฐ ที่จะช่วยโน้มน้าวรัฐบาลในการในการเดินหน้าความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐ" นายมนัสวีเล่า

ขณะเดียวกัน สถานทูตก็วิงวอนทางรัฐบาลสหรัฐ ให้ช่วยเร่งส่งวัคซีนที่เราขอซื้อ ให้มันเร็วขึ้น ให้มันทันกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่มันเกิดขึ้นในตอนนี้ ซึ่งแล้วเราก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้นเราก็ยังอาศัยเครือข่ายเพื่อนประเทศไทย (Friends of Thailand) ตัวแทนชุมชนไทย บุคคลที่เรารู้จักชาวสหรัฐ ที่เรารู้จักที่เขามีเส้นสายต่างๆ ให้เขาช่วยรณรงค์ให้ประเทศไทยอีกรอบหนึ่ง

เราก็ต้องชมพวกบริษัทอเมริกาที่อยู่ในเมืองไทยเพราะเขาก็มีความเป็นห่วงต่อธุรกิจของเขาด้วย ต่อคนงานของเขาด้วยก็เราก็ใช้ทุกรูปแบบ ที่ผ่านมาก็ถือว่าประสบความสำเร็จได้ในระดับหนึ่งตอนนี้ก็เป็นเรื่องของการเข้าถึงวัคซีนที่เราลงนามสัญญาสั่งซื้อว่าถ้าเราได้เร็วขึ้นช่วยบรรเทาบรรเทาสถานการณ์ได้” นายมนัสวี กล่าว

ก่อนหน้านี้ทางทูตอาเซียนกับทำเนียบขาวก็มีการปฏิสัมพันธ์กันเกือบจะทุก 2 สัปดาห์ 3 สัปดาห์ต่อเดือนก็มีความใกล้ชิดผ่าน แต่นี่ผ่านวงของทูตอาเซียน 10 ประเทศเราก็ตอกย้ำเรื่องการเข้าถึงและซีนของเขาเขาก็บอกว่าเนี่ยเมื่อการผลิตเริ่มเพิ่มขึ้นเนี่ยเขาก็จะหาทางเพิ่มความช่วยเหลือทางด้านวัคซีนให้กับโลกอีกอีกรอบนึงนะ เพราะฉะนั้นขอให้ใจเย็นๆ แล้วเขาก็จะประกาศออกมาเป็นระยะๆ”

นอกจากนี้ทางสถานเอกอัครราชทูตไทย มองไปถึงความร่วมมือในขั้นต่อไปที่จะพัฒนาและเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรด้านการวิจัยของไทย กับ บริษัทเอกชนในสหรัฐ ในการตั้งฐานการผลิตวัคซีนหรือเวชภัณฑ์เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ในประเทศไทย

“เราได้ติดต่อกับทุกบริษัทวัคซีนของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขอซื้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการร่วมกันวิจัยและผลิตวัคซีน ซึ่งก็เดินหน้าไปต่อไป ตอนนี้แล้วก็พยายามจับเชื่อมโยง องค์การ หรือสถาบันหรือบริษัทต่างๆ ที่มีความชำนาญ ที่จะสามารถมาช่วยเป็นพันธมิตรในการผลิตวัคซีนในประเทศไทยแล้วก็ทางกรุงเทพฯ เองก็ได้มีการติดต่อโดยตรงกับบริษัทเหล่านี้ที่มีตัวแทนอยู่ในเมืองเมืองไทย

นายมนัสวี กล่าวในตอนท้ายว่า สถานทูตฯ มีโอกาสในสถาบันต่างๆ ที่มีมาตรฐานสูง และมีผลงานที่เด่นชัดแล้ว ประสบการณ์จากในอดีตของเราที่ร่วมผลิตยารักษามาลาเรีย ซึ่งทางฝ่ายสหรัฐแม้กระทั่ง ไมเคิล จอร์ช ดีซอมบรี อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทย ก็ตระหนักว่าประเทศไทยเรามีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากกับทางสหรัฐ หรือทางศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐเองก็มีสำนักงานอยู่ที่ที่เมืองไทยเหมือนกัน