‘สมาคมตราสารหนี้ไทย’ ยันไม่เห็นสัญญาณ’หุ้นกู้ดีฟอลต์’ เพิ่ม
“สมาคมตราสารหนี้ไทย” คาด หุ้นกู้ออกหลังจากนี้ ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันขายยาก เหตุ โควิด ส่งผลนักลงทุนระวังการลงทุน หวั่นชำระคืนหนี้ไม่ได้ ยันยังไม่เห็นสัญญาณหุ้นกู้ดีฟอลต์
นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) เปิดเผยว่า การระบาดของโควิด -19 ที่รุนแรงขึ้นในช่วงนี้ ในช่วงนี้ต้องอาศัยความระมัดระวังในการออก "หุ้นกู้" เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะขายไม่หมด และนักลงทุนจะระมัดระวังในการลงทุนหุ้นกู้ในสถานการณ์เช่นนี้
ขณะที่ ผู้ออกหุ้นกู้ที่ขอยืดอายุหุ้นกู้ไปแล้ว ถ้าต้องการออกหุ้นกู้ใหม่ ก็อาจจะเหนื่อยขึ้น เพราะว่าปัจจุบันหุ้นกู้ ไฮยิลดที่ออกตอนนี้สัดส่วน 80% เป็นหุ้นกู้มีประกันกันหมด และผู้ที่ขอยืดหุ้นกู้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไฮยิลด์ ถ้าจะออกเพิ่มต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำทีประกันเพิ่มมากขึ้น เพราะเชื่อว่านักลงทุน มีความระมักระวังการลงทุนอยู่แล้ว คงไม่ได้ดูแค่ผลตอบแทนการลงทุนอย่างเดียว
“คาดคงจะไม่เห็นหุ้นกู้ไฮยิลด์ชำระหนี้หุ้นกู้ไม่ได้ตามกำหนด หรือดีฟอลเพราะผู้ออกหุุ้นกู้ไฮยิลด์เดิมนั้นมีการยืดหนี้ไปแล้ว และคาดว่าคงจะไม่มีรายใหญ่ออกหุ้นกู้ดังกล่าว เพราะนักลงทุนอาจไม่สนใจซื้อในสถานการณ์ขณะนี้”
สำหรับในปีนี้ผู้ออกหุ้นกู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด เรายังพบว่า ยังคงเป็นรายเดิมๆ ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปีก่อน ทำให้มีหุ้นกู้บางส่วนที่ขอยืดอายุชำระหนี้หุ้นกู้ออกไป และยังขอต่ออายุยืดหนี้ออกไปอีกเพราะการระบาดโควิด-19ลากยาวกว่าที่คาดในปีนี้ โดยผู้ออกหุ้นกู้ได้ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้แล้วซึ่งผู้ถือหุ้นกู้ ก็เข้าใจสสถานการณ์เช่นนี้ดีว่าเป็นเหตุสุดวิสัย และยังคงยืดอายุชำระหนี้ให้ ซึ่งไม่น่าเป็นห่วง
ขณะที่สถานการณ์การออกหุ้นกู้ในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ อยู่ที่ 6.04 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 52%เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยนหุ้นกู้ครบกำหนดในปีนี้ โดยเดือนส.ค.ถึงสิ้นปีนี้ จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดราว 3.3 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้สัดส่วนถึง 92% เป็นหุ้นกู้ระดับอินเวสต์เมนต์ เกรดเชื่อว่าจะไม่มีประเด็นการโรลโอเวอร์ ขณะที่ในหุ้นกู้ไฮยิลด์ ราว 2.5 หมื่นล้านบาท ที่ออกมาตั้งแต่ช่วงต้นปีมานี้ สัดส่วนกว่า 80% เป็นการออกที่มีหลักทรัพย์หรือมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นส่วนที่เข้ามาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
นางอาริยา กล่าวว่า คาดการประชุมกนง. ในวันนี้ น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่0.5% เนื่องจาก เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลงจากการระบาดของโควิด-19 และ ธปท. ได้ทำการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจ เอสเอ็มอีและหนี้ครัวเรือน ความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจึงลดลง