เช็คแผน 'ผู้ว่าฯกทม.' ฝ่าวิกฤติ 'โควิด' เมืองหลวง

เช็คแผน 'ผู้ว่าฯกทม.' ฝ่าวิกฤติ 'โควิด' เมืองหลวง

เปิดบทสัมภาษณ์พิเศษ "ผู้ว่าฯกทม." พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ถึงสถานการณ์ระบาดโควิดในกรุงเทพฯ กับแผนบริการจัดการในภาวะวิกฤติ "โควิด" เมืองหลวง

จากตัวเลขผู้ป่วยไวรัส "โควิด-19" ในพื้นที่กรุงเทพฯยังพุ่งสูงมากกว่า 4 พันคน สะสมยอดผู้ป่วยไปแล้วมากกว่า 2.5 แสนราย กำลังเป็นสถานการณ์วิกฤติคนกรุงเทพฯ ในฐานะจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุดในประเทศ ตั้งแต่การระบาดระลอกใหม่ในเดือน เม..2564 เป็นต้นมา

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหน่วยงานกรุงเทพมหานคร(กทม.) จะถูกกดดันและคาดหวังเร่งแก้ไขสถานการณ์ "วิกฤติโควิด" โดยเร็วที่สุด ท่ามกลางยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตยังไม่หยุดนิ่ง มาวันนี้ "กรุงเทพธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "ผู้ว่าฯกทม." พล...อัศวิน ขวัญเมือง ถึงสถานการณ์ระบาดโควิดในกรุงเทพฯ ล่าสุดกับแผนบริการจัดการในภาวะวิกฤต "โควิด" เมืองหลวง

เริ่มที่ "อัศวิน" บอกว่า จากสถานการณ์โควิดต่อวันตอนนี้ ในกรุงเทพฯ มีผู้ป่วยรายใหม่ 3,000 - 4,000 ราย แต่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กำหนดให้ กทม.อยู่ในกลุ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด(สีแดง) เพราะพบการติดเชื้อจำนวนมาก ทำให้ กทม.ต้องออกประกาศสั่งปิดสถานที่ชั่วคราว รวมทั้งออกมาตรการควบคุมตามมติของคณะกรรมการควบคุมโรค กทม. ตอนนี้เป็นฉบับที่ 40 แล้ว เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้การระบาดเพิ่มความรุนแรง แต่กทม.ต้องปรับมาตรการควบคุมสถานที่ที่ประชาชนรวมตัว และพิจารณาผ่อนปรนสถานที่บางแห่งเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกให้ประชาชดำเนินชีวิตต่อไปได้

ส่วนการดูแลผู้ป่วยในขณะนี้ กทม.จัดตั้ง "ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ" ไว้รองรับผู้ป่วยที่มีผลตรวจรับรองว่าติดเชื้อโควิด แต่ก็ไม่สามารถแยกกักรักษาตัวที่บ้านได้ ซึ่ง กทม.มีศูนย์พักคอยฯ ที่ตั้งไว้ใน 6 กลุ่มเขตรวมตอนนี้ 70 แห่ง สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 9,390 เตียง ตอนนี้เปิดรับผู้ป่วยไปแล้ว 64 แห่ง ซึ่งศูนย์พักคอยฯจะแยกผู้ป่วยออกจากบ้าน เพื่อคัดกรองอาการผู้ป่วยก่อนรอส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล

162986729773

"อัศวิน" ยังเผยว่า ที่ผ่านมากทม.ได้ยกระดับศูนย์พักคอยฯ ให้เป็น "กึ่งโรงพยาบาลสนาม" ระดับกลุ่มเขตอีก 7 แห่ง ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขตทั่วกรุงเทพฯ โดยรองรับผู้ป่วยได้ 990 เตียง ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่ม "สีเหลือง" ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องรับการดูแลจากแพทย์ใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองได้รับการรักษาจนหาย และกลับบ้านไปใช้ชีวิตตามปกติโดยเร็วที่สุด

ไม่ใช่แค่นั้น แต่ กทม.ได้จัดทีมปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิดเชิงรุก หรือเรียกว่า "Bangkok CCRT" ซึ่งทีมนี้จะลงพื้นที่ชุมชนทั้ง 50 เขต ไปตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) เพื่อแยกผู้ป่วยออกมา ซึ่งทีมนี้จะจ่ายยาและมอบอุปกรณ์พยาบาลในกลุ่มที่กักตัวที่บ้านได้ เช่น เครื่องวัดออกซิเจน เครื่องวัดไข้ ถุงสำหรับใส่ขยะติดเชื้อ แต่มีเจ้าหน้าที่ติดตามอาการทุกวันส่วนในกลุ่มผู้ป่วยที่กักตัวที่บ้านไม่ได้ กทม.จะนำส่งศูนย์พักคอยฯ ที่กทม.ได้เตรียมไว้แล้ว

ขณะที่ผลตรวจเชิงรุกทีม "Bangkok CCRT" พล...อัศวิน เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 15 ..-22 ..2564 ทีมนี้ลงพื้นที่ไปแล้ว 3,190 ชุมชน มีผู้ได้รับบริการ 176,963 ราย ใช้ชุดตรวจ ATK 42,091 ราย มีผลตรวจเป็นบวก 4,819 ราย รวมถึงได้ฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุไปแล้ว 62,518 ราย ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเสี่ยง 58,566 ราย และหญิงตั้งครรภ์ 287 ราย ส่วนผู้ป่วยแยกรักษาตัวที่บ้าน มียอดที่ 89,369 รายแบ่งเป็นอยู่ระหว่างรักษา 33,408 ราย อาการทั่วไป 33,189 ราย และส่งต่อโรงพยาบาลเนื่องจากมีอาการ 219 ราย

ขณะที่ตัวเลขยอดฉีดวัคซีนในพื้นที่กรุงเทพฯ ล่าสุด "อัศวิน" เปิดเผยว่า จากข้อมูลวันที่ 24 ..2564 มีผู้ที่ได้รับวัคซีนในกรุงเทพฯ 8,133,941 โดส แบ่งเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 6,498,619 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 1,493,292 ราย และเข็มที่ 3 จำนวน 142,030 ราย แบ่งย่อยเป็น 6 กลุ่มดังนี้

1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ฉีดวัคซีนสะสม 544,808 โดส

2.ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนสะสม 1,055,269 โดส

3.เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย ฉีดวัคซีนสะสม 249,332 โดส

4.หญิงตั้งครรภ์ ฉีดวีคซีนสะสม 4,800 โดส

5.กลุ่มบุคคลที่มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีนสะสม 811,228 โดส

6.ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เช่น ตลาด โรงงาน แคมป์คนงงานก่อสร้างฉีดวัคซีนสะสม 5,468,484 โดส

162986700274

"กรุงเทพธุรกิจ" ถามถึง "วัคซีนทางเลือก" ที่ กทม.เตรียมจัดซื้อเข้ามา อาทิ โมเดอร์นา มีความคืบหน้าอย่างไร "อัศวิน" บอกว่า กทม.มีแนวคิดจัดซื้อวัคซีนทางเลือกมาฉีดให้ประชาชน หากวัคซีนที่ได้รับจัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุขไม่เพียงพอ ซึ่งผลการให้บริการฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ โดยหน่วยฉีดต่างๆ ทั้งที่ฉีดในโรงพยาบาล หน่วยความร่วมมือ 25 จุด หน่วยฉีดเชิงรุกของกทม. และหน่วยบริการอื่นๆ ของหน่วยงานนอกสังกัด กทม.ได้ฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ ไปแล้วกว่า 8 ล้านโดส หรือประมาณร้อยละ 83 ของคนกรุงเทพฯ ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม

"กทม.ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี พระราชทานวัคซีนให้แก่ชาวกรุงเทพฯ และวัคซีนซึ่งได้รับการสนับสนุนวัคซีนจากหน่วยงานภายนอกอาทิสภากาชาดไทย เพื่อนำมาฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบางเพิ่มเติมด้วย"พล...อัศวิน ระบุ

"อัศวิน" ยอมรับว่า ถึงแม้สถานการณ์ปัจจุบันมีแนวโน้มมีจำนวนผู้ติดเชื้อทรงตัว แต่หากจากนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น กทม.จะเร่งค้นหากลุ่มเสี่ยง เพิ่มเตียงในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม เพิ่มศูนย์พักคอย รวมถึงให้มีการ "รักษาแยกกักที่บ้าน" ในกลุ่มผู้ติดเขื้อที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย และผมจะให้เฝ้าระวังในสถานที่เสี่ยงในกรุงเทพฯ เช่น ตลาด โรงงาน แคมป์ก่อสร้าง และชุมชนอย่างเข้มข้นมากขึ้น

"อัศวิน" ชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาโควิดต้องอาศัยความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน ตั้งแต่

1.หน่วยงานภาครัฐต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน ซึ่ง กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดมาตรการทำงานสอดคล้องทิศทางกัน

2.ภาคประชาสังคมให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามมาตรการที่กำหนด เช่น การทำงานที่บ้าน

3.ภาคประชาชนให้ความร่วมมือตามมาตรการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะมาตรการส่วนบุคคล เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ วัดไข้

"หากประเมินสถานการณ์โควิดตั้งแต่เดือน ..-..2564 ในกรุงเทพฯนั้น ผมมองว่าหากการควบคุมการแพร่ระบาด และการฉีดวัคซีนให้ประชาชนเป็นไปตามเป้าหมาย จะทำให้แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยในกรุงเทพฯจะทรงตัวและจะลดลงได้ และหากทั้ง 3 ภาคส่วนนี้ร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง ผมมั่นใจว่าเราจะก้าวพ้นวิกฤติไปด้วยกัน"พล...อัศวิน กล่าวทิ้งท้าย.

162986727124