เฉลิมชัย ควงประภัตร โต้ฝ่ายค้านปัดทุจริตขายยาง –ลุยแก้ลัมปีสกิน

เฉลิมชัย ควงประภัตร โต้ฝ่ายค้านปัดทุจริตขายยาง –ลุยแก้ลัมปีสกิน

เฉลิมชัย-ประภัตร โต้ ฝ่ายค้าน ระบายยางเสื่อมสภาพ 1.48 แสนตัน มีเหตุมีผล ได้เงินคืน 33 ล้าน ลดภาระค่าเช่าโกดัง3.4 พันล้าน แถมขายยางในตลาดตามเงื่อนไขได้อีก สร้างเสถียรภาพราคาโดยไม่ใช้งบรัฐสักบาท ยันไม่ปลดผู้ว่า กยท. ขณะนำเข้าวัคซีนลัมปีสกิน 5 ล้านโดส

ด้านผู้ว่า ย้ำ !! ประมูลยางโปร่งใสทุกขั้นตอน

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่า การกำหนดเงื่อนไขการโครงการระบายบางในสต็อก 1.48 แสนตันนั้น ยืนยันว่าเป็นไปด้วยความโปร่งใส่ ถูกต้องตามระเบียบราชาการ อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากระบายครั้งนี้ด้วยจากบริษัทที่รับซื้อยางในสต็อกต้องซื้อยางในตลาดด้วยในปริมาณที่เท่ากัน  เป็นการสร้างเสถียรภาพราคายางได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณจากภาครัฐ ที่กำหนดเงื่อนไขนี้ เพราะป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรัฐบาล

 อีกทั้งยางในสต็อก ดังกล่าว ที่ผ่านมา ถูกผู้ประกอบการนำมาใช้ทุบราคายางในประเทศ การตัดสินใจระบายยางออกไปนั้น ทำให้ตัดปัญหาดังกล่าว อีกทั้งยังช่วยลดภาระของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)กรณีค่าใช้จ่ายการเช่าโกดัง 3400 ล้านบาท และได้เงินคืน 33 ล้านบาทด้วย  การเก็บรักษาด้วย โดยยางในสต็อก ดังกล่าว มีการจัดเก็บมานาน 7-9 ปี สภาพของยางจึงเสื่อม  ไม่ต่างจากขี้ยาง ไม่สามารถนำไปแปรรูปด้วยตัวเองได้ แต่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมเท่านั้น

การระบายครั้งนี้จึงมีผู้ร่วมประมูลเพียง 6 รายเท่านั้น ซึ่งผู้เสนอราคาสูงสุดคือ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เชื่อมั่นได้  โดยกำหนดให้บริษัทรับมอบยางให้แล้วเสร็จภายใน วันที่  31 พ.ค.  64  เนื่องจาก กยท.จะหมดอายุการเช่าโกดัง

 “การตัดสินใจระบายยางครั้งนี้  ผู้บริหาร กยท.  ตัดสินใจร่วมกับกระทรวงการคลัง เสนอผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) และคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)   แล้ว ก่อนจะเซ็นสัญญา  ซึ่งผมก็เห็นชอบเพราะทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล” 

                ส่วนการแต่ตั้ง นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท  เป็นผู้ว่า กทย.  นั้นต้องชี้แจงไทม์ไลน์ ว่า  ผู้ว่า กยท. คนก่อน (นายธีธัช สุขสะอาด) ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 59 – 21 เม.ย.  63  มีสัญญาจ้าง  4 ปี แต่มีคำสั่งให้นายธีธัช ไปช่วยราชาการที่สำนักนายกรัฐมนตรีก่อน   แต่ตำแหน่งผู้ว่า กยท. ยังอยู่ ไม่สามารถตั้งใครมาทดแทนได้ ปลดจากตำแหน่งก็ไม่ได้ เพราค่าชดเชยแพงมาก  ตนจึงรอและตั้งกรรมการก่อนหมดวาระ ล่วงหน้า  2 เดือน โดยกำหนดคุณสมบัติที่เหมาะสม ตามกระบวนกฎหมาย  

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในฐานะดูแลหน่วยงานปศุสัตว์ ในเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่า  โรคลัมปี สกิน ใหม่สำหรับไทย แม้ว่าจะเกิดที่แอฟริกามานานกว่า 70 ปี แล้ว และหายไป  ผุดขึ้นมา ปี 62 เข้ามา ฟิลิปปินส์  ปากีสถาน และเมียนมาใน ปี 63 ที่  กรมปศุสัตว์รับทราบได้ประกาศ ห้ามนำเข้า ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ตามแนวชายแดน ในเดือน พ.ย. 63 แต่ก็มีเล็ดรอดเข้ามาได้ตามช่องทางธรรมชาติ ตรวจพบโรค ในไทยวันที่ 29 มี.ค.63 ทีท อ. พนมไพร  จ.ร้อยเอ็ด  ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการเคลื่อนย้ายสัตว์

163065640665

                ปศุสัตว์ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่สามารถรับมือการแพร่กระจายของลัมปีสกินได้เพราะการมีการระบาดเร็วมากโดยมีแมลงเป็นพาหะ  สามารถกระจายได้ไกลถึง 50 กม.  กลายเป็นโรคเป็นอุบัติใหม่เกิดขึ้น กระทรวงเกษตรฯจึงรายงานครม. และได้รับจัดสรรงบกลางรวม   684 ล้าน เพื่อซื้อวัคซีน และวิตามิน จากแอฟริกาใต้  แต่การขนส่งติดปัญหาโควิด ทำให้ใช้เวลานาน และพวัคซีนได้ทยอยเข้า ในวันนี้(3 ก.ย.)อีก 5 ล้านโดส ราคาต่ำกว่าราคากลางประมาณ 1 ดอลลาร์ และจ่ายเงินตามการเปิด LC  ที่ประมูลได้   การดำเนินการที่ผ่านมา ของกรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้การแพระกระจายของโรคลดลง จากวันละ 2 หมื่นตัว เหลือ 200 ตัวต่อวันในปัจจุบัน   

โดยกรมปศุสัตว์  รายงานการป่วย ตาย ของโคและกระบือ  65 จังหวัด มีป่วยสะสม 5.07 แสนตัว รักษาหาย 4.2 แสนตัว เหลือที่อยู่ระหว่างการรักษา  1 แสนตัว  ตาย 4.9 หมื่นตัว  แยกเป็น โค 4.08 หมื่นตัว กระบือ408 ตัว

ปัจจุบันกระทรวงเกษตรเตรียมการชดเชยเยียวยาโดยใช้เงินทดรองผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ และได้ปรับเพิ่มวงเงินเยียวยา ไม่เกินรายละ 5 ตัวจากเดิม 2 ตัว แยกเป็น โคอายุน้อยกว่า 6 เดือน เดิมชดเชย 6,000 บาทต่อตัว ครั้งนี้เพิ่มเป็น 1.3 หมื่นบาทต่อตัว โคที่อายุ 6เดือน -1 ปี เพิ่มเป็น 2.2 หมื่นบาท  อายุเกิน 1-2 ปี ตัวละ 2.9 หมื่นบาท  และอายุ เกิน 2 ปีขึ้นไป ตัวละ  3 .5 หมื่นบาท   โดยมีผลย้อนหลัง 6 เดือน

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า  การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ดำเนินการประมูลขายยางในโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ปริมาณ 104,763.35 ตัน ด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน โดย กยท.ได้ดำเนินการตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน  2563  ให้ กยท. ระบายสต๊อกยางในโครงการดังกล่าว โดยคำนึงถึงระยะเวลา และระดับราคาจำหน่ายที่เหมาะสม เพื่อลดภาระงบประมาณและรักษาประโยชน์สูงสุดของรัฐ ทั้งนี้ คณะกรรมการ กยท. มีมติเมื่อวันที่  8 เมษายน 2564 ให้ กยท.ดำเนินการระบายสต็อกยางในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564

 

 เนื่องจากเป็นฤดูปิดกรีด ปริมาณผลผลิตมีไม่มาก การระบายยางในช่วงเวลานี้จะมีผลกระทบต่อตลาดน้อยหรือแทบไม่มีผลกระทบเลย  ประกอบกับอายุประกันภัยยางพาราและสัญญาการเช่าโกดังของโครงการฯ จะครบกำหนดในวันที่ 31 พฤษภาคม นี้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล กยท. จึงกำหนดให้บริษัทผู้ชนะการประมูลต้องดำเนินการชำระเงินทั้งหมดให้แก่ กยท.  ภายในวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 และดำเนินการรับมอบยางให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 หากพ้นจากระยะเวลาที่กำหนด ผู้ชนะการประมูลต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด ซึ่งตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ กยท. ดูแลสต๊อกยางล็อตนี้ต้องจ่ายเงินค่าประกันภัยยางพาราและสัญญาเช่าโกดังรวมกันเป็นเงินกว่า 3,822 ล้านบาท

           และเนื่องจากการประมูลยางล็อตนี้มีปริมาณมากถึง 104,763.35 ตัน แบบเหมาคละคุณภาพและคละโกดัง  ซึ่งเป็นยางเก่าอายุถึง 9 ปี มีความเสื่อมสภาพ การใช้งานจึงมีความแตกต่างไปจากยางใหม่ อีกทั้งได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า บริษัทผู้ประมูลยางได้ต้องซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางอีก 1 เท่าของปริมาณยางที่ประมูล ดังนั้น กยท. จึงจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติบริษัทผู้เข้ายื่นซอง ที่มีศักยภาพการผลิตและความเข้มแข็งด้านการเงินที่เหมาะสม ซึ่งต้องเคยร่วมประมูลซื้อยางที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาทกับ กยท.  และโรงงานต้องมีปริมาณการผลิตและแปรรูป มากกว่า 200,000  ตัน ในปี 2563 สำหรับเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกัน  200 ล้านบาทนั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับการประมูลครั้งก่อน ที่คิดเป็นประมาณร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์  โดยแค่ให้ยืนหลักฐานแสดงความสามารถในการชำระเงิน หรือหลักฐานที่ธนาคารรับรองไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งได้มีการระบุอย่างชัดเจนไว้ในประกาศ

          กยท. จำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บริษัทมีศักยภาพในการผลิตและแปรรูป  ตลอดจนมีความเข้มแข็งทางการเงินพอเพียง เคยซื้อยางกับ กยท. มาก่อน  เพื่อการันตีว่าจะไม่สร้างความเสียหายให้กับรัฐ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรชาวสวนยาง”

          ยางที่ประมูลในครั้งนี้เป็นยางเสื่อมสภาพ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและการประเมินมูลค่าสต๊อกยาง ทั้งจาก คณะกรรมการบริหารสต๊อกยาง บริษัทผู้ประเมินอิสระ ผู้แทนของเกษตรกรชาวสวนยาง และสถาบันวิจัยยาง กยท. แล้ว  การกำหนดราคากลางและหลักเกณฑ์การประมูลคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นสำคัญ และเป็นไปตามมติของคณะกรรมการ กยท. ที่ได้มีการพิจารณาตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ  เหมาะสม และโปร่งใส ทั้งนี้ มีบริษัทที่ผ่านคุณสมบัติตามประกาศเบื้องต้นและสามารถเข้าร่วมประมูลได้ จำนวน 6 ราย  แต่มีเพียงบริษัทที่สนใจเข้ายื่นประมูล จำนวน 1 ราย เท่านั้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีคุณสมบัติครบถ้วนตรงตามที่ระบุไว้ในประกาศทุกประการ ทั้งยังเสนอซื้อยางในราคาที่สูงกว่าที่ กยท. กำหนด  สำหรับราคาประมูลนั้น ต้องนำเสนอคณะกรรมการ กยท. ก่อน เพราะหากมีการเปิดเผยอาจจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพราคายางได้ จึงจำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องการนำเสนอข้อมูลดังกล่าว

          กยท. มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการดูแลเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ส่วนหนึ่ง คือ การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของการยางแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการที่พิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรประกอบไปด้วยคณะกรรมการที่เป็นบุคคลทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ กยท. ไม่เคยมีการอนุมัติให้เอกชนกู้เงินจำนวน 1,200 ล้านบาทตามที่เป็นกระแสข่าวลือแต่อย่างใด